ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธรรมสังคณีปกรณ์

หน้าที่ ๒๖๔-๒๖๕.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

                                                                 ติกนิกเขปะ

[๑๐๒๑] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน เป็นไฉน มรรค ๔ ซึ่งไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นเหตุให้ถึง นิพพาน๑- [๑๐๒๒] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิจุติและนิพพาน เป็นไฉน วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมที่เป็นกิริยา ซึ่งไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรม รูป ทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นเหตุให้ถึง ปฏิสนธิจุติและนิพพาน๑-
๑๑. เสกขติกะ
[๑๐๒๓] สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคล เป็นไฉน มรรค ๔ ซึ่งไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และสามัญญผล ๓ เบื้องต่ำ สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าเป็นของเสขบุคคล๒- [๑๐๒๔] สภาวธรรมที่เป็นของอเสขบุคคล เป็นไฉน อรหัตตผลอันตั้งอยู่เบื้องสูง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นของอเสขบุคคล [๑๐๒๕] สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล เป็นไฉน เว้นสภาวธรรมเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤตที่ เหลือซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นของเสขบุคคล และอเสขบุคคล
๑๒. ปริตตติกะ
[๑๐๒๖] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะ เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นกามาวจรทั้งหมด ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นปริตตะ๒- @เชิงอรรถ : @ อภิ.สงฺ.อ. ๙๑ @ อภิ.สงฺ.อ. ๙๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๖๔}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

                                                                 ติกนิกเขปะ

[๑๐๒๗] สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะ เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤต ซึ่งเป็นรูปาวจรและอรูปาวจร ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นมหัคคตะ๑- [๑๐๒๘] สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะ เป็นไฉน มรรค ผลของมรรค และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ซึ่งไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัปปมาณะ๑-
๑๓. ปริตตารัมมณติกะ
[๑๐๒๙] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิก ปรารภสภาวธรรมที่เป็นปริตตะเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีปริตตะเป็นอารมณ์๑- [๑๐๓๐] สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิก ปรารภสภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีมหัคคตะเป็นอารมณ์๑- [๑๐๓๑] สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิก ปรารภสภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีอัปปมาณะเป็นอารมณ์๑-
๑๔. หีนติกะ
[๑๐๓๒] สภาวธรรมชั้นต่ำ เป็นไฉน อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับ อกุศลมูลนั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยอกุศลมูลนั้น กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่มีอกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมชั้นต่ำ๑- [๑๐๓๓] สภาวธรรมชั้นกลาง เป็นไฉน @เชิงอรรถ : @ อภิ.สงฺ.อ. ๙๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๖๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๔ หน้าที่ ๒๖๔-๒๖๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=34&page=264&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=34&A=7570 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=34&A=7570#p264 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 34 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_34 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu34 https://84000.org/tipitaka/english/?index_34



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๖๔-๒๖๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]