ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

หน้าที่ ๕๘๘-๕๘๙.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

                                                                 ๔. จตุกกนิทเทส

สมณพราหมณ์ภายนอกแต่ศาสนานี้มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์มีได้ด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยศีลและพรต ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาสกายคันถะ อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ เป็นไฉน ความเห็นว่า โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า หรือโลกไม่เที่ยง นี้เท่า นั้นจริง อย่างอื่นเปล่า ฯลฯ ความเห็นว่า หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ เว้นสีลัพพตปรามาสกายคันถะแล้ว มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดชื่อว่าอิทังสัจจา- ภินิเวสกายคันถะ เหล่านี้ชื่อว่าคันถะ ๔ (๒) โอฆะ ๔ ฯลฯ โยคะ ๔ ฯลฯ อุปาทาน ๔ เป็นไฉน อุปาทาน ๔ คือ ๑. กามุปาทาน (ความถือมั่นกาม) ๒. ทิฏฐุปาทาน (ความถือมั่นทิฏฐิ) ๓. สีลัพพตุปาทาน (ความถือมั่นศีลพรต) ๔. อัตตวาทุปาทาน (ความถือมั่นวาทะว่ามีตัวตน) บรรดาอุปาทาน ๔ เหล่านั้น กามุปาทาน เป็นไฉน ความพอใจในกาม ฯลฯ ความหมกมุ่นในกาม นี้เรียกว่า กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน เป็นไฉน ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ สมณพราหมณ์ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรู้ยิ่งเห็นจริงแจ้งประจักษ์โลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเองแล้วสอน ให้ผู้อื่นรู้ไม่มีอยู่ในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ทิฏฐุปาทาน เว้นสีลัพพตุปาทานและอัตตวาทุปาทานแล้ว มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดชื่อว่า ทิฏฐุปาทาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๘๘}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

                                                                 ๔. จตุกกนิทเทส

สีลัพพตุปาทาน เป็นไฉน สมณพราหมณ์ภายนอกแต่ศาสนานี้ มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์มีได้ด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยศีลและพรต ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดย วิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน เป็นไฉน ปุถุชนในโลกนี้ผู้มีสุตะน้อย ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของ สัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมพิจารณาเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน หรือเห็นตนในรูป เห็นเวทนาเป็นตน ฯลฯ เห็น สัญญาเป็นตน ฯลฯ เห็นสังขารเป็นตน ฯลฯ เห็นวิญญาณเป็นตน หรือย่อม พิจารณาเห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน หรือเห็นตนในวิญญาณ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อัตตวาทุปาทาน เหล่านี้ชื่อว่าอุปาทาน ๔ (๕) [๙๓๙] ตัณหุปาทาน เป็นไฉน ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะจีวรเป็นเหตุ เพราะบิณฑบาตเป็นเหตุ เพราะเสนาสนะเป็นเหตุ หรือเพราะคิลานปัจจัยอันมีน้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อย เป็นต้นที่ประณีตและประณีตยิ่งด้วยประการฉะนี้เป็นเหตุ เหล่านี้เรียกว่า ตัณหุปาทาน (๖) อคติคมนะ ๔ เป็นไฉน บุคคลย่อมถึงความลำเอียงเพราะรักใคร่กัน เพราะเกลียดชัง เพราะเขลา เพราะกลัว ความลำเอียง การถึงความลำเอียง การลำเอียงเพราะรักใคร่กัน ความ ลำเอียงเพราะเป็นพรรคพวกกัน ความหันเหไปเหมือนน้ำไหล มีลักษณะเช่นว่านี้ เหล่านี้เรียกว่า อคติคมนะ ๔ (๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๘๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๕๘๘-๕๘๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=35&page=588&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=35&A=16640 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=35&A=16640#p588 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 35 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35



จบการแสดงผล หน้าที่ ๕๘๘-๕๘๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]