ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

หน้าที่ ๑๙๗-๒๐๒.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕. อินทริยวิภังค์]

                                                                 ๑. อภิธรรมภาชนีย์

๕. อินทริยวิภังค์
๑. อภิธรรมภาชนีย์
[๒๑๙] อินทรีย์ ๒๒ คือ ๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์ ๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์ ๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์ ๗. อิตถินทรีย์ ๘. ปุริสินทรีย์ ๙. ชีวิตินทรีย์ ๑๐. สุขินทรีย์ ๑๑. ทุกขินทรีย์ ๑๒. โสมนัสสินทรีย์ ๑๓. โทมนัสสินทรีย์ ๑๔. อุเปกขินทรีย์ ๑๕. สัทธินทรีย์ ๑๖. วิริยินทรีย์ ๑๗. สตินทรีย์ ๑๘. สมาธินทรีย์ ๑๙. ปัญญินทรีย์ ๒๐. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ๒๑. อัญญินทรีย์ ๒๒. อัญญาตาวินทรีย์ [๒๒๐] บรรดาอินทรีย์ ๒๒ นั้น จักขุนทรีย์ เป็นไฉน จักษุใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่า จักขุนทรีย์๑- (๑) โสตินทรีย์ ฯลฯ ฆานินทรีย์ ฯลฯ ชิวหินทรีย์ ฯลฯ กายินทรีย์ เป็นไฉน กายใดเป็นปสาทรูปอาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่า กายินทรีย์๒- (๕) มนินทรีย์ เป็นไฉน มนินทรีย์หมวดละ ๑ ได้แก่ มนินทรีย์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ มนินทรีย์หมวดละ ๒ ได้แก่ มนินทรีย์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี @เชิงอรรถ : @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๗๑๐/๒๐๔ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๗๑๒/๒๐๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๙๗}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕. อินทริยวิภังค์]

                                                                 ๑. อภิธรรมภาชนีย์

มนินทรีย์หมวดละ ๓ ได้แก่ มนินทรีย์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็น อัพยากฤตก็มี มนินทรีย์หมวดละ ๔ ได้แก่ มนินทรีย์ที่เป็นกามาวจรก็มี ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี มนินทรีย์หมวดละ ๕ ได้แก่ มนินทรีย์ที่สัมปยุตด้วยสุขินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุต ด้วยทุกขินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยโสมนัสสินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยโทมนัสสินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยอุเปกขินทรีย์ก็มี มนินทรีย์หมวดละ ๖ ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ มนินทรีย์หมวดละ ๖ มีด้วยอาการอย่างนี้ มนินทรีย์หมวดละ ๗ ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ มนินทรีย์หมวดละ ๗ มีด้วยอาการอย่างนี้ มนินทรีย์หมวดละ ๘ ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณที่สหรคต ด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยทุกข์ก็มี มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ มนินทรีย์หมวดละ ๘ มีด้วยอาการอย่างนี้ มนินทรีย์หมวดละ ๙ ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี มนินทรีย์หมวดละ ๙ มีด้วยอาการอย่างนี้ มนินทรีย์หมวดละ ๑๐ ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณที่สหรคต ด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยทุกข์ก็มี มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี มนินทรีย์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้ ฯลฯ มนินทรีย์หมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้ นี้เรียกว่า มนินทรีย์ (๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๙๘}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕. อินทริยวิภังค์]

                                                                 ๑. อภิธรรมภาชนีย์

อิตถินทรีย์ เป็นไฉน ทรวดทรงหญิง เครื่องหมายประจำเพศหญิง กิริยาหญิง อาการหญิง สภาพ หญิง ภาวะหญิงของสตรี นี้เรียกว่า อิตถินทรีย์๑- (๗) ปุริสินทรีย์ เป็นไฉน ทรวดทรงชาย เครื่องหมายประจำเพศชาย กิริยาชาย อาการชาย สภาพ ชาย ภาวะชายของบุรุษ นี้เรียกว่า ปุริสินทรีย์๒- (๘) ชีวิตินทรีย์ เป็นไฉน ชีวิตินทรีย์หมวดละ ๒ ได้แก่ ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูปก็มี ชีวิตินทรีย์ที่ไม่เป็นรูป ก็มี ในชีวิตินทรีย์ทั้ง ๒ นั้น ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูป เป็นไฉน อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน ความ ดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์แห่งสภาวธรรมที่เป็นรูปเหล่านั้น นี้เรียกว่า ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูป๓- ชีวิตินทรีย์ที่ไม่เป็นรูป เป็นไฉน อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน ความ ดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์แห่งสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเหล่านั้น นี้เรียกว่า ชีวิตินทรีย์ที่ไม่เป็นรูป นี้เรียกว่า ชีวิตินทรีย์ (๙) สุขินทรีย์ เป็นไฉน ความสำราญทางกาย ความสุขทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่กายสัมผัส นี้เรียกว่า สุขินทรีย์๔- (๑๐) ทุกขินทรีย์ เป็นไฉน @เชิงอรรถ : @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๓๒/๑๙๔, ๗๑๔/๒๐๕ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๓๓/๑๙๕, ๗๑๖/๒๐๕ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๓๔/๑๙๕, ๗๑๘/๒๐๕ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๔๕๒/๑๒๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๙๙}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕. อินทริยวิภังค์]

