ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

หน้าที่ ๔๗๑.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า ทำลายสังโยชน์แล้ว ได้แก่ สังโยชน์ ๑๐ อย่าง๑- คือ ๑. กามราคสังโยชน์ (สังโยชน์คือความกำหนัดในกาม) ๒. ปฏิฆสังโยชน์ (สังโยชน์คือความกระทบกระทั่งในใจ) ๓. มานสังโยชน์ (สังโยชน์คือความถือตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่) ๔. ทิฏฐิสังโยชน์ (สังโยชน์คือความเห็นผิด) ๕. วิจิกิจฉาสังโยชน์ (สังโยชน์คือความสงสัย) ๖. สีลัพพตปรามาสสังโยชน์ (สังโยชน์คือความถือมั่นศีลพรต) ๗. ภวราคสังโยชน์ (สังโยชน์คือความติดใจปรารถนาในภพ) ๘. อิสสาสังโยชน์ (สังโยชน์คือความริษยา) ๙. มัจฉริยสังโยชน์ (สังโยชน์คือความตระหนี่) ๑๐. อวิชชาสังโยชน์ (สังโยชน์คือความไม่รู้) คำว่า ทำลายสังโยชน์แล้ว อธิบายว่า ทะลาย ทำลาย คือ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งสังโยชน์ ๑๐ อย่าง รวมความว่า ทำลายสังโยชน์แล้ว คำว่า เหมือนสัตว์น้ำทำลายข่าย อธิบายว่า ข่ายที่ทำด้วยด้าย เรียกว่า ข่าย น้ำท่าเรียกว่า น้ำ ปลาเรียกว่า สัตว์น้ำ อธิบายว่า ปลาทำลาย ทำให้ขาด ทำให้ฉีก ทำให้พัง ทำให้ข่ายพังทะลายแล้ว แหวกว่าย อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปได้ ฉันใด ข่ายมี ๒ ชนิด คือ (๑) ข่ายตัณหา (๒) ข่ายทิฏฐิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าข่ายตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าข่ายทิฏฐิ๒- พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นละข่ายตัณหา สลัดทิ้งข่ายทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ ละข่ายตัณหา สลัดทิ้งข่ายทิฏฐิได้แล้ว พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงไม่ข้องขัดในรูป เสียง กลิ่น ฯลฯ รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ได้รับรู้ และใน ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง คือ ไม่ยึด ไม่ผูก ไม่พัวพัน ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่ เกี่ยวข้อง มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า เหมือนสัตว์น้ำทำลายข่าย @เชิงอรรถ : @ สังโยชน์ คือกิเลสอันผูกมัดใจสัตว์ ทั้ง ๑๐ ข้อนี้ เป็นสังโยชน์ตามแนวอภิธรรม พึงดูรายละเอียดจาก @อภิ.สงฺ. (แปล) ๓๔/๑๑๑๘/๒๘๕-๒๘๘ @ เทียบกับความในข้อ ๑๑/๘๐-๘๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๗๑}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๔๗๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=30&page=471&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=30&A=13636 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=30&A=13636#p471 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 30 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๗๑.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]