ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

หน้าที่ ๔๘๘.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

ว่าด้วยโลก
คำว่า โลกทั้งหมดไม่มีแก่นสาร อธิบายว่า โลกนรก โลกในกำเนิดเดรัจฉาน โลกในเปตวิสัย มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก โลกนี้ โลกหน้า พรหมโลก เทวโลก นี้ตรัสเรียกว่า โลก โลกนรกไม่มีแก่นสาร คือ ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยสาระแห่งแก่น สารที่เป็นของเที่ยง โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นสุข โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นตัวตน โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นของยั่งยืน โดยความเป็นของมั่นคง หรือโดย ความเป็นของไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา โลกในกำเนิดเดรัจฉาน... โลกในเปตวิสัย... มนุษยโลก... เทวโลก... ขันธโลก... ธาตุโลก... อายตนโลก... โลกนี้... โลกหน้า... พรหมโลก... เทวโลก... ไม่มีแก่นสาร คือ ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นของเที่ยง โดยสาระ แห่งแก่นสารที่เป็นสุข โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นตัวตน โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นของยั่งยืน โดยความเป็นของมั่นคง หรือโดยความเป็นของไม่แปรผัน ไปเป็นธรรมดา โลกในกำเนิดเดรัจฉาน ... โลกในเปตวิสัย ... มนุษยโลก ... เทวโลก ... ขันธโลก .... ธาตุโลก ... อายตนโลก ... โลกนี้ ... โลกหน้า ... พรหมโลก ... เทวโลก ไม่มีแก่นสาร คือ ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นของเที่ยง โดยสาระ แห่งแก่นสารที่เป็นสุข โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นตัวตน โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นของยั่งยืน โดยความเป็นของมั่นคง หรือโดยความเป็นของไม่แปรผัน ไปเป็นธรรมดา ไม้อ้อไม่มีแก่น ไร้แก่น ปราศจากแก่น ไม้ละหุ่ง ไม่มีแก่น ไร้แก่น ปราศจากแก่น ไม้มะเดื่อ... ไม้ทองหลาง... ต้นหงอนไก่... ฟองน้ำ... ต่อมน้ำ... พยับแดด... ต้นกล้วย... เงา ไม่มีแก่น ไร้แก่น ปราศจากแก่น ฉันใด โลกนรก ไม่มีแก่นสาร คือ ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นของเที่ยง โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นสุข โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นตัวตน โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นของยั่งยืน โดยความเป็นของมั่นคง หรือโดยความเป็นของไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๘๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๔๘๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=29&page=488&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=14523 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=29&A=14523#p488 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 29 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๘๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]