                                                                 ๑. อภิธรรมภาชนีย์

ความไม่สำราญทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ เป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่ กายสัมผัส นี้เรียกว่า ทุกขินทรีย์๑- (๑๑) โสมนัสสินทรีย์ เป็นไฉน ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์๒- (๑๒) โทมนัสสินทรีย์ เป็นไฉน ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็น ทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่ เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์๓- (๑๓) อุเปกขินทรีย์ เป็นไฉน ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่ เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า อุเปกขินทรีย์๔- (๑๔) สัทธินทรีย์ เป็นไฉน ศรัทธา ความเชื่อ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา สัทธินทรีย์ สัทธาพละ นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์๕- (๑๕) วิริยินทรีย์ เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความมุ่งมั่น อย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจใส่ธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์๖- (๑๖) @เชิงอรรถ : @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๖๐/๑๕๘ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๘/๒๔ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๔๑๗/๑๑๖ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๕๔/๔๗ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๒/๒๓ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๓/๒๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๐๐}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕. อินทริยวิภังค์]

                                                                 ๑. อภิธรรมภาชนีย์

สตินทรีย์ เป็นไฉน สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความ ไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ นี้เรียกว่า สตินทรีย์๑- (๑๗) สมาธินทรีย์ เป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงมั่น ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ ซัดส่าย ความไม่ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์๒- (๑๘) ปัญญินทรีย์ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์๓- (๑๙) อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรมที่ยังไม่ เคยรู้ เพื่อเห็นธรรมที่ยังไม่เคยเห็น เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่เคยบรรลุ เพื่อทราบ ธรรมที่ยังไม่เคยทราบ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่เคยทำให้แจ้งนั้นๆ นี้เรียกว่า อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์๔- (๒๐) อัญญินทรีย์ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรมที่รู้แล้ว เพื่อเห็นธรรมที่เห็นแล้ว เพื่อบรรลุธรรมที่บรรลุแล้ว เพื่อทราบธรรมที่ทราบแล้ว เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ทำให้แจ้งแล้วนั้นๆ นี้เรียกว่า อัญญินทรีย์๕- (๒๑) @เชิงอรรถ : @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๔/๒๓ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๕/๒๓ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๖/๒๔ @ หมายถึงโสดาปัตติมรรค (อภิ.สงฺ. ๓๔/๒๙๖/๘๘, อภิ.วิ.อ. ๒๑๙/๑๓๔) @ หมายถึงโสดาปัตติผลถึงอรหัตตมรรค (อภิ.สงฺ. ๓๔/๓๖๔/๑๐๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๐๑}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕. อินทริยวิภังค์]

                                                                 ๒. ปัญหาปุจฉกะ ๒. ปัญหาปุจฉกะ

อัญญาตาวินทรีย์ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรมที่รู้ทั่วแล้ว เพื่อเห็นธรรมที่เห็นแล้ว เพื่อบรรลุธรรมที่บรรลุแล้ว เพื่อทราบธรรมที่ทราบแล้ว เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ทำให้แจ้งแล้วนั้นๆ นี้เรียกว่า อัญญาตาวินทรีย์๑- (๒๒)
อภิธรรมภาชนีย์ จบ
๒. ปัญหาปุจฉกะ
[๒๒๑] อินทรีย์ ๒๒ คือ ๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์ ๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์ ๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์ ๗. อิตถินทรีย์ ๘. ปุริสินทรีย์ ๙. ชีวิตินทรีย์ ๑๐. สุขินทรีย์ ๑๑. ทุกขินทรีย์ ๑๒. โสมนัสสินทรีย์ ๑๓. โทมนัสสินทรีย์ ๑๔. อุเปกขินทรีย์ ๑๕. สัทธินทรีย์ ๑๖. วิริยินทรีย์ ๑๗. สตินทรีย์ ๑๘. สมาธินทรีย์ ๑๙. ปัญญินทรีย์ ๒๐. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ๒๑. อัญญินทรีย์ ๒๒. อัญญาตาวินทรีย์
ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[๒๒๒] บรรดาอินทรีย์ ๒๒ อินทรีย์เท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล เท่าไร เป็นอัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ @เชิงอรรถ : @ หมายถึงอรหัตตผล (อภิ.สงฺ.อ. ๕๕๓/๓๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๐๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๑๙๗-๒๐๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=35&page=197&pages=6&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=35&A=5604 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=35&A=5604#p197 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 35 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๙๗-๒๐๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]