ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

หน้าที่ ๕๒๙-๕๓๒.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

                                                                 ๑๐. ทสกนิทเทส

สัตว์เหล่านั้นใดประกอบด้วยเครื่องกางกั้นคือกรรม ประกอบด้วยเครื่องกางกั้น คือกิเลส ประกอบด้วยเครื่องกางกั้นคือวิบาก เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ มี ปัญญาทราม ไม่ควรที่จะหยั่งลงสู่มรรคคือสัมมัตตนิยาม๑- ในสภาวธรรมที่เป็นกุศล ทั้งหลาย สัตว์เหล่านี้นั้นชื่อว่าผู้ไม่ควรบรรลุธรรม [๘๒๗] สัตว์ทั้งหลายผู้ควรบรรลุธรรม เหล่านั้นเป็นไฉน สัตว์เหล่านั้นใดไม่ประกอบด้วยเครื่องกางกั้นคือกรรม ไม่ประกอบด้วยเครื่อง กางกั้นคือกิเลส ไม่ประกอบด้วยเครื่องกางกั้นคือวิบาก มีศรัทธา มีฉันทะ มี ปัญญา ควรที่จะหยั่งลงสู่มรรคคือสัมมัตตนิยามในสภาวธรรมที่เป็นกุศลทั้งหลาย สัตว์เหล่านี้นั้นชื่อว่าผู้ควรบรรลุธรรม ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิในความแก่กล้าและไม่แก่กล้าแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลายนั้น นี้ชื่อว่า พระตถาคตทรงทราบความแก่กล้าและไม่แก่กล้าแห่งอินทรีย์ของสัตว์เหล่าอื่นของบุคคล เหล่าอื่นตามความเป็นจริง (๖)
๗. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ
(ปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมอง ผ่องแผ้วและการออกจากฌานเป็นต้นตามเป็นจริง)
[๘๒๘] พระตถาคตทรงทรงทราบความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว แห่ง ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ และความออกจากฌานเป็นต้นนั้นตามความ เป็นจริง เป็นไฉน โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌาน ๔ จำพวกชื่อว่าฌายี คือ โยคาวจรบุคคลผู้เจริญ ฌานบางคนสำคัญฌานที่ตนได้แล้วนั่นแหละผิดจากว่ายังไม่ได้ก็มี โยคาวจรบุคคลผู้ เจริญฌานบางคนสำคัญฌานที่ตนยังไม่ได้นั่นแหละผิดไปว่าได้แล้วก็มี โยคาวจร- บุคคลผู้เจริญฌานบางคนสำคัญฌานที่ตนได้แล้วนั่นแหละว่าได้แล้วก็มี โยคาวจร- บุคคลผู้เจริญฌานบางคนสำคัญฌานที่ตนยังไม่ได้นั่นแหละว่ายังไม่ได้ก็มี เหล่านี้ชื่อ ว่าโยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌาน ๔ จำพวก @เชิงอรรถ : @ มรรค คือข้อกำหนดถึงความเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ๑๐ ประการ ๘ ข้อข้างต้นตรงกับมรรค ๘ เพิ่มอีก ๒ ข้อ คือ @สัมมาญาณ (รู้ชอบ) และสัมมาวิมุตติ (พ้นชอบ) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อเสขธรรม (ธรรมของพระอเสขะ) @(ที.ป. ๑๑/๓๔๘/๒๔๐, ๓๖๐/๒๘๒, อภิ.วิ.อ. ๘๒๖/๔๙๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๒๙}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

                                                                 ๑๐. ทสกนิทเทส

โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานอีก ๔ จำพวก คือ โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌาน บางคนเข้าฌานได้ช้าแต่ออกได้เร็วก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคนเข้าฌาน เร็วแต่ออกช้าก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคนเข้าฌานได้ช้าและออกช้าก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคนเข้าฌานได้เร็วและออกได้เร็วก็มี เหล่านี้ชื่อว่า โยคาวจรบุคคล ๔ จำพวก โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานอีก ๔ จำพวก คือ โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌาน บางคนเป็นผู้ฉลาดในการกำหนดสมาธิในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการกำหนดสมาบัติ ในสมาธิก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคนเป็นผู้ฉลาดในการกำหนดสมาบัติ ในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการกำหนดสมาธิในสมาธิก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌาน บางคนเป็นผู้ฉลาดในการกำหนดสมาธิในสมาธิและฉลาดในการกำหนดสมาบัติใน สมาธิก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคนเป็นผู้ไม่ฉลาดในการกำหนดสมาธิใน สมาธิ ไม่ฉลาดในการกำหนดสมาบัติในสมาธิก็มี เหล่านี้ชื่อว่าโยคาวจรบุคคลผู้ เจริญฌาน ๔ จำพวก คำว่า ฌาน ได้แก่ ฌาน ๔ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน คำว่า วิโมกข์ ได้แก่ วิโมกข์ ๘ คือ โยคาวจรบุคคลผู้ได้รูปฌานโดยทำ บริกรรมในรูปภายในตนย่อมเห็นรูปทั้งหลาย นี้ชื่อว่าวิโมกข์ข้อที่ ๑ โยคาวจรบุคคลผู้ได้อรูปฌานโดยทำบริกรรมในรูปภายในตนย่อมเห็นรูปทั้งหลาย ในภายนอกตน นี้ชื่อว่าวิโมกข์ข้อที่ ๒ โยคาวจรบุคคลเป็นผู้น้อมจิตไปว่า งามแท้ นี้ชื่อว่าวิโมกข์ข้อที่ ๓ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาได้โดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา และเพราะไม่ได้มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา โยคาวจรบุคคลจึงบรรลุอากาสานัญจา- ยตนฌาน โดยบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุดดังนี้อยู่ นี้ชื่อว่าวิโมกข์ข้อที่ ๔ เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคลจึง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยบริกรรมว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ดังนี้อยู่ นี้ชื่อว่า วิโมกข์ข้อที่ ๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๓๐}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

