ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

หน้าที่ ๔๘๒-๔๘๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

                                                                 ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร

๖. ปฏิสัมภิทากถา
ว่าด้วยปฏิสัมภิทา
๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร๑-
วาระว่าด้วยการประกาศธรรมจักร
[๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง พาราณสี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า ภิกษุทั้งหลาย ที่สุด ๒ ประการนี้ บรรพชิตไม่ควรเสพ ที่สุด ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กามสุขัลลิกานุโยค (การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย) เป็นธรรมอันเลวทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๒. อัตตกิลมถานุโยค (การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตน) เป็น ทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทาไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด ๒ ประการนี้นั้นตถาคต ตรัสรู้แล้ว ทำให้เห็นประจักษ์ ทำให้รู้ชัด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน มัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคตตรัสรู้แล้ว ทำให้เห็นประจักษ์ ทำให้รู้ชัด ย่อม เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็น อย่างไร @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๑๓-๑๗/๒๐-๒๕, สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๐๘๑/๕๙๒-๕๙๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๘๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

                                                                 ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร

คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้๑- ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ ๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ ๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ ๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ ภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทานี้นั้น ตถาคตตรัสรู้แล้ว ทำให้เห็นประจักษ์ ทำให้รู้ชัด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจนี้ คือ ชาติเป็นทุกข์ ชราเป็นทุกข์ พยาธิเป็นทุกข์ มรณะเป็นทุกข์ ความประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพราก จากอารมณ์อันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ การไม่ได้อารมณ์ที่ปรารถนาก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย ทุกขสมุทยอริยสัจนี้ คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีกประกอบด้วย ความเพลิดเพลิน และความกำหนัด มีปกติให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา @เชิงอรรถ : @ องค์มรรคแต่ละข้อมีนัยพิสดาร ดังนี้ @๑. สัมมาทิฏฐิ หมายถึงเห็นอริยสัจ ๔ เห็นไตรลักษณ์ หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท @๒. สัมมาสังกัปปะ หมายถึงความนึกคิดในทางสละปลอดจากกาม ความนึกคิดปลอดจากพยาบาทและ @ความนึกคิดปลอดจากการเบียดเบียน @๓. สัมมาวาจา หมายถึงพูดคำสัตย์ ไม่พูดส่อเสียด พูดคำอ่อนหวาน พูดสิ่งมีสาระ @๔. สัมมากัมมันตะ หมายถึงไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์ทั้งหลาย ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม @๕. สัมมาอาชีวะ หมายถึงเว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาอาชีพ @๖. สัมมาวายามะ หมายถึงเพียรระวังความชั่วไม่ให้เกิดขึ้น เพียรกำจัดความชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว เพียรทำ @ความดีให้เกิด เพียรรักษาความดีไว้ @๗. สัมมาสติ หมายถึงพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม @๘. สัมมาสมาธิ หมายถึงฌาน ๔ @(ที.ม. (แปล) ๑๐/๓๒๙/๒๕๘, ๔๐๒/๓๓๕, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๒๐๕/๑๗๑, ๔๘๖/๓๗๑, ๔๘๘-๔๙๐/๓๗๓, @๔๙๘/๓๗๗, ๕๐๔/๓๘๐, ม.อ. ๑๔/๓๒๕/๒๙๗, ๓๗๕/๓๑๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๘๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

                                                                 ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร

ภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ คือความดับตัณหานั้นนั่นแลโดยไม่เหลือ ด้วยวิราคะ ความสละ ความสละคืน ความพ้น ความไม่อาลัยในตัณหา ภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้คืออริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกข- อริยสัจ” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขอริยสัจนี้ ควรกำหนดรู้” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน ว่า “ทุกขอริยสัจนี้เรากำหนดรู้แล้ว” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขสมุทย- อริยสัจ” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขสมุทย- อริยสัจนี้ควรละ” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขสมุทยอริยสัจนี้เราละได้แล้ว” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขนิโรธ- อริยสัจ” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขนิโรธ- อริยสัจนี้ควรทำให้แจ้ง” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน ว่า “ทุกขนิโรธอริยสัจนี้เราทำให้แจ้งแล้ว” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๘๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

