ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

หน้าที่ ๑-๒.


พระอภิธรรมปิฎก
วิภังค์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. ขันธภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
[๑] ขันธ์๑- ๕ คือ ๑. รูปขันธ์ (กองรูป) ๒. เวทนาขันธ์ (กองเวทนา) ๓. สัญญาขันธ์ (กองสัญญา) ๔. สังขารขันธ์ (กองสังขาร) ๕. วิญญาณขันธ์ (กองวิญญาณ)
๑. รูปขันธ์
[๒] บรรดาขันธ์ ๕ นั้น รูปขันธ์ เป็นไฉน รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ รูปที่เป็นอดีต รูปที่เป็นอนาคต รูปที่เป็นปัจจุบัน รูปที่เป็นภายในตน รูปที่เป็นภายนอกตน รูปหยาบ รูปละเอียด รูปชั้นต่ำ รูปชั้น ประณีต รูปไกล หรือรูปใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า รูปขันธ์ @เชิงอรรถ : @ สฺวายมิธ ราสิโต อธิปฺเปโต ขันธ์ในที่นี้ท่านหมายถึงกอง เช่นกองรูป ฯลฯ (อภิ.วิ.อ. ๑/๒-๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

                                                                 ๑. สุตตันตภาชนีย์ ๑. รูปขันธ์

[๓] ในรูปขันธ์นั้น รูปที่เป็นอดีต เป็นไฉน รูปใดล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว ปราศจากไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับแล้ว ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นปราศจากไปแล้ว ที่เป็นอดีต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอดีต ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ (อุปาทายรูป) นี้เรียกว่า รูปที่ เป็นอดีต รูปที่เป็นอนาคต เป็นไฉน รูปใดยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดเฉพาะ ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่ เป็นอนาคต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัย มหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูปที่เป็นอนาคต รูปที่เป็นปัจจุบัน เป็นไฉน รูปใดเกิดอยู่ เป็นอยู่ เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏ เกิดขึ้น เกิดขึ้นพร้อม ตั้งขึ้น ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นปัจจุบัน สงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูปที่เป็นปัจจุบัน [๔] รูปที่เป็นภายในตน เป็นไฉน รูปใดของสัตว์นั้นๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน เกิดในตน มีเฉพาะ บุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ๑- ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ และ รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูปที่เป็นภายในตน รูปที่เป็นภายนอกตน เป็นไฉน รูปใดของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นนั้นๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน เกิดในตน มีเฉพาะบุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูปที่เป็นภายนอกตน [๕] รูปหยาบ เป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ นี้เรียกว่า รูปหยาบ @เชิงอรรถ : @ ตัณหาและทิฏฐิที่เกิดพร้อมกับการกระทำที่ยึดติดโดยความเป็นอารมณ์ (อภิ.สงฺ.อ. ๔/๙๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๑-๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=35&page=1&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=35&A=1 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=35&A=1#p1 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 35 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑-๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]