ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

หน้าที่ ๒๘๗.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๔. โปสาลมาณวปัญหานิทเทส

ทรงแสดงอดีตธรรม ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถาม จึงมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง [๘๒] (ท่านโปสาละทูลถามว่า) ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณ ของบุคคลผู้ไม่มีรูปสัญญา ผู้ละรูปกายได้ทั้งหมด ผู้พิจารณาทั้งภายในและภายนอกเห็นว่า ไม่มีอะไร บุคคลผู้เป็นเช่นนั้น ควรแนะนำอย่างไร (๒) คำว่า ผู้ไม่มีรูปสัญญา อธิบายว่า รูปสัญญา เป็นอย่างไร คือ สัญญา ความจำได้ ความเป็นผู้หมายรู้ของบุคคลผู้เข้ารูปาวจรสมาบัติ หรือถือกำเนิด(ในรูปาวจรภพ) หรือมีธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน นี้ชื่อว่า รูปสัญญา คำว่า ผู้ไม่มีรูปสัญญา อธิบายว่า ผู้ได้อรูปสมาบัติ ๔ ไม่มีรูปสัญญา คือ ไม่ปรากฏ ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นแล้ว รวมความว่า ผู้ไม่มีรูปสัญญา คำว่า ผู้ละรูปกายได้ทั้งหมด อธิบายว่า รูปกายซึ่งมีในคราวปฏิสนธิทั้งหมด บุคลลนั้นละได้แล้ว คือ เขาละรูปกาย เพราะก้าวล่วงด้วยตทังคปหาน๑- (และ) ด้วยวิกขัมภนปหาน๒- รวมความว่า ผู้ละรูปกายได้ทั้งหมด คำว่า ไม่มีอะไร ในคำว่า ผู้พิจารณาทั้งภายในและภายนอกเห็นว่า ไม่มี อะไร อธิบายว่า อากิญจัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าอากิญจัญญายตนสมาบัติ เพราะ อรรถว่า “อะไรน้อยหนึ่ง ย่อมไม่มี” เพราะเหตุไร @เชิงอรรถ : @ ตทังคปหาน หมายถึงการละด้วยองค์นั้นๆ คือ การละรูปกายด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับกัน (ขุ.จู.อ. ๘๒/๕๖) @ วิกขัมภนปหาน หมายถึงการละด้วยข่มไว้ คือ การละรูปกายของท่านผู้ได้อรูปฌาน (ขุ.จู.อ. ๘๒/๕๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๒๘๗}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๒๘๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=30&page=287&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=30&A=8280 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=30&A=8280#p287 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 30 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๘๗.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]