                                                                 ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร

จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขนิโรธ- คามินีปฏิปทาอริยสัจ” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขนิโรธ- คามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ควรเจริญ” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญา เกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย ได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้เราได้เจริญแล้ว” ภิกษุทั้งหลาย ยถาภูตญาณทัสสนะของเราในอริยสัจ ๔ นี้ ๓ รอบ๑- ๑๒ อาการ๒- อย่างนี้ ยังไม่หมดจดดีตราบใด เราก็ยังไม่ยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมา- สัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่ สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ตราบนั้น ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ยถาภูตญาณทัสสนะของเราในอริยสัจ ๔ นี้ ๓ รอบ ๑๒ อาการอย่างนี้ หมดจดดีแล้ว เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมา- สัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่ สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ อนึ่ง ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแล้วแก่ เราว่า “ความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเวยยากรณ์๓- นี้จบลงแล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ชื่นชม ยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค เมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังตรัสเวยยากรณ์นี้อยู่ ธัมมจักขุ๔- อันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา” @เชิงอรรถ : @ ๓ รอบ ได้แก่ (๑) สัจจญาณ (๒) กิจจญาณ (๓) กตญาณ (ขุ.ป.อ. ๒/๓๐/๒๕๓) @ ๑๒ อาการ ได้แก่ บรรดาสัจจะ ๔ (ทุกข์,ทุกขสมุทัย, ทุกขนิโรธ, ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา) แต่ละสัจจะมี @อาการอย่างละ ๓ จึงรวมเป็น ๑๒ อาการ (ขุ.ป.อ. ๒/๓๐/๒๕๓) @ เวยยากรณ์ ในที่นี้หมายถึงพระสูตรที่ไม่มีคาถา ประกอบด้วยคำถามคำตอบ (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๑๖/๒๒๐) @เป็นองค์อันหนึ่งในนวังคสัตถุศาสน์ (วิ.อ. ๑/๒๖) @ ธัมมจักขุ หมายถึงดวงตาเห็นธรรม คือ โสดาปัตติมัคคญาณ (วิ.อ. ๓/๕๖/๒๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๘๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

                                                                 ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร

ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เทพชั้นภุมมะกระจาย ข่าวว่า “นั่นธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไปแล้ว ณ ป่า อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้” เทพชั้นจาตุมหาราชได้สดับเสียงประกาศของเทพชั้นภุมมะแล้ว ได้กระจาย ข่าวต่อไป ฯลฯ เทพชั้นดาวดึงส์ได้สดับเสียงประกาศของเทพชั้นจาตุมหาราชแล้ว ได้กระจาย ข่าวต่อไป ฯลฯ เทพชั้นยามา ฯลฯ เทพชั้นดุสิต ฯลฯ เทพชั้นนิมมานรดี ฯลฯ เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ฯลฯ เทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหมสดับเสียงของเหล่าเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีแล้ว ก็กระจายข่าวว่า “นั่นธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้” โดยขณะ๑- ครู่เดียวเท่านั้น เสียงป่าวประกาศได้กระจายขึ้นไปถึงพรหมโลก ด้วยประการฉะนี้ ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ก็สั่นสะเทือนเลื่อนลั่น ทั้งแสงสว่างอันเจิดจ้าหาประมาณมิได้ ยิ่งกว่าเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย ก็ปรากฏในโลก ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานว่า “ผู้เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ” ดังนั้น คำว่า “อัญญา- โกณฑัญญะ” นี้ จึงได้เป็นชื่อของท่านโกณฑัญญะนั่นแล @เชิงอรรถ : @ ดีดนิ้วมือ ๑๐ ครั้ง เป็น ๑ ขณะ, ๑๐ ขณะ เป็น ๑ ลยะ, ๑๐ ลยะ เป็น ๑ ขณลยะ, ๑๐ ขณลยะ เป็น ๑ ครู่ @(อภิธา.ฏี.คาถา ๖๖-๖๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๘๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๔๘๒-๔๘๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=31&page=482&pages=5&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=31&A=14131 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=31&A=14131#p482 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 31 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_31 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31 https://84000.org/tipitaka/english/?index_31



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๘๒-๔๘๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]