ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

หน้าที่ ๔๕๙.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [ ๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

                                                                 ๑. สุตตันตภาชนีย์ ๓. เหตุวาร

๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
๑. สังคหวาร
[๗๑๘] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในอรรถ) ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธรรม) ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ) ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ) ความรู้ในอรรถชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา๑- ความรู้ในธรรมชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณทั้งหลาย ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา นี้ชื่อว่าสังคหวาร
๒. สัจจวาร
[๗๑๙] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ความรู้ในทุกข์ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในทุกขสมุทัยชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในทุกขนิโรธชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ใน ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา นี้ชื่อว่าสัจจวาร
๓. เหตุวาร
[๗๒๐] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ.อ. ๗๑๘/๔๑๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๕๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๔๕๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=35&page=459&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=35&A=12962 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=35&A=12962#p459 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 35 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๕๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]