ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

หน้าที่ ๓๘๗-๓๙๐.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๕. วิโมกขกถา นิทเทส

นิมิตเพราะนิมิตนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอนิมิตตวิโมกข์ บุคคลไม่มีนิมิต เพราะนิมิตใด ไม่ตั้งอยู่ในนิมิตนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยสภาวะประชุมลง ด้วยสภาวะบรรลุ ด้วยสภาวะ ได้ ด้วยสภาวะรู้แจ้ง ด้วยสภาวะทำให้แจ้ง ด้วยสภาวะถูกต้อง ด้วยสภาวะตรัสรู้ อย่างนี้ บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตาย่อมพ้นจากอภินิเวส (ความยึดมั่น) เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นสุญญตวิโมกข์ บุคคลว่างจากนิมิตใด เป็นผู้ไม่มีนิมิต เพราะนิมิตนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอนิมิตตวิโมกข์ บุคคลไม่มีนิมิต เพราะนิมิตใด ไม่ตั้งอยู่ในนิมิตนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ บุคคลไม่ตั้งอยู่ในนิมิตใด เป็นผู้ว่างจากนิมิตนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็น สุญญตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยสภาวะประชุมลง ด้วยสภาวะ บรรลุ ด้วยสภาวะได้ ด้วยสภาวะรู้แจ้ง ด้วยสภาวะทำให้แจ้ง ด้วยสภาวะถูกต้อง ด้วยสภาวะตรัสรู้ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยอาการ ๗ อย่างนี้ [๒๒๙] วิโมกข์มีอยู่ ธรรมที่เป็นประธานมีอยู่ ธรรมที่เป็นประธานแห่ง วิโมกข์มีอยู่ ธรรมที่เป็นข้าศึกต่อวิโมกข์มีอยู่ ธรรมที่อนุโลมตามวิโมกข์มีอยู่ วิโมกขวิวัฏมีอยู่ การเจริญวิโมกข์มีอยู่ ความสงบระงับแห่งวิโมกข์มีอยู่ วิโมกข์ อะไรบ้าง คือ ๑. สุญญตวิโมกข์ ๒. อนิมิตตวิโมกข์ ๓. อัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตวิโมกข์ เป็นอย่างไร คือ อนิจจานุปัสสนาญาณพ้นจากอภินิเวสว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สุญญตวิโมกข์ ทุกขานุปัสสนาญาณพ้นจากอภินิเวสว่าสุข เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สุญญตวิโมกข์ อนัตตานุปัสสนาญาณพ้นจากอภินิเวสว่าอัตตา เพราะเหตุนั้น จึง ชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ นิพพิทานุปัสสนาญาณพ้นจากอภินิเวสว่านันทิ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ วิราคานุปัสสนาญาณพ้นจากอภินิเวสว่าราคะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ นิโรธานุปัสสนาญาณพ้นจากอภินิเวสว่าสมุทัย เพราะเหตุนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๘๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๕. วิโมกขกถา นิทเทส

จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณพ้นจากอภินิเวสว่าอาทานะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ อนิมิตตานุปัสสนาญาณพ้นจากอภินิเวสว่า นิมิต เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณพ้นจาก อภินิเวสว่าปณิธิ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนาญาณ พ้นจากอภินิเวสทุกอย่าง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ อนิจจานุปัสสนาญาณในรูปพ้นจากอภินิเวสว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สุญญตวิโมกข์ ฯลฯ สุญญตานุปัสสนาญาณในรูปพ้นจากอภินิเวสทุกอย่าง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ อนิจจานุปัสสนาญาณในเวทนา ฯลฯ ใน สัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนา- ญาณในชราและมรณะพ้นจากอภินิเวสว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ ฯลฯ สุญญตานุปัสสนาญาณในชราและมรณะพ้นจากอภินิเวสทุกอย่าง เพราะ เหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ นี้เป็นสุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ เป็นอย่างไร คือ อนิจจานุปัสสนาญาณพ้นจากนิมิตว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อนิมิตตวิโมกข์ ทุกขานุปัสสนาญาณพ้นจากนิมิตว่าสุข เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อนิมิตตวิโมกข์ อนัตตานุปัสสนาญาณพ้นจากนิมิตว่าอัตตา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อนิมิตตวิโมกข์ นิพพิทานุปัสสนาญาณพ้นจากนิมิตว่านันทิ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อนิมิตตวิโมกข์ วิราคานุปัสสนาญาณพ้นจากนิมิตว่าราคะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อนิมิตตวิโมกข์ นิโรธานุปัสสนาญาณพ้นจากนิมิตว่าสมุทัย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อ ว่าอนิมิตตวิโมกข์ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณพ้นจากนิมิตว่าอาทานะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ อนิมิตตานุปัสสนาญาณพ้นจากสรรพนิมิต เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณพ้นจากนิมิตว่าปณิธิ เพราะ เหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนาญาณพ้นจากนิมิตว่าอภินิเวส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ อนิจจานุปัสสนาญาณในรูปพ้นจากนิมิตว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อนิมิตตวิโมกข์ ฯลฯ อนิมิตตานุปัสสนาญาณในรูปพ้นจากสรรพนิมิต เพราะ เหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณในรูปพ้นจากนิมิตว่าปณิธิ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๘๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๕. วิโมกขกถา นิทเทส

เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนาญาณในรูปพ้นจากนิมิตว่า อภินิเวส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ อนิจจานุปัสสนาญาณในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนา- ญาณในชราและมรณะพ้นจากนิมิตว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ ฯลฯ อนิมิตตานุปัสสนาญาณในชราและมรณะพ้นจากสรรพนิมิต เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณในชราและมรณะพ้นจากนิมิตว่า ปณิธิ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนาญาณในชรา และมรณะพ้นจากนิมิตว่าอภินิเวส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ นี้เป็น อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นอย่างไร คือ อนิจจานุปัสสนาญาณพ้นจากปณิธิว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ ทุกขานุปัสสนาญาณพ้นจากปณิธิว่าสุข เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ อนัตตานุปัสสนาญาณพ้นจากปณิธิว่าอัตตา เพราะเหตุนั้น จึง ชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ นิพพิทานุปัสสนาญาณพ้นจากปณิธิว่านันทิ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ วิราคานุปัสสนาญาณพ้นจากปณิธิว่าราคะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ นิโรธานุปัสสนาญาณพ้นจากปณิธิว่าสมุทัย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณพ้นจากปณิธิว่าอาทานะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ อนิมิตตานุปัสสนาญาณพ้นจากปณิธิว่า นิมิต เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณพ้นจาก ปณิธิทุกอย่าง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนาญาณ พ้นจากปณิธิว่าอภินิเวส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ อนิจจานุปัสสนาญาณในรูปพ้นจากปณิธิว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ ฯลฯ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณในรูปพ้นจากปณิธิทุกอย่าง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนาญาณในรูปพ้นจาก ปณิธิว่าอภินิเวส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ อนิจจานุปัสสนาญาณ ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนาญาณในชราและมรณะพ้นจากปณิธิว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ ฯลฯ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณในชราและมรณะพ้นจากปณิธิ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๘๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๕. วิโมกขกถา นิทเทส

ทุกอย่าง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนาญาณในชรา และมรณะพ้นจากปณิธิว่าอภินิเวส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ นี้ เป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ นี้เป็นวิโมกข์ (๑) [๒๓๐] ธรรมที่เป็นประธาน เป็นอย่างไร คือ ธรรมที่เป็นฝ่ายแห่งการตรัสรู้ เป็นกุศล ไม่มีโทษ เกิดในภาวนานั้น นี้ เป็นธรรมที่เป็นประธาน (๒) ธรรมที่เป็นประธานแห่งวิโมกข์ เป็นอย่างไร คือ นิพพานซึ่งเป็นความดับ เป็นอารมณ์ของธรรมเหล่านั้น นี้เป็นธรรมที่ เป็นประธานแห่งวิโมกข์ (๓) ธรรมที่เป็นข้าศึกต่อวิโมกข์ เป็นอย่างไร คือ อกุศลมูล ๓ ทุจริต ๓ อกุศลธรรมแม้ทุกอย่างเป็นข้าศึกต่อวิโมกข์ นี้ เป็นธรรมที่เป็นข้าศึกต่อวิโมกข์ (๔) ธรรมที่อนุโลมตามวิโมกข์ เป็นอย่างไร คือ กุศลมูล ๓ สุจริต ๓ กุศลธรรมแม้ทุกอย่างเป็นธรรมที่อนุโลมตามวิโมกข์ นี้เป็นธรรมที่อนุโลมตามวิโมกข์ (๕) วิโมกขวิวัฏ เป็นอย่างไร คือ สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ วิโมกขวิวัฏ สัจจวิวัฏ พระโยคาวจรเมื่อหมายรู้ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏ เมื่อ คิดย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเจโตวิวัฏ เมื่อรู้แจ้งย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าจิตตวิวัฏ เมื่อกระทำญาณย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าญาณวิวัฏ เมื่อสละย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏ ย่อมหลีกไปในสภาวะแท้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสัจจวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีเจโตวิวัฏ ในขณะ แห่งมรรคใดมีเจโตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใด มีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีจิตตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใด มีจิตตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๙๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๓๘๗-๓๙๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=31&page=387&pages=4&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=31&A=11272 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=31&A=11272#p387 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 31 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_31 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31 https://84000.org/tipitaka/english/?index_31



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๘๗-๓๙๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]