ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

หน้าที่ ๑๕๐-๑๕๔.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๓. (ก) พรหมจริยากถา

สก. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายอุบัติในมัชฌิมชนบท ในมัชฌิมชนบท นั้นเท่านั้นจึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่อื่นไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. คู่พระอัครสาวกไม่อุบัติในหมู่เทวดา เพราะเหตุนั้น ในหมู่เทวดาจึงไม่มี การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในที่ที่คู่พระอัครสาวกอุบัติเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่ที่คู่พระอัครสาวกไม่อุบัติ ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในที่ที่คู่พระอัครสาวกอุบัติเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่ที่คู่พระอัครสาวกไม่อุบัติ ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในมคธรัฐซึ่งเป็นที่อุบัติของคู่พระอัครสาวกเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ ในที่อื่นไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๗๑] ปร. ในหมู่เทวดามีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ในหมู่เทวดาทั้งปวงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑- ฯลฯ สก. ในหมู่มนุษย์มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ เพราะมีความเห็นว่า มีเทวดาจำพวกหนึ่งคือ อสัญญีสัตว์ประพฤติพรหมจรรย์ไม่ได้ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๗๐/๑๖๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๕๐}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๓. (ก) พรหมจริยากถา

สก. ในหมู่มนุษย์ทั้งปวงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑- ฯลฯ ปร. ในหมู่เทวดามีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ในหมู่อสัญญสัตตพรหมมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในหมู่มนุษย์มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในชาวปัจจันตชนบทที่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาไปไม่ถึง และในพวกมิลักขะ๒- ผู้ไม่รู้เดียงสา มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ในหมู่เทวดามีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม สก. ที่มีก็มี ที่ไม่มีก็มี ปร. ในหมู่อสัญญสัตตพรหมที่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มี ที่ไม่มีการ อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มี และในหมู่สัญญสัตตพรหมที่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ก็มี ที่ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มีใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ในหมู่เทวดาที่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มี ที่ไม่มีการอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ก็มีใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ที่ไหนมี ที่ไหนไม่มี @เชิงอรรถ : @ เพราะมีความเห็นว่า มีมนุษย์พวกหนึ่งซึ่งอยู่ในปัจจันตชนบท(ห่างไกลไม่มีภิกษุสงฆ์)ไม่มีการประพฤติ @พรหมจรรย์ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๗๑/๑๖๖) @ มิลักขะ หมายถึงคนป่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๕๑}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๓. (ก) พรหมจริยากถา

สก. ในหมู่อสัญญสัตตพรหมไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ในหมู่ สัญญสัตตพรหมมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ปร. ในหมู่อสัญญสัตตพรหมไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ในหมู่สัญญสัตตพรหมไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ในหมู่สัญญสัตตพรหมมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ในหมู่อสัญญสัตตพรหมมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในหมู่มนุษย์มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ที่มีก็มี ที่ไม่มีก็มี สก. ในชาวปัจจันตชนบทที่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาไปไม่ถึง และในพวกมิลักขะผู้ไม่รู้เดียงสา มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มี ไม่มีก็มี ใน ชาวมัชฌิมชนบทมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มี ไม่มีก็มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในหมู่มนุษย์มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มี ไม่มีก็มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ที่ไหนมี ที่ไหนไม่มี ปร. ในชาวปัจจันตชนบทที่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาไปไม่ถึง และในพวกมิลักขะผู้ไม่รู้เดียงสา ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในชาวมัชฌิม ชนบทมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๕๒}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๓. (ก) พรหมจริยากถา

สก. ในชาวปัจจันตชนบทที่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาไปไม่ถึง และในพวกมิลักขะผู้ไม่รู้เดียงสา ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในชาวมัชฌิมชนบทไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. ในชาวมัชฌิมชนบทมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในชาวปัจจันตชนบทที่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาไปไม่ถึง และในพวกมิลักขะผู้ไม่รู้เดียงสา มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ในหมู่เทวดามีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวชมพู ทวีป เหนือกว่ามนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและเทวดาชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ ๓ ประการ คือ (๑) เป็นผู้แกล้วกล้า (๒) เป็นผู้มีสติ (๓) เป็นผู้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใน ชมพูทวีปนี้”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น ในหมู่เทวดาจึงไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ สก. พระผู้มีพระภาคตรัสที่กรุงสาวัตถีว่า ณ ที่นี้ มีการอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๒๑/๔๗๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๕๓}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๓. (ก) พรหมจริยากถา

สก. การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ มีแต่ในกรุงสาวัตถีเท่านั้น ในที่อื่นไม่มี ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น [๒๗๒] สก. อนาคามีบุคคลละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการได้แล้ว แต่ยังละ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ประการไม่ได้ เมื่อจุติจากโลกนี้แล้วไปปฏิสนธิในชั้นสุทธาวาสนั้น อรหัตตผลเกิดขึ้นได้ ณ ที่ไหน ปร. ในชั้นสุทธาวาสนั้นนั่นเอง สก. หากอนาคามีบุคคลละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการได้แล้ว แต่ยังละ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ประการไม่ได้ เมื่อจุติจากโลกนี้แล้วไปปฏิสนธิในชั้นสุทธาวาสนั้น อรหัตตผลเกิดขึ้นได้ในที่นั้น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ในหมู่เทวดาไม่มีการ อยู่ ประพฤติพรหมจรรย์” สก. อนาคามีบุคคลละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการได้แล้ว แต่ยังละสังโยชน์ เบื้องสูง ๕ ประการไม่ได้ เมื่อจุติจากโลกนี้แล้วไปปฏิสนธิในชั้นสุทธาวาสนั้น การปลงภาระ การกำหนดรู้ทุกข์ การละกิเลส การทำให้แจ้งนิโรธ การแทงตลอด อกุปปธรรมมี ณ ที่ไหน ปร. ในชั้นสุทธาวาสนั้นนั่นเอง สก. หากอนาคามีบุคคลละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการได้แล้ว แต่ยังละ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ประการไม่ได้ เมื่อจุติจากโลกนี้แล้วไปปฏิสนธิในชั้นสุทธาวาสนั้น การแทงตลอดอกุปปธรรมมีในที่นั้น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ในหมู่เทวดาไม่มี การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์” สก. อนาคามีบุคคลละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการได้แล้ว แต่ยังละสังโยชน์ เบื้องสูง ๕ ประการไม่ได้ เมื่อจุติจากโลกนี้แล้วไปปฏิสนธิในชั้นสุทธาวาสนั้น การเกิดขึ้นแห่งอรหัตตผล การปลงภาระ การกำหนดรู้ทุกข์ การละกิเลส การ ทำให้แจ้งนิโรธ การแทงตลอดอกุปปธรรมก็มีในที่นั้น เพราะเหตุไร ท่านจึงยอมรับว่า “ในหมู่เทวดาไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์” ปร. เพราะว่า อนาคามีบุคคลทำให้แจ้งผลได้ในชั้นสุทธาวาสนั้นด้วยมรรคที่ ตนได้เจริญแล้วในโลกนี้
สุทธพรหมจริยกถา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๕๔}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๑๕๐-๑๕๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=37&page=150&pages=5&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=37&A=4153 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=37&A=4153#p150 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 37 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_37 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37 https://84000.org/tipitaka/english/?index_37



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๕๐-๑๕๔.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]