                                                                 ๑๐. ทสกนิทเทส

เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคลจึง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยบริกรรมว่าอะไรๆ ก็ไม่มี ดังนี้อยู่ นี้ชื่อว่าวิโมกข์ ข้อที่ ๖ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคลจึง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ นี้ชื่อว่าวิโมกข์ข้อที่ ๗ เพราะก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง โยคาวจร- บุคคลจึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ นี้ชื่อว่าวิโมกข์ข้อที่ ๘ คำว่า สมาธิ ได้แก่ สมาธิ ๓ คือ ๑. สวิตักกสวิจารสมาธิ (สมาธิที่มีทั้งวิตกและวิจาร) ๒. อวิตักกวิจารปัตตสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร) ๓. อวิตักกอวิจารสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร) คำว่า สมาบัติ ได้แก่ อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ คือ ๑. ปฐมฌานสมาบัติ ๒. ทุติยฌานสมาบัติ ๓. ตติยฌานสมาบัติ ๔. จตุตถฌานสมาบัติ ๕. อากาสานัญจายตนสมาบัติ ๖. วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ๗. อากิญจัญญายตนสมาบัติ ๘. เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ๙. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ๑- บทว่า ความเศร้าหมอง ได้แก่ สภาวธรรมที่เป็นฝ่ายเสื่อม บทว่า ความผ่องแผ้ว ได้แก่ สภาวธรรมที่เป็นฝ่ายคุณวิเศษ บทว่า ความออก ได้แก่ แม้ความผ่องแผ้ว ก็ชื่อว่าความออก แม้ความ ออกจากสมาธินั้นๆ ก็ชื่อว่าความออก @เชิงอรรถ : @ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ หมายถึงสมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนามี ๒ คือ อสัญญสมาบัติ และนิโรธ- @สมาบัติ ที่เป็นอสัญญสมาบัติมีแก่ปุถุชน ที่เป็นนิโรธสมาบัติ มีเฉพาะแต่พระอนาคามีและพระอรหันต์ @ผู้ชำนาญในสมาบัติ ๘ ข้างต้นแล้วเท่านั้นจึงจะเข้าได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๕/๒๘๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๓๑}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

                                                                 ๑๐. ทสกนิทเทส

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิในความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกจากฌาน นี้ชื่อว่าพระตถาคต ทรงทราบความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว แห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ และความออกจากฌานเป็นต้นนั้นตามความเป็นจริง (๗)
๘. ปุพเพนิวาสนานุสสติญาณ
(ปรีชาหยั่งรู้ทำให้ระลึกภพที่เคยอยู่ในหนหลังได้)
[๘๒๙] พระตถาคตทรงทราบการระลึกชาติในหนหลังตามความเป็นจริง เป็นไฉน พระตถาคตในโลกนี้ทรงระลึกชาติในหนหลังได้หลายๆ ชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง หลายสังวัฏฏกัปบ้าง หลายวิวัฏฏกัปบ้าง หลายสังวัฏฏวิวัฏฏกัปบ้างว่า เราอยู่ในภพโน้น เป็นผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีวรรณะอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุอย่างนี้ เรานั้นจุติจากชาตินั้นแล้วจึงไปเกิด ในภพโน้น เราอยู่ในภพนั้น เป็นผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีวรรณะอย่างนี้ มี อาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุอย่างนี้ เรานั้นจุติจากชาติ นั้นแล้วจึงมาเกิดในภพนี้ พระตถาคตทรงระลึกชาติในหนหลังได้หลายๆ ชาติพร้อม ทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ในการระลึกชาตินั้น นี้ชื่อว่าพระตถาคตทรงทราบการระลึกชาติหนหลังตามความ เป็นจริง (๘)
๙. จุตูปปาตญาณ
(ปรีชาหยั่งรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายอันเป็นไปตามธรรม)
[๘๓๐] พระตถาคตทรงทราบความจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายตาม ความเป็นจริง เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๓๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๕๒๙-๕๓๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=35&page=529&pages=4&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=35&A=14962 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=35&A=14962#p529 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 35 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35



จบการแสดงผล หน้าที่ ๕๒๙-๕๓๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]