ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

หน้าที่ ๒๐๑-๒๐๒.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕. อินทริยวิภังค์]

                                                                 ๑. อภิธรรมภาชนีย์

สตินทรีย์ เป็นไฉน สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความ ไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ นี้เรียกว่า สตินทรีย์๑- (๑๗) สมาธินทรีย์ เป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงมั่น ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ ซัดส่าย ความไม่ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์๒- (๑๘) ปัญญินทรีย์ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์๓- (๑๙) อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรมที่ยังไม่ เคยรู้ เพื่อเห็นธรรมที่ยังไม่เคยเห็น เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่เคยบรรลุ เพื่อทราบ ธรรมที่ยังไม่เคยทราบ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่เคยทำให้แจ้งนั้นๆ นี้เรียกว่า อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์๔- (๒๐) อัญญินทรีย์ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรมที่รู้แล้ว เพื่อเห็นธรรมที่เห็นแล้ว เพื่อบรรลุธรรมที่บรรลุแล้ว เพื่อทราบธรรมที่ทราบแล้ว เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ทำให้แจ้งแล้วนั้นๆ นี้เรียกว่า อัญญินทรีย์๕- (๒๑) @เชิงอรรถ : @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๔/๒๓ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๕/๒๓ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๖/๒๔ @ หมายถึงโสดาปัตติมรรค (อภิ.สงฺ. ๓๔/๒๙๖/๘๘, อภิ.วิ.อ. ๒๑๙/๑๓๔) @ หมายถึงโสดาปัตติผลถึงอรหัตตมรรค (อภิ.สงฺ. ๓๔/๓๖๔/๑๐๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๐๑}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕. อินทริยวิภังค์]

                                                                 ๒. ปัญหาปุจฉกะ ๒. ปัญหาปุจฉกะ

อัญญาตาวินทรีย์ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรมที่รู้ทั่วแล้ว เพื่อเห็นธรรมที่เห็นแล้ว เพื่อบรรลุธรรมที่บรรลุแล้ว เพื่อทราบธรรมที่ทราบแล้ว เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ทำให้แจ้งแล้วนั้นๆ นี้เรียกว่า อัญญาตาวินทรีย์๑- (๒๒)
อภิธรรมภาชนีย์ จบ
๒. ปัญหาปุจฉกะ
[๒๒๑] อินทรีย์ ๒๒ คือ ๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์ ๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์ ๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์ ๗. อิตถินทรีย์ ๘. ปุริสินทรีย์ ๙. ชีวิตินทรีย์ ๑๐. สุขินทรีย์ ๑๑. ทุกขินทรีย์ ๑๒. โสมนัสสินทรีย์ ๑๓. โทมนัสสินทรีย์ ๑๔. อุเปกขินทรีย์ ๑๕. สัทธินทรีย์ ๑๖. วิริยินทรีย์ ๑๗. สตินทรีย์ ๑๘. สมาธินทรีย์ ๑๙. ปัญญินทรีย์ ๒๐. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ๒๑. อัญญินทรีย์ ๒๒. อัญญาตาวินทรีย์
ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[๒๒๒] บรรดาอินทรีย์ ๒๒ อินทรีย์เท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล เท่าไร เป็นอัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ @เชิงอรรถ : @ หมายถึงอรหัตตผล (อภิ.สงฺ.อ. ๕๕๓/๓๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๐๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๒๐๑-๒๐๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=35&page=201&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=35&A=5729 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=35&A=5729#p201 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 35 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๐๑-๒๐๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]