ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธรรมสังคณีปกรณ์

หน้าที่ ๑๘๙-๑๙๐.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]

                                                                 รูปวิภัตติ เอกกนิทเทส

เอกาทสกมาติกา
รวมรูปหมวดละ ๑๑
[๕๙๓] รูปที่เป็นจักขายตนะ รูปที่เป็นโสตายตนะ รูปที่เป็นฆานายตนะ รูปที่ เป็นชิวหายตนะ รูปที่เป็นกายายตนะ รูปที่เป็นรูปายตนะ รูปที่เป็นสัททายตนะ รูป ที่เป็นคันธายตนะ รูปที่เป็นรสายตนะ รูปที่เป็นโผฏฐัพพายตนะ รูปที่เห็นไม่ได้และ กระทบไม่ได้๑- ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ (๙๘๒-๙๘๔)
รวมรูปหมวดละ ๑๑ อย่างนี้
เอกาทสกมาติกา จบ
มาติกา จบ
รูปวิภัตติ
เอกกนิทเทส
[๕๙๔] รูปทั้งหมดไม่เป็นเหตุ ไม่มีเหตุ วิปปยุตจากเหตุ มีปัจจัยปรุงแต่ง ถูก ปัจจัยปรุงแต่ง เป็นรูป เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นอารมณ์ของโอฆะ เป็นอารมณ์ของโยคะ เป็นอารมณ์ของ นิวรณ์ เป็นอารมณ์ของปรามาส เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นอารมณ์ของกิเลส เป็นอัพยากฤต รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่เป็นเจตสิก วิปปยุตจากจิต ไม่เป็นวิบากและไม่ เป็นเหตุให้เกิดวิบาก กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส ไม่ใช่มีทั้ง วิตกและวิจาร ไม่ใช่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร ไม่สหรคตด้วยปีติ ไม่สหรคตด้วยสุข ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและ มรรคเบื้องบน ๓ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล เป็น @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๓๓/๑๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๑๘๙}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]

                                                                 รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์

ปริตตะ เป็นกามาวจร ไม่เป็นรูปาวจร ไม่เป็นอรูปาวจร นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ไม่ใช่ ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เป็นธรรมชาติไม่แน่นอน ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ เป็นธรรมที่เกิดขึ้น อันวิญญาณ ๖ รู้ได้ เป็นธรรมชาติไม่เที่ยง ถูกชราครอบงำ๑-
รวมรูปหมวดละ ๑ อย่างนี้
เอกกนิทเทส จบ
ทุกนิทเทส
ปกิณณกทุกะ
อุปาทาภาชนีย์
[๕๙๕] รูปที่เป็นอุปาทายรูป นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ อากาสธาตุ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป อุปจยรูป สันตติรูป ชรตารูป อนิจจตารูป และกวฬิงการาหาร
จักขายตนะ
[๕๙๖] รูปที่เป็นจักขายตนะ นั้นเป็นไฉน จักษุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้ สัตว์นี้ เคยเห็น กำลังเห็น จักเห็น หรือพึงเห็นรูปที่เห็นได้กระทบได้ด้วย จักษุใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าจักขุบ้าง จักขายตนะบ้าง จักขุธาตุบ้าง จักขุนทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง เนตรบ้าง นัยนาบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นจักขายตนะ๒- [๕๙๗] รูปที่เป็นจักขายตนะ นั้นเป็นไฉน @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๓๓/๑๔ @ อภิ.วิ. ๓๕/๑๕๖/๘๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๑๙๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๔ หน้าที่ ๑๘๙-๑๙๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=34&page=189&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=34&A=5434 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=34&A=5434#p189 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 34 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_34 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu34 https://84000.org/tipitaka/english/?index_34



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๘๙-๑๙๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]