ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

หน้าที่ ๔๕๖-๔๕๗.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

                                                                 ๓. โพชฌังคกถา

[๒๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า ท่านทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ โพชฌงค์ ๗ ประการอะไรบ้าง คือ ๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แล ผมนั้นประสงค์จะอยู่ในเวลาเช้าด้วยโพชฌงค์ ใดๆ บรรดาโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ผมก็อยู่ในเวลาเช้าด้วยโพชฌงค์นั้นๆ ประสงค์จะอยู่ในเวลาเที่ยง ฯลฯ ในเวลาเย็นด้วยโพชฌงค์ใดๆ ผมก็อยู่ในเวลา เย็นด้วยโพชฌงค์นั้นๆ ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ดังนี้ สติสัมโพชฌงค์ของผม ก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้ ชื่อว่าผมปรารภเสมอดีแล้ว เมื่อผมกำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัด สติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่” ถ้าแม้สติสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไป ก็รู้ชัดว่า “สติสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้” ฯลฯ ท่านทั้งหลาย ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ดังนี้ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมก็ชื่อว่า หาประมาณมิได้ ชื่อว่าผมปรารภเสมอดีแล้ว เมื่อผมกำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัด อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่” ถ้าแม้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไป ก็รู้ชัดว่า “อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้” ท่านทั้งหลาย เปรียบเหมือนตู้เก็บผ้าของพระราชาหรือของมหาอำมาตย์ของ พระราชา เต็มด้วยผ้าสีต่างๆ พระราชาหรือมหาอำมาตย์นั้นประสงค์จะใช้ผ้าคู่ใด ในเวลาเช้า ก็ใช้ผ้าคู่นั้นนั่นแหละในเวลาเช้า ประสงค์จะใช้ผ้าคู่ใดในเวลาเที่ยง ฯลฯ ในเวลาเย็น ก็ใช้ผ้าคู่นั้นนั่นแหละในเวลาเย็น ฉันใด ผมก็ฉันนั้นเหมือนกัน ประสงค์จะอยู่ในเวลาเช้าด้วยโพชฌงค์ใดๆ บรรดาโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ก็อยู่ ในเวลาเช้าด้วยโพชฌงค์นั้นๆ ประสงค์จะอยู่ในเวลาเที่ยง ฯลฯ ในเวลาเย็นด้วย โพชฌงค์ใดๆ ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์นั้นๆ ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ดังนี้ สติ- สัมโพชฌงค์ของผมก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้ ชื่อว่าผมปรารภเสมอดีแล้ว เมื่อผม กำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดสติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่” ถ้าแม้สติ- สัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปก็รู้ว่า “สติสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๕๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

                                                                 ๓. โพชฌังคกถา

ฯลฯ ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ดังนี้ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมก็ชื่อว่า หาประมาณมิได้ ชื่อว่าผมปรารภเสมอดีแล้ว เมื่อผมกำลังเที่ยวไปย่อมรู้ชัดอุเบกขา- สัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่” ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไป ก็รู้ชัด ว่า “อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้”
สุตตันตนิทเทส
แสดงพระสูตร
[๒๑] โพชฌงค์ ในข้อว่า “ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ ดังนี้” มีอยู่อย่างไร คือ นิโรธปรากฏเพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า “ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ ดังนี้” ก็มีเพียงนั้น เหมือนประทีปน้ำมันกำลังสว่างอยู่ เปลวไฟมีเพียงใด แสงก็ มีเพียงนั้น แสงมีเพียงใด เปลวไฟก็มีเพียงนั้น นิโรธมีอยู่เพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า “ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ ดังนี้” ก็มีอยู่เพียงนั้น โพชฌงค์ในข้อว่า “สติสัมโพชฌงค์ของผมก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้ ดังนี้” มีอยู่ อย่างไร คือ กิเลสทั้งหลาย ได้แก่ กิเลสที่กลุ้มรุมจิตทั้งปวงเทียว สังขารที่ให้เกิดในภพ ใหม่มีประมาณ นิโรธชื่อว่าหาประมาณมิได้ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหว เพราะมี สภาวะเป็นอสังขตธรรม นิโรธปรากฏเพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า “สติสัมโพชฌงค์ ของผมก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้ ดังนี้” ก็มีอยู่เพียงนั้น โพชฌงค์ในข้อว่า “สติสัมโพชฌงค์ ชื่อว่าผมปรารภเสมอดีแล้วนั้น ดังนี้” มีอยู่อย่างไร คือ กิเลสทั้งหลาย ได้แก่ กิเลสที่กลุ้มรุมจิตทั้งปวงเทียว สังขารที่ให้เกิดใน ภพใหม่ไม่เสมอ นิโรธมีความเสมอเป็นธรรมดา เพราะมีสภาวะเป็นธรรมละเอียด เพราะมีสภาวะเป็นธรรมประณีต นิโรธปรากฏเพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า “สติ- สัมโพชฌงค์ ชื่อว่าผมปรารภเสมอดีแล้ว ดังนี้” ก็มีอยู่เพียงนั้น เมื่อผมกำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดสติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่” ถ้า สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไป ก็รู้ชัดว่า “สติสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้” เป็นอย่างไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๕๗}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๔๕๖-๔๕๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=31&page=456&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=31&A=13357 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=31&A=13357#p456 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 31 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_31 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31 https://84000.org/tipitaka/english/?index_31



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๕๖-๔๕๗.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]