ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

หน้าที่ ๓๐-๓๑.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๒. มาณวปัญหา ๑๓. อุทยมาณวปัญหา

พระดำรัสของพระองค์ ขอพระองค์โปรดพยากรณ์(ปัญหา) แก่ชนเหล่านั้นให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด เพราะว่าธรรมนี้พระองค์ทรงทราบชัดแล้ว (๒) [๑๒๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภัทราวุธ) นรชนควรทำลายเครื่องยึดมั่นทั้งปวง ทั้งชั้นสูง ชั้นต่ำและชั้นกลาง เพราะสัตว์ทั้งหลายเข้าไปยึดถือขันธ์ใดๆ ในโลก มารย่อมติดตามสัตว์เพราะสิ่งที่ยึดถือนั้นนั่นแล (๓) [๑๒๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) เพราะฉะนั้น ภิกษุเมื่อรู้ชัดเพ่งพิจารณาหมู่สัตว์นี้ ผู้ติดอยู่ในบ่วงแห่งมัจจุราชว่า เป็นผู้ข้องอยู่ในเครื่องยึดมั่น ควรเป็นผู้มีสติ ไม่พึงเข้าไปยึดถือเครื่องกังวลในโลกทั้งปวง (๔)
ภัทราวุธมาณวปัญหาที่ ๑๒ จบ
๑๓. อุทยมาณวปัญหา๑-
ว่าด้วยปัญหาของอุทัยมาณพ
[๑๓๐] (ท่านอุทัยทูลถาม ดังนี้) ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถาม จึงมาเฝ้าพระองค์ผู้ทรงมีฌาน ปราศจากธุลี ประทับนั่งอยู่ ผู้ทรงทำกิจสำเร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ขอพระองค์โปรดตรัสบอกอัญญาวิโมกข์ อันเป็นเครื่องทำลายอวิชชาด้วยเถิด (๑) @เชิงอรรถ : @ ดูคำอธิบายในหน้า ๒๖๘-๒๘๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๒. มาณวปัญหา ๑๓. อุทยมาณวปัญหา

[๑๓๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุทัย) เราจะบอกอัญญาวิโมกข์ อันเป็นเครื่องละความพอใจ ในกามและโทมนัสทั้ง ๒ อย่าง เป็นเครื่องบรรเทาความย่อท้อ และเป็นเครื่องกั้นความคะนอง (๒) [๑๓๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) เราจะบอกอัญญาวิโมกข์ที่บริสุทธิ์ เพราะมีอุเบกขาและสติ ที่มีธรรมตรรกะเป็นเบื้องต้น เป็นเครื่องทำลายอวิชชา (๓) [๑๓๓] (ท่านอุทัยทูลถามว่า) สัตว์โลกมีอะไรเป็นเครื่องประกอบไว้ อะไรเล่าเป็นเหตุเที่ยวไปของสัตว์โลกนั้น เพราะละอะไรได้เล่า พระองค์จึงตรัสว่า นิพพาน (๔) [๑๓๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) สัตว์โลกมีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องประกอบไว้ ความตรึกเป็นเหตุเที่ยวไปของสัตว์โลกนั้น เพราะละตัณหาได้ เราจึงเรียกว่า นิพพาน (๕) [๑๓๕] (ท่านอุทัยทูลถามว่า) ข้าพระองค์มาเฝ้าเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า สัตว์โลกมีสติเที่ยวไปอยู่อย่างไร วิญญาณจึงดับสนิท ขอฟังพระดำรัสนั้นของพระองค์ (๖) [๑๓๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) สัตว์โลกไม่ยินดีเวทนาภายในและภายนอก มีสติเที่ยวไปอยู่อย่างนี้ วิญญาณจึงดับสนิท (๗)
อุทยมาณวปัญหาที่ ๑๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๑}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๓๐-๓๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=30&page=30&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=30&A=835 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=30&A=835#p30 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 30 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๐-๓๑.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]