ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

หน้าที่ ๔๑.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า โธตกะ๑- เราไม่สามารถปลดเปลื้องใครๆ ที่มีความสงสัยในโลกได้ แต่เธอเมื่อรู้แจ้งธรรมอันประเสริฐ ก็จะข้ามโอฆะนี้ได้เอง ด้วยประการฉะนี้๒- (สัตว์เหล่านั้น)จึงชื่อว่า ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นไม่ได้เลย เป็นอย่างนี้บ้าง สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ตนทำชั่วเอง ก็เศร้าหมองเอง ไม่ทำชั่ว ก็บริสุทธิ์เอง ความบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตน คนอื่นจะทำคนอื่นให้บริสุทธิ์ไม่ได้๓- สัตว์เหล่านั้นจึงชื่อว่า ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นไม่ได้เลย เป็นอย่างนี้บ้าง สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ฉันนั้นเหมือนกันแหละพราหมณ์ นิพพานมีอยู่ ทางไปนิพพานมีอยู่ เรา(ตถาคต)ผู้ชักชวนก็มีอยู่ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ สาวกที่เราสั่งสอนอยู่อย่างนี้ พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกสำเร็จนิพพานอันถึงที่สุด โดยส่วนเดียว บางพวกก็ไม่สำเร็จ ในเรื่องนี้ เราจะทำอย่างไรได้ ตถาคตก็เป็นแต่ผู้ บอกทาง พระพุทธเจ้าก็เพียงบอกทางให้ ผู้ที่ปฏิบัติด้วยตนเองเท่านั้น จึงจะพึง หลุดพ้นได้”๔- สัตว์เหล่านั้นจึงชื่อว่า ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นไม่ได้เลย อย่างนี้บ้าง รวม ความว่า สัตว์เหล่านั้น ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก (และ)ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นไม่ได้เลย คำว่า มุ่งหวัง(กาม)ในกาลภายหลัง หรือในกาลก่อน อธิบายว่า อนาคต ตรัสเรียกว่า ในกาลภายหลัง อดีต ตรัสเรียกว่า ในกาลก่อน อีกนัยหนึ่ง อนาคตใกล้ อดีตก็ดี ปัจจุบันใกล้อดีตก็ดี ตรัสเรียกว่า ในกาลภายหลัง อดีตใกล้อนาคตก็ดี ปัจจุบันใกล้อนาคตก็ดี ตรัสเรียกว่า ในกาลก่อน @เชิงอรรถ : @ โธตกะ เป็นชื่อของมาณพซึ่งเป็นศิษย์ของพราหมณ์พาวรี (ขุ.จู. ๓๐/๓๓/๙๘) @ ขุ.สุ. ๒๕/๑๐๗๑/๕๓๘, ขุ.จู. ๓๐/๓๓/๙๘, อภิ.ก. ๓๗/๓๒๕/๑๖๘ @ ขุ.ธ. ๒๕/๑๖๕/๔๖, ขุ.จู. ๓๐/๓๓/๙๙ @ ม.อุ. ๑๔/๗๗/๕๗-๕๘, ขุ.จู. ๓๐/๓๓/๙๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๑}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๔๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=29&page=41&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=1232 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=29&A=1232#p41 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 29 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๑.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]