ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

หน้าที่ ๖๑๒-๖๑๓.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

ขอบเขตแห่งศีล เป็นอย่างไร คือ บุคคลผู้กำหนัด ไม่ควรกล่าววาจา ผู้ขัดเคือง ไม่ควรกล่าววาจา ผู้หลง ไม่ ควรกล่าววาจา ไม่ควรกล่าว คือ ไม่ควรพูด ไม่ควรบอก ไม่ควรแสดง ไม่ควรชี้แจง การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ การพูดเพ้อเจ้อ นี้ชื่อว่าขอบเขตแห่งศีล รวมความว่า พึงเปล่งวาจาเป็นกุศล ไม่พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต คำว่า คน ในคำว่า ไม่พึงคิดหาเรื่องที่จะว่ากล่าวคน ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา และมนุษย์ ภิกษุไม่พึงคิด คือ ไม่พึงให้เกิดเจตนา ไม่พึงให้เกิดความคิด ไม่พึงให้เกิดความดำริ ไม่พึงให้เกิดมนสิการ เพื่อว่ากล่าว คือ เพื่อว่าร้าย เพื่อนินทา เพื่อติเตียน เพื่อความไม่สรรเสริญ เพื่อความไม่ยกย่องคน ด้วยสีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ รวมความว่า ไม่พึงคิดหาเรื่องที่จะว่ากล่าวคน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี พระภาคจึงตรัสว่า ภิกษุผู้ถูกตักเตือนด้วยวาจา พึงมีสติชื่นชม ทำลายความกระด้างในเพื่อนพรหมจารี พึงเปล่งวาจาเป็นกุศล ไม่พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต ไม่พึงคิดหาเรื่องที่จะว่ากล่าวคน [๒๐๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ลำดับต่อไป ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ ศึกษาเพื่อกำจัดราคะเหล่าใด ราคะเหล่านั้น คือธุลี ๕ อย่างในโลก พึงปราบปรามราคะในรูป เสียง กลิ่น รสและผัสสะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๖๑๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส

ว่าด้วยธุลี ๕ อย่าง
คำว่า ลำดับ ในคำว่า ลำดับต่อไป ... คือธุลี ๕ อย่างในโลก เป็นบทสนธิ เป็นคำเชื่อมบท เป็นคำที่ทำบทให้บริบูรณ์ เป็นความสัมพันธ์แห่งอักษร เป็นความ สละสลวยแห่งพยัญชนะ คำว่า ลำดับ นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน คำว่า คือธุลี ๕ อย่าง ได้แก่ ๑. ธุลีที่เกิดจากรูป ๒. ธุลีที่เกิดจากเสียง ๓. ธุลีที่เกิดจากกลิ่น ๔. ธุลีที่เกิดจากรส ๕. ธุลีที่เกิดจากโผฏฐัพพะ อีกนัยหนึ่ง (ได้แก่ธุลีที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า) ราคะ เราเรียกว่า ธุลี เราหาเรียกละอองว่า เป็นธุลีไม่ คำว่า ธุลีนี้ เป็นชื่อของราคะ บัณฑิตเหล่านั้นละธุลีนี้แล้ว ย่อมอยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีได้ โทสะ เราเรียกว่า ธุลี เราหาเรียกละอองว่า เป็นธุลีไม่ คำว่า ธุลีนี้ เป็นชื่อของโทสะ บัณฑิตเหล่านั้นละธุลีนี้แล้ว ย่อมอยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีได้ โมหะ เราเรียกว่า ธุลี เราหาเรียกละอองว่า เป็นธุลีไม่ คำว่า ธุลีนี้ เป็นชื่อของโมหะ บัณฑิตเหล่านั้นละธุลีนี้แล้ว ย่อมอยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีได้๑- @เชิงอรรถ : @ ขุ.จู. ๓๐/๗๔/๑๖๒-๑๖๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๖๑๓}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๖๑๒-๖๑๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=29&page=612&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=18219 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=29&A=18219#p612 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 29 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29



จบการแสดงผล หน้าที่ ๖๑๒-๖๑๓.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]