ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๑

หน้าที่ ๓๓๐-๓๓๒.


                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

                                                                 ๘. อธิกรณะ

และเพื่อประโยชน์แก่ตน ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแสดงอาบัติเหล่านี้ของพวกเราใน ท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง อาบัติเหล่านี้ของพวกเรา เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ ข้าพเจ้าแสดงแล้วในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้” ภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ออกแล้วจากอาบัติ เหล่านั้น เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เว้นผู้แสดงความ เห็น เว้นผู้ไม่ได้อยู่ในที่นั้น
ติณวัตถารกะ จบ
๘. อธิกรณะ
ว่าด้วยอธิกรณ์ ๔ อย่าง
เรื่องภิกษุและภิกษุณีวิวาทกัน
[๒๑๕] สมัยนั้น พวกภิกษุวิวาทกับพวกภิกษุณีบ้าง พวกภิกษุณีวิวาทกับ พวกภิกษุบ้าง ฝ่ายพระฉันนะเข้าข้างพวกภิกษุณีแล้ววิวาทกับพวกภิกษุชักชวนพวกภิกษุ ให้ไปเข้าข้างภิกษุณี บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน พระฉันนะจึงได้เข้าข้างพวกภิกษุณี แล้ววิวาทกับพวกภิกษุชักชวนพวกภิกษุให้ไป เข้าข้างภิกษุณีเล่า” แล้วได้นำเรื่องนี้ไปกราบ ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุฉันนะเข้าข้าง พวกภิกษุณีแล้ววิวาทกับพวกภิกษุชักชวนพวกภิกษุให้ไปเข้าข้างภิกษุณี จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๓๐}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

                                                                 ๘. อธิกรณะ

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรง แสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย อธิกรณ์มี ๔ นี้ คือ ๑. วิวาทาธิกรณ์ ๒. อนุวาทาธิกรณ์ ๓. อาปัตตาธิกรณ์ ๔. กิจจาธิกรณ์
๑. วิวาทาธิกรณ์
ในอธิกรณ์ ๔ อย่างนั้น วิวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลาย ย่อมวิวาทกันว่า ๑. นี้ธรรม นี้อธรรม ๒. นี้วินัย นี้มิใช่วินัย ๓. นี้ตถาคตภาษิตไว้ ตรัสไว้ นี้ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้ตรัสไว้ ๔. นี้จริยาวัตรที่ตถาคตได้ประพฤติมา นี้จริยาวัตรที่ตถาคตไม่ได้ประพฤติมา ๕. นี้ตถาคตบัญญัติไว้ นี้ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ ๖. นี้อาบัติ นี้อนาบัติ ๗. นี้อาบัติเบา นี้อาบัติหนัก ๘. นี้อาบัติมีส่วนเหลือ นี้อาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๙. นี้อาบัติชั่วหยาบ นี้อาบัติไม่ชั่วหยาบ ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความกล่าวต่างกัน ความกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจ การด่าทอในเรื่องนั้นใด นี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์
๒. อนุวาทาธิกรณ์
ในอธิกรณ์ ๔ อย่างนั้น อนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลาย ย่อมโจทภิกษุด้วยสีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๓๑}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

                                                                 ๘. อธิกรณะ

การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำความอุตสาหะโจท การตามเพิ่มกำลังให้ ในเรื่องนั้น อันใด นี้เรียกว่าอนุวาทาธิกรณ์
๓. อาปัตตาธิกรณ์
ในอธิกรณ์ ๔ อย่างนั้น อาปัตตาธิกรณ์ เป็นไฉน อาบัติทั้ง ๕ กอง ชื่ออาปัตตาธิกรณ์ อาบัติทั้ง ๗ กอง ชื่ออาปัตตาธิกรณ์ นี้เรียกว่าอาปัตตาธิกรณ์
๔. กิจจาธิกรณ์
ในอธิกรณ์ ๔ อย่างนั้น กิจจาธิกรณ์ เป็นไฉน ความเป็นหน้าที่ ความเป็นกรณีย์แห่งสงฆ์ใด คือ (๑) อปโลกนกรรม (๒) ญัตติ- กรรม (๓) ญัตติทุติยกรรม (๔) ญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่า กิจจาธิกรณ์
อธิกรณ์ ๔ อย่าง จบ
มูลแห่งวิวาทาธิกรณ์
[๒๑๖] อะไรเป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ มูลเหตุแห่งวิวาท ๖ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ อกุศลมูลทั้ง ๓ เป็นมูลแห่ง วิวาทาธิกรณ์ กุศลมูลทั้ง ๓ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์
วิวาทมูล ๖ ๑-
มูลเหตุแห่งวิวาท ๖ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ อะไรบ้าง ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ @เชิงอรรถ : @ วิ.ป. ๘/๒๗๒/๒๐๗, องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๓๖/๔๘๔-๔๘๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๓๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๖ หน้าที่ ๓๓๐-๓๓๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=6&page=330&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=6&A=8724 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=6&A=8724#p330 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 6 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_6 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu6 https://84000.org/tipitaka/english/?index_6



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๓๐-๓๓๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]