ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

หน้าที่ ๓๙๗-๓๙๘.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒. ฌานวิภังค์]

                                                                 ๑. สุตตันตภาชนีย์

[๕๔๓] ในคำว่า มีจิตไม่พยาบาท นั้น จิต เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต จิตนี้เป็นจิตไม่พยาบาท เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า มีจิตไม่พยาบาท [๕๔๔] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าอยู่ [๕๔๕] คำว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความพยาบาทและความคิดประทุษ ร้าย อธิบายว่า ความพยาบาทก็มี ความคิดประทุษร้ายก็มี ใน ๒ อย่างนั้น ความพยาบาท เป็นไฉน จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง ความ ขุ่นเคือง ความพลุ่งพล่าน โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความคิดมุ่งร้าย ความขุ่นจิต ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ มีลักษณะเช่นว่านี้ (และ) ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิด ปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความพิโรธ ความแค้น ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า ความพยาบาท ความคิดประทุษร้าย เป็นไฉน ความพยาบาทอันใด อันนั้นเป็นความคิดประทุษร้าย ความคิดประทุษร้าย อันใด อันนั้นเป็นความพยาบาท จิต เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต ภิกษุชำระจิตนี้ให้บริสุทธิ์ ให้ผุดผ่อง ให้หมดจด ให้หลุด ให้พ้น ให้หลุด พ้นจากความพยาบาทและความคิดประทุษร้ายนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ชำระจิต ให้บริสุทธิ์จากความพยาบาทและความคิดประทุษร้าย [๕๔๖] คำว่า ละถีนมิทธะได้แล้ว อธิบายว่า ถีนมิทธะนั้นแยกเป็น ถีนะ อย่างหนึ่ง มิทธะอย่างหนึ่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๙๗}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒. ฌานวิภังค์]

                                                                 ๑. สุตตันตภาชนีย์

ใน ๒ อย่างนั้น ถีนะ เป็นไฉน ความหดหู่ ความไม่ควรแก่การงาน ความท้อแท้ ความท้อถอยแห่งใจ ความ ย่อหย่อน กิริยาที่ย่อหย่อน ภาวะที่ย่อหย่อน ความท้อถอย กิริยาที่ท้อถอย ภาวะ ที่ท้อถอยแห่งใจ นี้เรียกว่า ถีนะ๑- มิทธะ เป็นไฉน ความไม่สะดวกกาย ความไม่ควรแก่การงาน ความหงอยเหงา ความซบเซา แห่งกาย ความง่วงนอน ความง่วงซึม ความหลับ ความโงกง่วง ความอยากหลับ กิริยาที่อยากหลับ ภาวะที่อยากหลับ นี้เรียกว่า มิทธะ๒- ถีนะและมิทธะนี้ เป็นอันสงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูกทำให้ พินาศไป ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้นไปแล้ว ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ละถีนมิทธะได้แล้ว [๕๔๗] คำว่า เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ อธิบายว่า ชื่อว่าเป็นผู้ปราศจาก ถีนมิทธะ เพราะสละ คลาย ปล่อย วาง สละคืน ละและสละคืนถีนมิทธะนั้นแล้ว เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ [๕๔๘] คำว่า อยู่ อธิบายว่า ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อยู่ [๕๔๙] ในคำว่า ได้อาโลกสัญญา นั้น สัญญา เป็นไฉน ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ นี้เรียกว่า สัญญา สัญญานี้เป็น ความสว่าง เปิดเผย บริสุทธิ์ ผ่องใส เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ได้อาโลกสัญญา [๕๕๐] ในคำว่า มีสติสัมปชัญญะ นั้น สติ เป็นไฉน สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ นี้เรียกว่า สติ สัมปชัญญะ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ @เชิงอรรถ : @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๑๖๒/๒๗๐, อภิ.วิ. ๓๕/๕๕๑/๓๐๗ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๑๖๓/๒๗๐, อภิ.วิ. ๓๕/๕๕๑/๓๐๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๙๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๓๙๗-๓๙๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=35&page=397&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=35&A=11242 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=35&A=11242#p397 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 35 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๙๗-๓๙๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]