ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

หน้าที่ ๖๐๕-๖๐๖.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

                                                                 ๗. สัตตกนิทเทส

[๙๔๘] ทิฏฐิ๑- ๖ เป็นไฉน ทิฏฐิ ๖ คือ ๑. ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า อัตตาของเรามีอยู่ ๒. ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า อัตตาของเราไม่มี ๓. ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า เรารู้จักอัตตาได้ ด้วยอัตตา (ความมีตัวตน) ๔. ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า เรารู้จักอนัตตา (ความไม่มีตัวตน) ได้ด้วยอัตตา (ความมีตัวตน) ๕. ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า เรารู้จักอัตตาได้ ด้วยอนัตตา (ความไม่มีตัวตน) ๖. ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า อัตตาของเรานี้นั้น เป็นผู้กล่าว เป็นผู้รู้ เสวยผลแห่งกรรมดีและกรรมชั่วในภพ นั้นๆ สิ้นกาลนาน อัตตานั้นไม่เกิด ไม่มีมาแล้วในอดีต อัตตานั้นไม่เกิด จักไม่มีในอนาคต อัตตาเป็นสภาวะที่เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีความไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา เหล่านี้ชื่อว่าทิฏฐิ ๖ (๑๔)
ฉักกนิทเทส จบ
๗. สัตตกนิทเทส
[๙๔๙] บรรดาสัตตกมาติกาเหล่านั้น อนุสัย ๗ เป็นไฉน อนุสัย ๗ คือ ๑. กามราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือกามราคะ) ๒. ปฏิฆานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือปฏิฆะ) ๓. มานานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือมานะ) @เชิงอรรถ : @ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ในที่นี้หมายถึงสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ (อภิ.วิ.อ. ๙๔๘/๕๕๑-๕๕๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๐๕}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

                                                                 ๗. สัตตกนิทเทส

๔. ทิฏฐานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือทิฏฐิ) ๕. วิจิกิจฉานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือวิจิกิจฉา) ๖. ภวราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือภวราคะ) ๗. อวิชชานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคืออวิชชา) เหล่านี้ชื่อว่าอนุสัย ๗ (๑) สังโยชน์ ๗ เป็นไฉน สังโยชน์ ๗ คือ ๑. กามราคสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือกามราคะ) ๒. ปฏิฆสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือปฏิฆะ) ๓. มานสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือมานะ) ๔. ทิฏฐิสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือทิฏฐิ) ๕. วิจิกิจฉาสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือวิจิกิจฉา) ๖. ภวราคสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือภวราคะ) ๗. อวิชชาสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคืออวิชชา) เหล่านี้ชื่อว่าสังโยชน์ ๗ (๒) ปริยุฏฐานะ ๗ เป็นไฉน ปริยุฏฐานะ ๗ คือ ๑. กามปริยุฏฐานะ (กิเลสเป็นเครื่องครอบงำจิตคือกาม) ๒. ปฏิฆปริยุฏฐานะ (กิเลสเป็นเครื่องครอบงำจิตคือปฏิฆะ) ๓. มานปริยุฏฐานะ (กิเลสเป็นเครื่องครอบงำจิตคือมานะ) ๔. ทิฏฐิปริยุฏฐานะ (กิเลสเป็นเครื่องครอบงำจิตคือทิฏฐิ) ๕. วิจิกิจฉาปริยุฏฐานะ (กิเลสเป็นเครื่องครอบงำจิตคือวิจิกิจฉา) ๖. ภวราคปริยุฏฐานะ (กิเลสเป็นเครื่องครอบงำจิตคือภวราคะ) ๗. อวิชชาปริยุฏฐานะ (กิเลสเป็นเครื่องครอบงำจิตคืออวิชชา) เหล่านี้ชื่อว่าปริยุฏฐานะ ๗ (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๐๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๖๐๕-๖๐๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=35&page=605&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=35&A=17148 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=35&A=17148#p605 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 35 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35



จบการแสดงผล หน้าที่ ๖๐๕-๖๐๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]