ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

หน้าที่ ๕๙๐.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

                                                                 ๔. จตุกกนิทเทส

วิปริเยสะ ๔ เป็นไฉน การแสวงหาผิดด้วยอำนาจความเข้าใจ ความคิด และความเห็นว่าเที่ยงใน สิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าเป็นสุขในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นตัวตนในสิ่งที่ไม่เป็นตัวตน และว่า งามในสิ่งที่ไม่งาม นี้ชื่อว่าวิปริเยสะ ๔ (๘) อนริยโวหาร ๔ เป็นไฉน อนริยโวหาร ๔ คือ ๑. เรื่องที่ไม่เห็นพูดว่าเห็น ๒. เรื่องที่ไม่ได้ยินพูดว่าได้ยิน ๓. เรื่องที่ไม่รู้พูดว่ารู้ ๔. เรื่องที่ไม่รู้แจ้งพูดว่ารู้แจ้ง เหล่านี้เรียกว่า อนริยโวหาร ๔ (๙) อนริยโวหาร ๔ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน อนริยโวหาร ๔ อีกนัยหนึ่ง คือ ๑. เรื่องที่เห็นพูดว่าไม่เห็น ๒. เรื่องที่ได้ยินพูดว่าไม่ได้ยิน ๓. เรื่องที่รู้พูดว่าไม่รู้ ๔. เรื่องที่รู้แจ้งพูดว่าไม่รู้แจ้ง เหล่านี้เรียกว่า อนริยโวหาร ๔ (๑๐) ทุจริต ๔ เป็นไฉน ทุจริต ๔ คือ ๑. ปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) ๒. อทินนาทาน (ลักทรัพย์) ๓. กาเมสุมิจฉาจาร (ประพฤติผิดในกาม) ๔. มุสาวาท (พูดเท็จ) เหล่านี้เรียกว่า ทุจริต ๔ (๑๑) ทุจริต ๔ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน ทุจริต ๔ อีกนัยหนึ่ง คือ ๑. มุสาวาท (พูดเท็จ) ๒. ปิสุณวาจา (พูดส่อเสียด) ๓. ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ) ๔. สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ) เหล่านี้เรียกว่า ทุจริต ๔ (๑๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๙๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๕๙๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=35&page=590&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=35&A=16699 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=35&A=16699#p590 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 35 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35



จบการแสดงผล หน้าที่ ๕๙๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]