ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

หน้าที่ ๘๘-๙๑.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๓. ปุณณกมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า จึงพากันบูชายัญ อธิบายว่า คนแม้เหล่าใดแสวงหา ค้นหา เสาะหา ยัญ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้าว น้ำ ผ้า ยาน พวงดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องประทีป คนแม้เหล่านั้น ชื่อว่าบูชายัญ คนแม้เหล่าใด ให้ สละ บริจาคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย เภสัชบริขาร ข้าว น้ำ ผ้า ยาน พวงดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องประทีป คนแม้เหล่านั้น ชื่อว่าบูชายัญ คำว่า จำนวนมาก อธิบายว่า ยัญเหล่านี้มาก ผู้บูชายัญก็มาก ผู้ควรแก่ ทักษิณานั้นก็มาก ยัญเหล่านั้นมาก อย่างไร ยัญเหล่านี้ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้าว น้ำ ผ้า ยาน พวงดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องประทีป มี มากแก่ชนจำนวนมาก ยัญเหล่านั้น ชื่อว่ามาก อย่างนี้บ้าง ผู้บูชายัญนั้นมาก คือ กษัตริย์ก็มาก พราหมณ์ก็มาก แพศย์ก็มาก ศูทรก็มาก คฤหัสถ์ก็มาก บรรพชิตก็มาก เทวดาและมนุษย์ก็มาก ผู้บูชายัญมาก อย่างนี้บ้าง บุคคลผู้ควรทักษิณาเหล่านั้นมาก อย่างไร คือ บุคคลผู้ควรทักษิณาเหล่านั้น มีมากมาย คือ สมณะก็มาก พราหมณ์ ก็มาก คนกำพร้าก็มาก คนเดินทางก็มาก วณิพกก็มาก และยาจกก็มาก บุคคล ผู้ควรทักษิณาเหล่านั้น ชื่อว่ามาก อย่างนี้บ้าง คำว่า ในโลกนี้ คือ ในมนุษยโลก รวมความว่า จำนวนมากในโลกนี้ ... จึงพากันบูชายัญ
ว่าด้วยการถาม ๓
คำว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์ โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด อธิบายว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๘๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๓. ปุณณกมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า ขอทูลถาม ได้แก่ การถาม ๓ อย่าง คือ ๑. การถามเพื่อทำให้ชัดเจนในสิ่งที่ยังไม่เคยเห็น ๒. การถามเพื่อเทียบเคียงในสิ่งที่เคยเห็นแล้ว ๓. การถามเพื่อตัดความสงสัย การถามเพื่อทำให้ชัดเจนในสิ่งที่ยังไม่เคยเห็น เป็นอย่างไร คือ โดยปกติลักษณะใด ตนยังไม่รู้ ยังไม่เห็น ยังมิได้เทียบเคียง ยังมิได้ พิจารณา ยังมิได้ทำให้กระจ่าง ยังมิได้ทำให้แจ่มแจ้ง ก็ถามปัญหาเพื่อรู้ เพื่อเห็น เพื่อเทียบเคียง เพื่อพิจารณา เพื่อทำให้ลักษณะนั้นแจ่มแจ้ง นี้ชื่อว่าการถามเพื่อ ทำให้ชัดเจนในสิ่งที่ยังไม่เคยเห็น การถามเพื่อเทียบเคียงในสิ่งที่เคยเห็นแล้ว เป็นอย่างไร คือ โดยปกติลักษณะใด ตนรู้ เห็น เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว ก็ถามปัญหา เพื่อเทียบเคียงลักษณะนั้นกับบัณฑิตอื่น นี้ชื่อว่า การถามเพื่อเทียบเคียงในสิ่งที่เคยเห็นแล้ว การถามเพื่อตัดความสงสัย เป็นอย่างไร คือ โดยปกติบุคคลเป็นผู้แล่นไปสู่ความสงสัย แล่นไปสู่ความเคลือบแคลง เกิดความคิดเป็นสองแง่ว่า “เป็นอย่างนี้หรือไม่หนอ เป็นอะไรหรือ เป็นอย่างไรหนอ” เขาก็ถามปัญหา เพื่อตัดความสงสัย นี้ชื่อว่าการถามเพื่อตัดความสงสัย เหล่านี้ ชื่อว่าการถาม ๓ อย่าง การถามอีก ๓ อย่าง คือ ๑. การถามของมนุษย์ ๒. การถามของอมนุษย์ ๓. การถามของรูปเนรมิต การถามของมนุษย์ เป็นอย่างไร คือ พวกมนุษย์เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าแล้วทูลถามปัญหา คือ พวก ภิกษุก็ทูลถาม ภิกษุณีก็ทูลถาม อุบาสกก็ทูลถาม อุบาสิกาก็ทูลถาม พระราชาก็ ทูลถาม กษัตริย์ก็ทูลถาม พราหมณ์ก็ทูลถาม แพศย์ก็ทูลถาม ศูทรก็ทูลถาม คฤหัสถ์ก็ทูลถาม บรรพชิตก็ทูลถาม นี้ชื่อว่าการถามของมนุษย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๘๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๓. ปุณณกมาณวปัญหานิทเทส

