ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๒

หน้าที่ ๓๖๒-๓๖๓.


                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ]

                                                                 ๒๗๖. อัฏฐารสวัตถุกถา

๒๗๖. อัฏฐารสวัตถุกถา
ว่าด้วยเรื่องที่ก่อให้เกิดความแตกแยก ๑๘ ประการ
เรื่องทรงแสดงเหตุแห่งความแตกแยก
แก่ท่านพระสารีบุตร ณ กรุงสาวัตถี
[๔๖๘] ต่อมา พวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพีเก็บเสนาสนะแล้วถือบาตรและจีวร พากันเดินทางไปกรุงสาวัตถี ท่านพระสารีบุตรได้ทราบข่าวว่า “พวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพีผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้นกำลัง เดินทางมาสู่กรุงสาวัตถี” จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาคแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ทราบว่าพวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพีผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความ ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้นกำลังเดินทางมา สู่กรุงสาวัตถี ข้าพระองค์จะปฏิบัติต่อพวกเธออย่างไร พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “สารีบุตร เธอจงวางตนอยู่อย่างชอบธรรมเถิด” ท่านพระสารีบุตรกราบทูลถามว่า “ข้าพระองค์จะพึงรู้ได้อย่างไรว่า ชอบธรรม หรือไม่ชอบธรรม พระพุทธเจ้าข้า”
ลักษณะของภิกษุผู้เป็นอธรรมวาที ๑๘ อย่าง๑-
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “สารีบุตร เธอพึงรู้จักอธรรมวาทีภิกษุด้วยวัตถุ ๑๘ ประการ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. แสดงอธรรมว่า เป็นธรรม ๒. แสดงธรรมว่า เป็นอธรรม @เชิงอรรถ : @ วิ.จู. ๗/๓๕๒/๑๔๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๖๒}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ]

                                                                 ๒๗๖. อัฏฐารสวัตถุกถา

๓. แสดงสิ่งมิใช่วินัยว่า เป็นวินัย ๔. แสดงวินัยว่า มิใช่วินัย ๕. แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้ว่า ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้ ๖. แสดงสิ่งที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้ว่า ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้ ๗. แสดงจริยาวัตรที่ตถาคตไม่ได้ประพฤติมาว่าตถาคตได้ประพฤติมา ๘. แสดงจริยาวัตรที่ตถาคตประพฤติมาว่าตถาคตไม่ได้ประพฤติมา ๙. แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่าตถาคตได้บัญญัติไว้ ๑๐. แสดงสิ่งที่ตถาคตได้บัญญัติไว้ว่าตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ ๑๑. แสดงอนาบัติว่าเป็นอาบัติ ๑๒. แสดงอาบัติว่าเป็นอนาบัติ ๑๓. แสดงอาบัติเบาว่าเป็นอาบัติหนัก ๑๔. แสดงอาบัติหนักว่าเป็นอาบัติเบา ๑๕. แสดงอาบัติที่มีส่วนเหลือว่าเป็นอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ ๑๖. แสดงอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือว่าเป็นอาบัติที่มีส่วนเหลือ ๑๗. แสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑๘. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ สารีบุตร เธอพึงรู้จักอธรรมวาทีภิกษุด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้แล
ลักษณะของภิกษุผู้เป็นธรรมวาที ๑๘ อย่าง
สารีบุตร เธอพึงรู้จักธรรมวาทีภิกษุด้วยวัตถุ ๑๘ ประการ คือ ภิกษุในธรรม วินัยนี้ ๑. แสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม ๒. แสดงธรรมว่าเป็นธรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๖๓}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๓๖๒-๓๖๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=5&page=362&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=5&A=9671 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=5&A=9671#p362 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 5 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_5 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5 https://84000.org/tipitaka/english/?index_5



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๖๒-๓๖๓.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]