ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

หน้าที่ ๑๔๕-๑๔๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า พระองค์ ในคำว่า เพราะฉะนั้นข้าพระองค์จึงมาพบพระผู้มีพระภาค ผู้นาคะ ขอนมัสการพระองค์ เป็นคำที่พราหมณ์เรียกพระผู้มีพระภาค คำว่า ขอนมัสการ อธิบายว่า ขอนมัสการ คือ ขอสักการะ เคารพ นับถือ บูชาด้วยกาย วาจา ใจ ด้วยการปฏิบัติเอื้อประโยชน์ หรือด้วยการปฏิบัติธรรม ถูกต้องตามหลักธรรม คำว่า จึงมาพบ ได้แก่ จึงมาพบ คือ จึงมาประสบ มาหา มาเฝ้าแล้ว ขอ นมัสการพระองค์เฉพาะพระพักตร์
ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคชื่อว่านาคะ
คำว่า ผู้นาคะ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่ทรงทำ ความชั่ว พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่ทรงถึง พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้ นาคะ เพราะไม่ทรงกลับมาหา พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่ทรงทำความชั่ว เป็นอย่างไร คือ บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นเหตุแห่งความเศร้าหมอง ก่อภพใหม่ มี ความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา และมรณะต่อไป ตรัสเรียกว่า ความชั่ว (สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สภิยะ) บุคคลผู้ไม่ทำบาปแม้เล็กน้อยในโลก สลัดสังโยชน์เครื่องผูกพันได้ทั้งหมด ไม่ติดข้องอยู่ในธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งปวง เป็นผู้หลุดพ้น ดำรงตนมั่นคงเช่นนั้น บัณฑิตทั้งหลายเรียกว่านาคะ๑- พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่ทรงทำความชั่ว เป็นอย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ ขุ.สุ. ๒๕/๕๒๘/๔๓๗, ขุ.ม.(แปล) ๒๙/๘๐/๒๓๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๔๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่ทรงถึง เป็นอย่างไร คือ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงถึงฉันทาคติ(ลำเอียงเพราะชอบ) ไม่ทรงถึงโทสาคติ (ลำเอียงเพราะชัง) ไม่ทรงถึงโมหาคติ(ลำเอียงเพราะหลง) ไม่ทรงถึงภยาคติ (ลำเอียงเพราะกลัว) พระองค์ไม่ทรงดำเนินไปด้วยอำนาจราคะ ไม่ดำเนินไปด้วย อำนาจโทสะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจโมหะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจทิฏฐิ ไม่ ดำเนินไปด้วยอำนาจมานะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจอุทธัจจะ ไม่ดำเนินไปด้วย อำนาจวิจิกิจฉา ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจอนุสัย ได้แก่ ไม่ทรงดำเนินไป ไม่เสด็จ ออกไป ไม่ทรงถูกพาไป ไม่ทรงถูกนำไปด้วยธรรมที่ก่อความเป็นฝักเป็นฝ่าย พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้นาคะเพราะไม่ทรงถึง เป็นอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่ทรงกลับมาหา เป็นอย่างไร คือ กิเลสเหล่าใดพระผู้มีพระภาคทรงละได้แล้ว ด้วยโสดาปัตติมรรค พระผู้มีพระภาคไม่เสด็จมา ไม่เสด็จกลับมา ไม่ทรงหวนกลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก กิเลสเหล่าใด พระผู้มีพระภาคทรงละได้แล้วด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ ด้วย อนาคามิมรรค ฯลฯ ด้วยอรหัตตมรรค พระองค์ไม่เสด็จมา ไม่เสด็จกลับมา ไม่ ทรงหวนกลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่กลับมา หา เป็นอย่างนี้ รวมความว่า ข้าพระองค์จึงมาพบพระผู้มีพระภาคผู้นาคะ ขอ นมัสการพระองค์ คำว่า พระผู้มีพระภาคพึงตรัสสอนข้าพระองค์ไม่หยุดหย่อนบ้าง ได้แก่ ขอพระผู้มีพระภาคพึงตรัสสอนข้าพระองค์ไม่หยุดหย่อน คือ พึงตรัสสอนโดยเอื้อเฟื้อ ตรัสสอนเนืองๆ ตรัสสอนบ่อยๆ คือ พร่ำสอนบ้าง รวมความว่า พระผู้มี- พระภาคพึงตรัสสอนข้าพระองค์ไม่หยุดหย่อนบ้าง ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึง กราบทูลว่า พระองค์ผู้เป็นพระมุนีตรัสสอนชนเหล่าใดไม่หยุดหย่อน ชนแม้เหล่านั้นพึงละทุกข์ได้เป็นแน่ เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงมาพบพระผู้มีพระภาคผู้นาคะ ขอนมัสการพระองค์ (โดยหวังว่า)พระผู้มีพระภาค พึงตรัสสอนข้าพระองค์ไม่หยุดหย่อนบ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๔๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๑๔๕-๑๔๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=30&page=145&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=30&A=4212 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=30&A=4212#p145 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 30 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๔๕-๑๔๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]