การถามของอมนุษย์ เป็นอย่างไร คือ พวกอมนุษย์เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าแล้วทูลถามปัญหา คือ พวกนาคก็ทูลถาม ครุฑก็ทูลถาม ยักษ์ก็ทูลถาม อสูรก็ทูลถาม คนธรรพ์ก็ทูลถาม ท้าวมหาราชก็ทูลถาม พระอินทร์ก็ทูลถาม พระพรหมก็ทูลถาม เทวดาก็ทูลถาม นี้ชื่อว่าการถามของอมนุษย์ การถามของรูปเนรมิต เป็นอย่างไร คือ พระผู้มีพระภาคทรงเนรมิตพระรูปใด ซึ่งสำเร็จด้วยพระทัย มีอวัยวะ น้อยใหญ่ครบทุกอย่าง มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง พระรูปเนรมิตนั้น เข้าเฝ้าพระผู้มี- พระภาคพุทธเจ้าแล้ว ก็ทูลถามปัญหา พระผู้มีพระภาคทรงวิสัชนา นี้ชื่อว่าการ ถามของรูปเนรมิต เหล่านี้ชื่อว่าการถามอีก ๓ อย่าง การถามอีก ๓ อย่าง คือ ๑. การถามเพื่อประโยชน์ตน ๒. การถามเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๓. การถามเพื่อประโยชน์ตนและผู้อื่น การถามอีก ๓ อย่าง คือ ๑. การถามเพื่อประโยชน์ในภพปัจจุบัน ๒. การถามเพื่อประโยชน์ในภพหน้า ๓. การถามเพื่อประโยชน์อย่างยิ่ง การถามอีก ๓ อย่าง คือ ๑. การถามเพื่อประโยชน์ที่ไม่มีโทษ ๒. การถามเพื่อประโยชน์ที่ปราศจากกิเลส ๓. การถามเพื่อประโยชน์ที่ผุดผ่อง การถามอีก ๓ อย่าง คือ ๑. การถามถึงอดีต ๒. การถามถึงอนาคต ๓. การถามถึงปัจจุบัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๙๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๓. ปุณณกมาณวปัญหานิทเทส

การถามอีก ๓ อย่าง คือ ๑. การถามถึงเรื่องภายใน ๒. การถามถึงเรื่องภายนอก ๓. การถามถึงเรื่องทั้งภายในและภายนอก การถามอีก ๓ อย่าง คือ ๑. การถามถึงกุศลธรรม ๒. การถามถึงอกุศลธรรม ๓. การถามถึงอัพยากตธรรม การถามอีก ๓ อย่าง คือ ๑. การถามถึงขันธ์ ๒. การถามถึงธาตุ ๓. การถามถึงอายตนะ การถามอีก ๓ อย่าง คือ ๑. การถามถึงสติปัฏฐาน ๒. การถามถึงสัมมัปปธาน ๓. การถามถึงอิทธิบาท การถามอีก ๓ อย่าง คือ ๑. การถามถึงอินทรีย์ ๒. การถามถึงพละ ๓. การถามถึงโพชฌงค์ การถามอีก ๓ อย่าง คือ ๑. การถามถึงมรรค ๒. การถามถึงผล ๓. การถามถึงนิพพาน คำว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น อธิบายว่า ข้าพระองค์ขอทูลถาม พระองค์ คือ ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลขอให้ทรงประกาศว่า “ขอพระองค์โปรดตรัส บอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์เถิด” รวมความว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ ผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ๑- @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๔๖-๔๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๙๑}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๘๘-๙๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=30&page=88&pages=4&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=30&A=2549 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=30&A=2549#p88 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 30 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30



จบการแสดงผล หน้าที่ ๘๘-๙๑.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]