ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

หน้าที่ ๔๑๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ไม่สยบ คือ ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้อง มีใจเป็นอิสระ(จากความ เกี่ยวข้อง) อยู่ รวมความว่า บุคคลเมื่อไม่เกี่ยวข้อง เหมือนหน่อไผ่ จึงประพฤติอยู่ ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า กอไผ่กว้างใหญ่ เกาะเกี่ยวกันไว้ ฉันใด ความห่วงใยในบุตรและทาระ ก็กว้างใหญ่เกาะเกี่ยวไว้ ฉันนั้น บุคคลเมื่อไม่เกี่ยวข้องเหมือนหน่อไผ่ จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๒๕] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) เนื้อในป่า มิได้ถูกผูกมัดไว้ ย่อมไปหาอาหารได้ตามความพอใจ ฉันใด วิญญูชนเมื่อเพ่งเห็นธรรมที่ให้ถึงความเสรี จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉันนั้น (๕) คำว่า เนื้อ ในคำว่า เนื้อในป่า มิได้ถูกผูกมัดไว้ ย่อมไปหาอาหารได้ ตามความพอใจ ฉันใด ได้แก่ เนื้อ ๒ ชนิด คือ (๑) เนื้อทราย (๒) เนื้อสมัน เนื้ออยู่ในป่า เมื่อเที่ยวไปตามป่าน้อยป่าใหญ่ ย่อมวางใจเดิน ยืน หมอบ นอน ฉันใด สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเนื้อป่า เมื่อเที่ยวไปตามป่าน้อยป่าใหญ่ ย่อมวางใจเดิน ยืน หมอบ นอน ข้อนั้นเพราะ เหตุอะไร เพราะไม่ได้พบกับนายพรานเนื้อ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น สงัดจากกามและ อกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจาก วิเวกอยู่ เราเรียกภิกษุนี้ว่า ผู้ทำให้มารตาบอด คือ เป็นผู้ที่มารใจบาปมองไม่เห็น เพราะทำลายจักษุ(ปัญญาจักษุ)ของมารอย่างไม่มีร่องรอย อีกนัยหนึ่ง เพราะวิตกและวิจารสงบไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใส ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขที่เกิดจาก สมาธิอยู่ เราเรียกภิกษุนี้ว่า ผู้ทำให้มารตาบอด คือเป็นผู้ที่มารใจบาปมองไม่เห็น เพราะทำลายจักษุของมารอย่างไม่มีร่องรอย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๑๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๔๑๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=30&page=415&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=30&A=11987 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=30&A=11987#p415 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 30 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๑๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]