ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์

หน้าที่ ๑๕๓-๑๕๔.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๑. เอกกปุคคลบัญญัติ

[๒๒] บุคคลผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ตรัสรู้สัจจะ ๔ ด้วยตนเองในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน บรรลุความเป็นสัพพัญญูในธรรมคือสัจจะ ๔ นั้น และถึงความชำนาญในทศพลญาณ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะ [๒๓] บุคคลผู้เป็นปัจเจกพุทธะ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ตรัสรู้สัจจะ ๔ ด้วยตนเองในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน แต่ไม่บรรลุความเป็นสัพพัญญูในธรรมคือสัจจะ ๔ นั้น และไม่ถึงความชำนาญใน ทศพลญาณ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นปัจเจกพุทธะ [๒๔] บุคคลผู้เป็นอุภโตภาควิมุตตะ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกายอยู่และอาสวะทั้งหลายของเขา ย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นอุภโตภาควิมุตตะ [๒๕] บุคคลผู้เป็นปัญญาวิมุตตะ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกายอยู่ แต่อาสวะทั้งหลาย ของเขาย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นปัญญาวิมุตตะ [๒๖] บุคคลผู้เป็นกายสักขี เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกายอยู่ และอาสวะทั้งหลายของ เขาย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นกายสักขี [๒๗] บุคคลผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อนึ่ง สภาวธรรมที่พระตถาคต ประกาศแล้วเป็นอันเขาเห็นชัดแล้วประพฤติดีแล้วด้วยปัญญา และอาสวะบางอย่าง ของเขาย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ [๒๘] บุคคลผู้เป็นสัทธาวิมุตตะ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อนึ่ง สภาวธรรมที่พระตถาคต ประกาศแล้วเป็นอันเขาเห็นชัดแล้วประพฤติดีแล้วด้วยปัญญา และอาสวะบางอย่าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๕๓}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๑. เอกกปุคคลบัญญัติ

ของเขาย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา แต่ไม่เหมือนผู้ชื่อว่าทิฏฐิปัตตะ บุคคลนี้ เรียกว่า ผู้เป็นสัทธาวิมุตตะ [๒๙] บุคคลผู้เป็นธัมมานุสารี เป็นไฉน ปัญญินทรีย์ของบุคคลใดผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลมีประมาณยิ่ง บุคคลนั้นย่อมเจริญอริยมรรคอันมีปัญญาเป็นตัวนำ มีปัญญาเป็นประธาน บุคคล นี้เรียกว่า ผู้เป็นธัมมานุสารี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลชื่อว่าผู้เป็น ธัมมานุสารี บุคคลผู้ตั้งอยู่ในผลชื่อว่าผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ [๓๐] บุคคลผู้เป็นสัทธานุสารี เป็นไฉน สัทธินทรีย์ของบุคคลใดผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลมีประมาณยิ่ง บุคคลนั้นย่อมเจริญอริยมรรคอันมีศรัทธาเป็นตัวนำ มีศรัทธาเป็นประธาน บุคคล นี้เรียกว่า ผู้เป็นสัทธานุสารี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลชื่อว่าผู้เป็น สัทธานุสารี บุคคลผู้ตั้งอยู่ในผลชื่อว่าผู้เป็นสัทธาวิมุตตะ [๓๑] บุคคลผู้เป็นสัตตักขัตตุปรมะ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เป็นโสดาบัน ไม่มี ทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ๑- ในวันข้างหน้า บุคคลนั้นท่องเที่ยวไป ในเทวโลกและมนุษยโลก ๗ ชาติแล้วจึงจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็น สัตตักขัตตุปรมะ [๓๒] บุคคลผู้เป็นโกลังโกละ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เป็นโสดาบัน ไม่มี ทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า บุคคลนั้นท่องเที่ยวไป ๒ หรือ ๓ ตระกูลแล้วจึงจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นโกลังโกละ [๓๓] บุคคลผู้เป็นเอกพีชี เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เป็นโสดาบัน ไม่มี ทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า บุคคลนั้นเกิดเป็น มนุษย์ภพเดียวเท่านั้นก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นเอกพีชี @เชิงอรรถ : @ สัมโพธิ ในที่นี้หมายถึงมรรคเบื้องสูง ๓ (คือ สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค) @(สารตฺถ.ฏีกา ๑/๒๑/๕๕๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๕๔}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๖ หน้าที่ ๑๕๓-๑๕๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=36&page=153&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=36&A=4133 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=36&A=4133#p153 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 36 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_36 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu36 https://84000.org/tipitaka/english/?index_36



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๕๓-๑๕๔.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]