ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๒

หน้าที่ ๑๒-๑๓.


                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๕. จัมมขันธกะ]

                                                                 ๑๔๗. โสณโกฬิวิสวัตถุ

ของภิกษุนั้นได้เลย จิตของภิกษุนั้นไม่ถูกอารมณ์ครอบงำ เป็นธรรมชาติมั่นคงหนัก แน่น และภิกษุนั้นก็พิจารณาเห็นความเกิดดับของจิตนั้น ถ้าสัททารมณ์ที่รุนแรงอันจะพึงรับรู้ทางหู ... ถ้าคันธารมณ์ที่รุนแรงอันจะพึงรับรู้ทางจมูก ... ถ้ารสารมณ์ที่รุนแรงอันจะพึงรับรู้ทางลิ้น ... ถ้าโผฏฐัพพารมณ์ที่รุนแรงอันจะพึงรับรู้ทางกาย ... ถ้าธรรมารมณ์ที่รุนแรงอันจะพึงรับรู้ทางใจ มาปรากฏทางใจของภิกษุผู้มีจิต หลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ ธรรมารมณ์เหล่านั้นย่อมไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้น ได้เลย จิตของภิกษุนั้นไม่ถูกอารมณ์ครอบงำ เป็นธรรมชาติมั่นคงหนักแน่น และ ภิกษุนั้นก็พิจารณาเห็นความ(เกิด)ดับของจิตนั้น (ฉันนั้นเหมือนกันแล)
นิคมคาถา
จิตของพระขีณาสพผู้น้อมไปในเนกขัมมะ น้อมไปในปวิเวก น้อมไปในความไม่เบียดเบียน น้อมไปในความสิ้นอุปาทาน น้อมไปในความสิ้นตัณหา และน้อมไปในความไม่ลุ่มหลง๑- ย่อมหลุดพ้นโดยชอบ เพราะเห็นความเกิดแห่งอายตนะ๒- ภิกษุผู้มีจิตสงบระงับหลุดพ้นโดยชอบ ย่อมไม่มีการสั่งสมกิจที่ทำแล้ว ทั้งไม่มีกิจที่จะต้องทำอีก ภูเขาหินแท่งทึบย่อมไม่สะเทือนเพราะลม ฉันใด รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ทั้งมวล @เชิงอรรถ : @ ฐานะ ๖ มีเนกขัมมะเป็นต้น หมายถึงพระอรหัตตผล (วิ.อ. ๓/๒๔๔/๑๖๕, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๔๓/๓๕๕) @ส่วนในเถรคาถาอรรถกถากล่าวอธิบายโดยประการอื่น (ขุ.เถร.อ. ๒/๖๔๐-๖๔๑/๒๕๘-๒๖๓) @ ความเกิดและความดับแห่งอายตนะทั้งหลาย (วิ.อ. ๓/๒๔๓-๒๔๔/๑๖๕, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๔๔/๓๕๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๒}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๕. จัมมขันธกะ]

                                                                 ๑๔๘. ทิคุณาทิอุปาหนปฏิกเขปะ

ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ ย่อมทำจิตของผู้คงที่ให้หวั่นไหวมิได้ ฉันนั้น จิตของผู้คงที่นั้น เป็นจิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ไม่เกาะเกี่ยวด้วยอารมณ์อะไร เพราะท่านผู้คงที่ พิจารณาเห็นความเกิดดับของจิตนั้น๑-
๑๔๘. ทิคุณาทิอุปาหนปฏิกเขปะ
ว่าด้วยทรงห้ามใช้รองเท้า ๒ ชั้นเป็นต้น
[๒๔๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรทั้งหลายกล่าวพยากรณ์อรหัตตผลอย่างนี้ ชื่อว่ากล่าวแต่เนื้อความและมิได้ น้อมตนเข้าไป๒- แต่โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้เห็นเป็นของสนุก กล่าวพยากรณ์ อรหัตตผล ภายหลัง จึงเดือดร้อน” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับท่านพระโสณะว่า “โสณะ เธอเป็นคน สุขุมาลชาติ เราอนุญาตรองเท้าชั้นเดียวแก่เธอ” ท่านพระโสณะกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ละทิ้งเงินถึง ๘๐ เล่มเกวียนและ กองคาราวานประกอบด้วยช้าง ๗ เชือก ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อเป็นอย่างนี้ ถ้าข้าพระองค์จะใช้รองเท้าชั้นเดียวก็จะมีคนกล่าวว่า พระโสณโกฬิวิสะละทิ้งเงินถึง ๘๐ เล่มเกวียนและกองคาราวานประกอบด้วยช้าง ๗ เชือก ออกบวชเป็นบรรพชิต เวลานี้ท่านพระโสณะนั้นยังข้องอยู่ในเรื่องรองเท้าชั้นเดียว ถ้าพระผู้มีพระภาคทรง อนุญาตภิกษุสงฆ์ แม้ข้าพระองค์ก็จะใช้สอย ถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาต ภิกษุสงฆ์ แม้ข้าพระองค์ก็จะไม่ใช้สอย พระพุทธเจ้าข้า” @เชิงอรรถ : @ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๕๕/๕๓๘-๕๓๙, ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๖๔๐-๖๔๔/๔๕๐ @ มิได้น้อมตนเข้าไปด้วยการแสดงให้ปรากฏว่า เราเป็นพระอรหันต์ (วิ.อ. ๓/๒๔๕/๑๖๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๓}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๑๒-๑๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=5&page=12&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=5&A=301 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=5&A=301#p12 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 5 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_5 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5 https://84000.org/tipitaka/english/?index_5



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๒-๑๓.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]