ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

หน้าที่ ๙๒๑-๙๒๒.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค]

                                                                 ๘. กัมมกถา (๒๐๗)

สก. กอง(แห่งสภาวธรรม)ที่ไม่แน่นอนไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กอง(แห่งสภาวธรรม)ที่ไม่แน่นอนมีอยู่มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากกอง(แห่งสภาวธรรม)ที่ไม่แน่นอนมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “กรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอน” สก. กรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอนใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กอง(แห่งสภาวธรรม)พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๓ อย่าง คือ (๑) กอง ที่ผิดและแน่นอน (๒) กองที่ถูกและแน่นอน (๓) กองที่ไม่แน่นอน มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากกอง(แห่งสภาวธรรม)พระผู้มีพระภาคตรัสกองไว้ ๓ อย่าง คือ (๑) กองที่ผิดและแน่นอน (๒) กองที่ถูกและแน่นอน (๓) กองที่ไม่แน่นอน ท่านก็ไม่ ควรยอมรับว่า “กรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอน” [๘๙๐] สก. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมเป็นสภาวะที่แน่นอนโดยอรรถว่าเป็นกรรม อันบุคคลพึงเสวยในปัจจุบันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมนั้นเป็นสภาวะที่ผิดและแน่นอนใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เป็นสภาวะที่ถูกและแน่นอนใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อุปปัชชเวทนียกรรม ฯลฯ อปราปริยเวทนียกรรม เป็นสภาวะที่แน่นอน โดยอรรถว่าเป็นกรรมอันบุคคลพึงเสวยในอัตภาพต่อๆ ไปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อปราปริยเวทนียกรรมนั้นเป็นสภาวะที่ผิดและให้ผลแน่นอนใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๙๒๑}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค]

                                                                 รวมกถาที่มีในวรรค

สก. เป็นสภาวะที่ถูกและให้ผลแน่นอนใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๘๙๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมเป็นสภาวะที่แน่นอน โดยอรรถว่าเป็นกรรมอันบุคคลพึงเสวยในปัจจุบัน อุปปัชชเวทนียกรรม ฯลฯ อปราปริยเวทนียกรรมเป็นสภาวะที่แน่นอน โดยอรรถว่าเป็นกรรมอันบุคคลพึง เสวยในอัตภาพต่อๆ ไป” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมเป็นอุปปัชชเวทนียกรรม เป็นอปราปริยเวทนีย- กรรม ฯลฯ อุปปัชชเวทนียกรรมเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม เป็นอปราปริย- เวทนียกรรม ฯลฯ อปราปริยเวทนียกรรมเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม เป็น อุปปัชชเวทนียกรรมใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ปร. ดังนั้น ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมจึงเป็นสภาวะที่แน่นอน โดยอรรถว่า เป็นกรรมอันบุคคลพึงเสวยในปัจจุบัน อุปปัชชเวทนียกรรม ฯลฯ อปราปริย- เวทนียกรรมเป็นสภาวะที่แน่นอน โดยอรรถว่าเป็นกรรมอันบุคคลพึงเสวยใน อัตภาพต่อๆ ไป
กัมมกถา จบ
เอกวีสติมวรรค จบ
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สาสนกถา ๒. อวิวิตตกถา ๓. สัญโญชนกถา ๔. อิทธิกถา ๕. พุทธกถา ๖. สัพพทิสากถา ๗. ธัมมกถา ๘. กัมมกถา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๙๒๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๙๒๑-๙๒๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=37&page=921&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=37&A=25134 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=37&A=25134#p921 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 37 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_37 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37 https://84000.org/tipitaka/english/?index_37



จบการแสดงผล หน้าที่ ๙๒๑-๙๒๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]