ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

หน้าที่ ๑๓๘-๑๓๙.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๒. ปริหานิกถา

๓. สุตตสาธนปริหานิ
ว่าด้วยการอ้างพระสูตรในเรื่องความเสื่อม
[๒๖๕] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ปฏิปทาที่พระสมณะประกาศแล้วมีทั้งสูงและต่ำ มุนีผู้ปฏิบัติจะไปถึงฝั่งถึง ๒ ครั้งหามิได้ ฝั่งนี้ผู้ปฏิบัติรู้ได้ครั้งเดียวก็หามิได้”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้” สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กิเลสวัฏที่พระอรหันต์ตัดได้แล้วยังมีบางอย่างที่ยังจะต้องตัดอีกใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. กิเลสวัฏที่พระอรหันต์ตัดได้แล้วยังมีบางอย่างที่ยังจะต้องตัดอีกใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๗๒๐/๖๗๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๓๘}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๒. ปริหานิกถา

“ท่านเป็นผู้ไม่มีตัณหา ไม่มีความถือมั่น ไม่มีกิจที่ต้องทำ กิเลสวัฏท่านตัดแล้ว ไม่มีที่จะต้องตัดอีก ห้วงน้ำและบ่วง๑- ท่านถอนได้แล้ว” มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “กิเลสวัฏที่พระอรหันต์ตัดแล้ว ยังมี บางอย่างที่ยังจะต้องตัดอีก” [๒๖๖] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กิจ๒- ที่ทำแล้วต้องสั่งสมอีกใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. กิจที่ทำแล้วต้องสั่งสมอีกใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุผู้มีจิตสงบระงับหลุดพ้นโดยชอบ ย่อมไม่มีการสั่งสมกิจที่ทำแล้ว ทั้งไม่มีกิจที่จะต้องทำอีก ภูเขาหินแท่งทึบย่อมไม่สะเทือนเพราะลม ฉันใด รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ทั้งมวล ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์ ย่อมทำจิตของผู้คงที่ให้หวั่นไหวไม่ได้ ฉันนั้น @เชิงอรรถ : @ ห้วงน้ำและบ่วง คำว่า ห้วงน้ำ ในที่นี้หมายถึงห้วงน้ำคือกิเลส (กิเลโสโฆ) และคำว่า บ่วง หมายถึงบ่วงแห่งกิเลส @(กิเลสปาโส) (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๖๕/๑๖๕) @ กิจ ในที่นี้หมายถึงภาวนา (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๖๖/๑๖๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๓๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๑๓๘-๑๓๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=37&page=138&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=37&A=3834 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=37&A=3834#p138 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 37 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_37 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37 https://84000.org/tipitaka/english/?index_37



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๓๘-๑๓๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]