ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

หน้าที่ ๖๑๐-๖๑๒.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

                                                                 ๘. อัฏฐกนิทเทส

๗. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกับสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่าน ผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตา นี้ไม่ใช่ขาดสูญโดยสิ้นเชิง เพราะเหตุเพียงเท่านี้ ยังมีอัตตาอื่นที่เข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะเสียได้โดย ประการทั้งปวง ท่านยังไม่รู้ไม่เห็น แต่เรารู้เห็น เพราะอัตตานั้นแล หลัง จากตายแล้ว ย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิดอีก เพราะเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงขาดสูญโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติความ ขาดสูญ ความพินาศ และความไม่เกิดอีกของสัตว์อย่างนี้ เหล่านี้ชื่อว่าทิฏฐิ ๗
สัตตกนิทเทส จบ
๘. อัฏฐกนิทเทส
[๙๕๒] บรรดาอัฏฐกมาติกาเหล่านั้น กิเลสวัตถุ ๘ เป็นไฉน กิเลสวัตถุ ๘ คือ ๑. โลภะ (ความโลภ) ๒. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) ๓. โมหะ (ความหลง) ๔. มานะ (ความถือตัว) ๕. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๖. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ๗. ถีนะ (ความหดหู่ท้อแท้) ๘. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) เหล่านี้ชื่อว่ากิเลสวัตถุ ๘ [๙๕๓] กุสีตวัตถุ ๘ เป็นไฉน กุสีตวัตถุ ๘ คือ ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีการงานที่ต้องทำ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้อง ทำการงาน แต่เมื่อเรากำลังทำการงานอยู่จักลำบากกาย เอาละ เรานอนดี กว่า เธอจึงนอน ไม่เริ่มความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ชื่อว่ากุสีตวัตถุข้อที่ ๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๑๐}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

                                                                 ๘. อัฏฐกนิทเทส

๒. ภิกษุทำการงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้ทำการงานแล้ว เมื่อ เรากำลังทำการงานอยู่กายก็ลำบาก เอาละ เรานอนดีกว่า เธอจึงนอน ไม่ เริ่มความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำ ให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ชื่อว่ากุสีตวัตถุข้อที่ ๒ ๓. ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องเดินทางแน่ เมื่อ เรากำลังเดินทางกายจักลำบาก เอาละ เรานอนดีกว่า เธอจึงนอน ไม่เริ่ม ความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำ ให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ชื่อว่ากุสีตวัตถุข้อที่ ๓ ๔. ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้เดินทางแล้วนะ เมื่อ เรากำลังเดินทางอยู่กายก็ลำบาก เอาละ เรานอนดีกว่า เธอจึงนอน ไม่เริ่ม ความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อ ทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ชื่อว่ากุสีตวัตถุข้อที่ ๔ ๕. ภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะหยาบหรือประณีต เพียงพอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวไปบิณฑบาต ยังบ้านหรือนิคมก็ไม่ได้โภชนะหยาบหรือประณีตเพียงพอแก่ความต้องการ กายของเรานั้นเหน็ดเหนื่อย ไม่ควรแก่การงาน เอาละ เรานอนดีกว่า เธอจึง นอน ไม่เริ่มความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ชื่อว่ากุสีตวัตถุข้อที่ ๕ ๖. ภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ได้โภชนะหยาบหรือประณีต เพียงพอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เรานะเที่ยวไป บิณฑบาตยังบ้านหรือนิคมได้โภชนะหยาบหรือประณีตเพียงพอแก่ความ ต้องการแล้ว กายของเราหนัก ไม่ควรแก่การงาน จะเป็นเหมือนถั่วหมัก เอาละ เรานอนดีกว่า เธอจึงนอน ไม่เริ่มความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ชื่อว่า กุสีตวัตถุข้อที่ ๖ ๗. ภิกษุเกิดอาพาธขึ้นเล็กน้อย เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเกิดอาพาธขึ้น เล็กน้อย มีข้ออ้างที่จะนอน เอาละ เรานอนดีกว่า เธอจึงนอน ไม่เริ่มความ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๑๑}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

                                                                 ๘. อัฏฐกนิทเทส

เพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง ธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ชื่อว่ากุสีตวัตถุข้อที่ ๗ ๘. ภิกษุหายไข้แล้วแต่หายยังไม่นาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราหายไข้แล้ว แต่หายยังไม่นาน กายของเรานั้นยังอ่อนเพลีย ไม่ควรแก่การงาน เอาละ เรานอนดีกว่า เธอจึงนอน ไม่เริ่มความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ชื่อว่า กุสีตวัตถุข้อที่ ๘ เหล่านี้ชื่อว่ากุสีตวัตถุ ๘ [๙๕๔] จิตกระทบในโลกธรรม ๘ เป็นไฉน จิตกระทบในโลกธรรม ๘ คือ ๑. ความยินดีในลาภ ๒. ความยินร้ายในความเสื่อมลาภ ๓. ความยินดีในยศ ๔. ความยินร้ายในความเสื่อมยศ ๕. ความยินดีในการสรรเสริญ ๖. ความยินร้ายในการนินทา ๗. ความยินดีในสุข ๘. ความยินร้ายในทุกข์ เหล่านี้ชื่อว่าจิตกระทบในโลกธรรม ๘ เหล่านี้ [๙๕๕] อนริยโวหาร ๘ เป็นไฉน อนริยโวหาร ๘ คือ ๑. เมื่อไม่เห็น พูดว่าเห็น ๒. เมื่อไม่ได้ยิน พูดว่าได้ยิน ๓. เมื่อไม่รู้ พูดว่ารู้ ๔. เมื่อไม่เข้าใจ พูดว่าเข้าใจ ๕. เมื่อเห็น พูดว่าไม่เห็น ๖. เมื่อได้ยิน พูดว่าไม่ได้ยิน ๗. เมื่อรู้ พูดว่าไม่รู้ ๘. เมื่อเข้าใจ พูดว่าไม่เข้าใจ เหล่านี้ชื่อว่าอนริยโวหาร ๘ [๙๕๖] มิจฉัตตะ ๘ เป็นไฉน มิจฉัตตะ ๘ คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๑๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๖๑๐-๖๑๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=35&page=610&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=35&A=17299 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=35&A=17299#p610 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 35 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35



จบการแสดงผล หน้าที่ ๖๑๐-๖๑๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]