ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก

หน้าที่ ๗๗๖-๗๗๘.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๓. ยุธัญชยวรรค]

                                                                 สโมธานกถา

ท่านทั้งหลายจงเห็นความประมาทโดยความเป็นภัย และเห็นความไม่ประมาทโดยเป็นทางเกษมแล้ว จงเจริญมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการเถิด นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
นิเทสแห่งเนกขัมมบารมีเป็นต้น จบ
ทราบว่าพระผู้มีพระภาค เมื่อจะทรงยกย่องบุพจริยา ของพระองค์ จึงได้ตรัสธรรมปริยายชื่อพุทธาปทานีย์ ด้วยประการฉะนี้แล
สโมธานกถา
สรุปการบำเพ็ญบารมี ๓๐
พระผู้มีพระภาคผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ได้ตรัสไว้ดังนี้ว่า “การบำเพ็ญบารมีอันเป็นธรรมเครื่องบ่มพระโพธิญาณเหล่านี้ จัดเป็นบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ และปรมัตถบารมี ๑๐ คือ การบำเพ็ญทานในภพที่เป็นพระเจ้าสิวิราช ผู้ประเสริฐเป็นทานบารมี ๑ ในภพที่เราเป็นเวสสันดรและเวลามพราหมณ์เป็นทานอุปบารมี ๒ ในภพที่เราเป็นอกิตติดาบสอดอาหารนั้น เป็นทานอุปบารมี ในภพที่เราเป็นพญาไก่ป่า สีลวนาคและพญากระต่าย เป็นทานปรมัตถบารมี ๓ ในภพที่เราเป็นพญาวานร ช้างฉัททันต์และช้างเลี้ยงมารดา เป็นศีลบารมี” ๔ การรักษาศีลในภพที่เราเป็นจัมเปยยนาคราช และภูริทัตตนาคราชเป็นศีลอุปบารมี ๕ ในภพที่เราเป็นสังขปาลบัณฑิตเป็นศีลปรมัตถบารมี ๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๗๗๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๓. ยุธัญชยวรรค]

                                                                 สโมธานกถา

ในภพที่เราเป็นยุธัญชัยกุมาร มหาโควินทพราหมณ์ คนเลี้ยงช้าง อโยฆรราชโอรส ภัลลาติ สุวรรณสาม มฆเทพ และเนมิราช บารมีเหล่านี้เป็นอุปบารมี ในภพที่เราเป็นมโหสถ ผู้เป็นทรัพย์ของรัฐ กุณฑล ตัณฑิละ และนกกระทา บารมีเหล่านี้เป็นปัญญาอุปบารมี ๗ ในภพที่เราเป็นวิธูรบัณฑิตและสุริยพราหมณ์ มาตังคพราหมณ์ ผู้เป็นศิษย์เก่าของอาจารย์ บารมีทั้ง ๒ นี้ เป็นปัญญาบารมี ๘ ในภพที่เราเป็นพระราชาผู้มีศีล มีความเพียร เป็นผู้ก่อเกิดสัตตุภัสตชาดก บารมีนี้แลเป็นปัญญาปรมัตถบารมี ๙ ในภพที่เราเป็นพระราชา ผู้มีความบากบั่น เป็นวิริยปรมัตถบารมี ๑๐ ในภพที่เราเป็นธรรมปาลกุมารเป็นขันติบารมี ๑๒ ในภพที่เราเป็นธรรมิกเทพบุตร ทำสงครามกับอธรรมิกเทพบุตร เรียกว่าขันติอุปบารมี ๑๓ ในภพที่เราเป็นขันติวาทีดาบสแสวงหาพุทธภูมิ ด้วยการบำเพ็ญขันติบารมี ได้ทำกรรมที่ทำได้ยากเป็นอันมาก นี้เป็นขันติปรมัตถบารมี ๑๔ ในภพที่เราเป็นสสบัณฑิต นกคุ่ม ซึ่งประกาศคุณสัจจะ ทำไฟให้ดับด้วยสัจจะ นี้เป็นสัจจบารมี ๑๕ ในภพที่เราเป็นปลาอยู่ในน้ำ ได้ทำสัจจะอย่างสูง ทำฝนให้ตกห่าใหญ่ นี้เป็นสัจจบารมีของเรา ในภพที่เราเป็นสุปารบัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์ ยังเรือให้ข้ามสมุทรจนถึงฝั่งด้วยสัจจะ เป็นกัณหทีปายนดาบส ระงับพิษได้ด้วยสัจจะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๗๗๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๓. ยุธัญชยวรรค]

                                                                 สโมธานกถา

และเป็นวานรข้ามกระแสแม่น้ำคงคาได้ด้วยสัจจะ นี้เป็นบารมีของพระศาสดา บารมีนั้นเป็นอุปปารมี ๑๖ ในภพที่เป็นสุตโสมราชา รักษาสัจจะอย่างสูง ช่วยปล่อยกษัตริย์ ๑๐๑ นี้เป็นสัจจปรมัตถบารมี ๑๗ อะไรที่จะเป็นความพอใจไปกว่าอธิษฐาน นี้เป็นอธิษฐานบารมี ๑๘ ในภพที่เราเป็นมาตังคชฎิลและช้างมาตังคะ นี้เป็นอธิษฐานอุปบารมี ๑๙ ในภพที่เราเป็นมูคปักขกุมารเป็นอธิษฐานปรมัตถบารมี ๒๐ ในภพที่เราเป็นมหากัณหฤๅษีและพระเจ้าโสธนะ และบารมี ๒ อย่างคือ ในภพที่เราเป็นพระเจ้าพรหมทัตต์และคัณฑิติณฑกะ ที่กล่าวมาแล้วเป็นเมตตาบารมี ๒๑ ในภพที่เราเป็นโสณนันทบัณฑิตผู้ทำความรัก บารมีเหล่านั้นเป็นเมตตาอุปบารมี ๒๒ ในภพที่เราเป็นพระเจ้าเอกราช เป็นบารมีไม่มีของผู้อื่นเหมือน นี้เป็นเมตตาปรมัตถบารมี ๒๓ ในภพที่เราเป็นนกแขกเต้า ๒ ครั้ง เป็นอุเบกขาบารมี ๒๔ ในภพที่เราเป็นโลมหังสบัณฑิต เป็นอุเบกขาปรมัตถบารมี ๒๖ บารมีของเรา ๑๐ ประการนี้ เป็นส่วนแห่งพระโพธิญาณอันเลิศ บารมีที่เกินกว่า ๑๐ ไม่มี และบารมีที่หย่อนกว่า ๑๐ ก็ไม่มี เราบำเพ็ญบารมีทุกอย่าง ไม่ยิ่งไม่หย่อน เป็นบารมี ๑๐ ประการฉะนี้แล
สโมธานกถา จบ
จริยาปิฎก จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๗๗๘}
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ สุตตันตปิฎกที่ ๒๕ ขุททกนิกาย

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๓ หน้าที่ ๗๗๖-๗๗๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=33&page=776&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=33&A=21932 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=33&A=21932#p776 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 33 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_33 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu33 https://84000.org/tipitaka/english/?index_33



จบการแสดงผล หน้าที่ ๗๗๖-๗๗๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]