ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

หน้าที่ ๖๘.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑. อชิตมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า ใจ ได้แก่ จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ๑- ที่เกิดจากผัสสะเป็นต้นนั้น จิตย่อมขุ่นมัว คือ เศร้าหมอง ยุ่งยาก วุ่นวาย หวั่นไหว หมุนวน ไม่สงบด้วยกายทุจริต ... จิตขุ่นมัว เศร้าหมอง ยุ่งยาก วุ่นวาย หวั่นไหว หมุนวน ไม่สงบด้วยวจีทุจริต ... มโนทุจริต ... ราคะ (ความกำหนัด) ... โทสะ (ความขัดเคือง) ... โมหะ (ความลุ่มหลง) ... โกธะ (ความโกรธ) ... อุปนาหะ (ความผูกโกรธ) ... มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน) ... ปฬาสะ (ความตีเสมอ) ... อิสสา (ความริษยา) ... มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ... มายา (ความหลอกลวง) ... สาเถยยะ (ความโอ้อวด) ... ถัมภะ (ความหัวดื้อ) ... สารัมภะ (ความแข่งดี) ... มานะ (ความถือตัว) ... อติมานะ (ความดูหมิ่น ) ... มทะ (ความมัวเมา) ... ปมาทะ (ความประมาท) ... กิเลสทุกชนิด ... ทุจริตทุกทาง... ความกระวนกระวายทุกอย่าง ... ความ เร่าร้อนทุกสถาน ... ความเดือดร้อนทุกประการ... อกุสลาภิสังขารทุกประเภท คำว่า พึงเป็นผู้มีใจไม่ขุ่นมัว อธิบายว่า พึงเป็นผู้มีจิตไม่ขุ่นมัว คือ ไม่ เศร้าหมอง ไม่ยุ่งยาก ไม่วุ่นวาย ไม่หวั่นไหว ไม่หมุนวน สงบ ได้แก่ พึงละ ทิ้ง บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งกิเลสที่ก่อความขุ่นมัว คือ พึง เป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก สงบ หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับกิเลส ที่ก่อความขุ่นมัว มีใจเป็นอิสระ(จากความขุ่นมัว)อยู่ รวมความว่า พึงเป็นผู้มีใจ ไม่ขุ่นมัว @เชิงอรรถ : @ ชื่อว่า จิต เพราะเป็นสภาวะวิจิตร @ชื่อว่า มโน เพราะรับรู้อารมณ์ @ชื่อว่า มานัส เพราะมีธรรมที่สัมปยุตกับมโน หรือมานัสก็คือใจนั่นเอง @ชื่อว่า หทัย เพราะอยู่ภายใน @ชื่อว่า ปัณฑระ เพราะเป็นธรรมชาติผ่องใส @ชื่อว่า มนายตนะ เพราะเป็นที่อยู่อาศัย เป็นบ่อเกิด เป็นที่ประชุม เป็นแดนเกิดแห่งใจ @ชื่อว่า มนินทรีย์ เพราะเป็นใหญ่ในการรับรู้อารมณ์ @ชื่อว่า วิญญาณ เพราะรับรู้อารมณ์ต่างๆ @ชื่อว่า วิญญาณขันธ์ เพราะเป็นกองแห่งวิญญาณ @ชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ เพราะเป็นสภาวะที่รับรู้และรับทราบอันสมควรแก่ธรรมทั้งหลาย มีผัสสะเป็นต้น @(ขุ.ม.อ. ๑/๒๒-๒๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๖๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๖๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=30&page=68&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=30&A=1945 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=30&A=1945#p68 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 30 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30



จบการแสดงผล หน้าที่ ๖๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]