ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

หน้าที่ ๑๖๔.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔. สัจจวิภังค์]

                                                                 ๑. สุตตันตภาชนีย์ ๑. ทุกขสัจ

[๑๙๒] ชรา เป็นไฉน ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ย่น ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์ นั้นๆ นี้เรียกว่า ชรา๑- [๑๙๓] มรณะ เป็นไฉน ความจุติ ความเคลื่อนไป ความทำลายไป ความหายไป ความตายกล่าวคือ มฤตยู การทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งร่างกาย ความขาดสูญแห่ง ชีวิตินทรีย์ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ จากหมู่สัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่า มรณะ๒- [๑๙๔] โสกะ เป็นไฉน ความเศร้าโศก กิริยาที่เศร้าโศก ภาวะที่เศร้าโศก ความแห้งผากภายใน ความแห้งกรอบภายใน ความเกรียมใจ ความโทมนัส ลูกศรคือความโศก ของผู้ที่ ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิกระทบ ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง (หรือ)ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ นี้เรียกว่า โสกะ๓- [๑๙๕] ปริเทวะ เป็นไฉน ความร้องไห้ ความคร่ำครวญ กิริยาที่ร้องไห้ กิริยาที่คร่ำครวญ ภาวะที่ร้องไห้ ภาวะที่คร่ำครวญ ความบ่นถึง ความพร่ำเพ้อ ความร่ำไห้ ความพิไรรำพัน กิริยาที่ พิไรรำพัน ภาวะที่พิไรรำพัน ของผู้ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิกระทบ ของผู้ที่ ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง (หรือ)ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่าง หนึ่งกระทบ นี้เรียกว่า ปริเทวะ๔- @เชิงอรรถ : @ ที.ม. ๑๐/๓๘๙/๒๖๐, ม.มู. ๑๒/๙๒/๖๖-๖๗, ม.อุ. ๑๔/๓๗๓/๓๑๗, สํ.นิ. ๑๖/๒/๓, ๒๗/๔๑, ๒๘/๔๒, ๓๓/๕๕, @ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙, อภิ.วิ. ๓๕/๒๓๖/๑๖๓ @ ที.ม. ๑๐/๓๙๐/๒๖๐, ม.มู. ๑๒/๙๒/๖๗, ม.อุ. ๑๔/๓๗๓/๓๑๘, สํ.นิ. ๑๖/๒/๓, ๒๗/๔๑, ๒๘/๔๒, ๓๓/๕๕, @ขุ.ม. ๒๙/๔๑/๑๐๒, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙, อภิ.วิ. ๓๕/๒๓๖/๑๖๔ @ ขุ.ม. ๒๙/๔๔/๑๐๖, ๙๗/๒๑๐, ขุ.จู. ๓๐/๒๑/๗๖, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙, อภิ.วิ. ๓๕/๒๓๗/๑๖๔ @ ขุ.ม. ๒๙/๔๔/๑๐๖, ๙๗/๒๑๐, ขุ.จู. ๓๐/๒๑/๗๖, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙, อภิ.วิ. ๓๕/๒๓๘/๑๖๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๖๔}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๑๖๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=35&page=164&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=35&A=4669 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=35&A=4669#p164 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 35 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๖๔.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]