ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

หน้าที่ ๒๘๙-๒๙๐.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๔. โปสาลมาณวปัญหานิทเทส

ผู้พิจารณาทั้งภายในและภายนอกเห็นว่า ไม่มีอะไร บุคคลผู้เป็นเช่นนั้น ควรแนะนำอย่างไร [๘๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โปสาละ) ตถาคตรู้ยิ่งซึ่งวิญญาณัฏฐิติทั้งหมด รู้จักบุคคลนั้นผู้ดำรงอยู่ ผู้น้อมไปแล้ว ผู้มีอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้นเป็นที่มุ่งหมาย (๓)
ว่าด้วยวิญญาณัฏฐิติ ๗
คำว่า ซึ่งวิญญาณัฏฐิติทั้งหมด๑- อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคทรงรู้ วิญญาณัฏฐิติ ๔ ด้วยอำนาจอภิสังขาร ทรงรู้วิญญาณัฏฐิติ ๗ ด้วยอำนาจปฏิสนธิ พระผู้มีพระภาคทรงรู้วิญญาณัฏฐิติ ๔ ด้วยอำนาจอภิสังขารอย่างไร สมจริงดังที่ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์) ที่เข้าถึงรูป เมื่อดำรงอยู่ ก็มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง เข้าไปเสพเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้ ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงเวทนา ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงสัญญา ฯลฯ อีกนัยหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงสังขาร เมื่อดำรงอยู่ ก็มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้ง เข้าไปเสพเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้”๒- พระ ผู้มีพระภาคทรงรู้จักวิญญาณัฏฐิติ ๔ ด้วยอำนาจอภิสังขารอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคทรงรู้วิญญาณัฏฐิติ ๗ ด้วยอำนาจปฏิสนธิอย่างไร สมจริงดัง ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย มีสัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายต่างกัน @เชิงอรรถ : @ วิญญาณัฏฐิติ คือภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ ขันธ์ที่มีวิญญาณ (ขุ.จู.อ. ๘๓/๕๗) @ สํ.ข. ๑๗/๕๔/๔๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๒๘๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๔. โปสาลมาณวปัญหานิทเทส

มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์บางพวก เทวดา๑- บางพวก วินิปาติกะ๒- บางพวก นี้คือวิญญาณัฏฐิติที่ ๑ สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวกเทพชั้น พรหมกายิกา เกิดในปฐมฌาน นี้คือวิญญาณัฏฐิติที่ ๒ สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน คือ พวกเทพชั้น อาภัสระ นี้คือวิญญาณัฏฐิติที่ ๓ สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน(และ)มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวก เทพชั้นสุภกิณหะ นี้คือวิญญาณัฏฐิติที่ ๔ สัตว์เหล่าหนึ่ง ก้าวล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่มนสิการนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง เข้าถึงอากาสานัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า “อากาศไม่มี ที่สุด” นี้คือวิญญาณัฏฐิติที่ ๕ สัตว์เหล่าหนึ่ง ก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการ ทั้งปวง เข้าถึง วิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า “วิญญาณไม่มีที่สุด” นี้คือวิญญาณัฏฐิติ ที่ ๖ สัตว์เหล่าหนึ่ง ก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง เข้าถึงอากิญจัญญายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า “ไม่มีอะไรเลย” นี้คือ วิญญาณัฏฐิติ ที่ ๗ ๓- @เชิงอรรถ : @ เทวดา ในที่นี้หมายถึง เทวดาที่อยู่ในสวรรค์ชั้นกามาวจรทั้ง ๖ ชั้น (ขุ.จู.อ. ๘๓/๕๗) @ วินิปาติกะ ในที่นี้หมายถึง พวกเวมานิกเปรตคือพวกเปรตที่พ้นจากอบาย ๔ มียักษิณีผู้เป็นมารดาของ @ปุนัพพสุ ยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระ ยักษิณีผู้เป็นมิตรของปุสสะ ร่างกายของเปรตเหล่านี้แตกต่างกัน @คือ มีทั้งอ้วน ผอม เตี้ย สูง มีผิวขาว ผิวดำ ผิวสีทอง และสีนิล มีสัญญาต่างกันด้วยติเหตุกะ ทุเหตุกะ @และอเหตุกะเหมือนของมนุษย์ เวมานิกเปรตเหล่านี้ไม่มีศักดิ์มากเหมือนพวกเทพ บางพวกได้รับทุกข์ใน @ข้างแรม ได้รับสุขในข้างขึ้น แต่เวมานิกเปรตที่เป็นติเหตุกะสามารถบรรลุธรรมได้ ดุจการบรรลุธรรมของ @ยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระ เป็นต้น (ขุ.จู.อ. ๘๓/๕๗) @ องฺ.สตฺตก. ๒๓/๔๔/๓๕-๓๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๒๙๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๒๘๙-๒๙๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=30&page=289&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=30&A=8337 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=30&A=8337#p289 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 30 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๘๙-๒๙๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]