ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒

หน้าที่ ๒๒๒-๒๔๖.


                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๘. วัตตขันธกะ]

                                                                 ๑. อาคันตุกวัตตกถา

๘. วัตตขันธกะ
๑. อาคันตุกวัตตกถา
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติของภิกษุผู้จรมา
[๓๕๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุอาคันตุกะสวมรองเท้าเข้าสู่ อารามบ้าง กั้นร่มเข้าสู่อารามบ้าง คลุมศีรษะเข้าสู่อารามบ้าง พาดจีวรบนศีรษะเข้า สู่อารามบ้าง ใช้น้ำดื่มล้างเท้าบ้าง ไม่ยอมไหว้ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสผู้แก่พรรษา กว่าบ้าง ไม่ต้อนรับด้วยเสนาสนะบ้าง ภิกษุอาคันตุกะรูปหนึ่ง ถอดลิ่มวิหารที่ไม่มีคนอยู่แล้วผลักบานประตูเข้าไปอย่าง รวดเร็ว งูตกจากเบื้องบนลงมาที่คอของภิกษุนั้น ท่านตกใจกลัวร้องขึ้นสุดเสียง ภิกษุ ทั้งหลายรีบเข้าไปถามภิกษุนั้นดังนี้ว่า “ท่าน ท่านร้องทำไม” ภิกษุนั้นจึงบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ อาคันตุกะทั้งหลายจึงสวมรองเท้าเข้าสู่อารามบ้าง กั้นร่มเข้าสู่อารามบ้าง คลุมศีรษะเข้า สู่อารามบ้าง พาดจีวรบนศีรษะเข้าสู่อารามบ้าง ใช้น้ำดื่มล้างเท้าบ้าง ไม่ยอมไหว้ ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสผู้แก่พรรษากว่าบ้าง ไม่ต้อนรับด้วยเสนาสนะบ้างเล่า” ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าภิกษุ อาคันตุกะทั้งหลายสวมรองเท้าเข้าสู่อารามบ้าง กั้นร่มเข้าสู่อารามบ้าง คลุมศีรษะเข้า สู่อารามบ้าง พาดจีวรบนศีรษะเข้าสู่อารามบ้าง ใช้น้ำดื่มล้างเท้าบ้าง ไม่ยอมไหว้ภิกษุ ผู้อยู่ประจำในอาวาสผู้แก่พรรษากว่าบ้าง ไม่ถามถึงเสนาสนะบ้าง จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๒๒}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๘. วัตตขันธกะ]

                                                                 ๑. อาคันตุกวัตตกถา

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุอาคันตุกะ ทั้งหลายจึงสวมรองเท้าเข้าสู่อารามบ้าง กั้นร่มเข้าสู่อารามบ้าง คลุมศีรษะเข้าสู่อาราม บ้าง พาดจีวรบนศีรษะเข้าสู่อารามบ้าง ใช้น้ำดื่มล้างเท้าบ้าง ไม่ยอมไหว้ภิกษุผู้อยู่ ประจำในอาวาสผู้แก่พรรษากว่าบ้าง ไม่ถามถึงเสนาสนะบ้างเล่า ภิกษุทั้งหลาย การ กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า [๓๕๗] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรแก่ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลาย โดยที่ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายจะต้องประพฤติชอบ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาคันตุกะคิดว่า “เราจะเข้าไปสู่อารามเดี๋ยวนี้” พึงถอด รองเท้าเคาะแล้วถือไปอย่างระมัดระวัง ลดร่ม เปิดศีรษะ ลดจีวรบนศีรษะลงบนบ่า ไม่ต้องรีบร้อนเข้าสู่อารามตามปกติ เมื่อเข้าสู่อารามก็พึงสังเกตว่า “ภิกษุผู้อยู่ประจำ ในอาวาสทั้งหลายประชุมกันที่ไหน” พึงไปที่ที่ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสประชุมกัน ไม่ว่าจะเป็นโรงฉัน มณฑปหรือโคนไม้ แล้วเก็บบาตรไว้ ณ ที่สมควร เก็บจีวรไว้ ณ ที่สมควร จองอาสนะที่เหมาะสมแล้วนั่ง ถามถึงน้ำดื่มน้ำใช้ว่า “อย่างไหนน้ำดื่ม อย่างไหนน้ำใช้” ถ้าต้องการน้ำดื่มก็ตักมาดื่ม ถ้าต้องการน้ำใช้ก็ตักมาล้างเท้า เมื่อ จะล้างเท้า ควรใช้มือข้างหนึ่งรดน้ำ มืออีกข้างหนึ่งล้างเท้า ไม่พึงใช้มือข้างที่รดน้ำล้าง เท้า ถามถึงผ้าเช็ดรองเท้าแล้วเช็ดรองเท้า เมื่อจะเช็ดรองเท้า พึงใช้ผ้าแห้งเช็ดก่อน ใช้ผ้าเปียกเช็ดทีหลัง พึงซักผ้าเช็ดรองเท้าบิดแล้วผึ่งไว้ ณ ที่สมควร ถ้าภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสแก่พรรษา พึงอภิวาท ถ้าเป็นพระนวกะ พึงให้ ท่านอภิวาท ถามถึงเสนาสนะว่า “ผมได้เสนาสนะแห่งไหน” ถามถึงเสนาสนะที่มีภิกษุ หรือที่ไม่มีภิกษุอยู่ ถามถึงโคจรคามและอโคจรคาม ถามถึงตระกูลที่เป็นเสกขสมมติ๑- @เชิงอรรถ : @ ตระกูลเสกขสมมติ คือ ตระกูลที่มีศรัทธามาก ให้ทานวัตถุมากจนหมดทุนทรัพย์ เพื่อไม่ให้ตระกูลเช่นนี้ @เดือดร้อนจากการถวายสิ่งของแก่ภิกษุสงฆ์ หรือเพื่อไม่ให้ภิกษุสงฆ์รบกวนตระกูลเช่นนี้ สงฆ์จึงประกาศ @สมมติ(แต่งตั้ง)ตระกูลเช่นนี้ให้เป็น “เสกขสมมติ” (ดู วิ.อ. ๒/๕๖๒/๔๔๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๒๓}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๘. วัตตขันธกะ]

                                                                 ๑. อาคันตุกวัตตกถา

ถามถึงวัจกุฎี ถามถึงน้ำดื่มและน้ำใช้ ถามถึงไม้เท้า ถามถึงกติกาสงฆ์ที่ตั้งไว้ว่า “ควรเข้าเวลาไหน ควรออกเวลาไหน” ถ้าวิหารไม่มีภิกษุอยู่ก็พึงเคาะประตูรอสัก ครู่หนึ่งแล้วถอดลิ่มผลักบานประตู ยืนอยู่ข้างนอกมองดูให้ทั่ว ถ้าวิหารรก มีเตียงวางซ้อนเตียงหรือตั่งวางซ้อนตั่ง เสนาสนะมีละอองจับเบื้องบน ถ้าสามารถ ก็พึงชำระให้สะอาด เมื่อจะชำระวิหารให้สะอาด พึงขนเครื่องลาดพื้น ออกไปวางไว้ ณ ที่สมควร เขียงรองเตียง ฟูก หมอน ผ้ารองนั่งและผ้าปูนอน พึงขน ออกไปวางไว้ ณ ที่สมควร เตียง ตั่ง พึงยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบ บานประตูและกรอบประตู ขนออกไปตั้งไว้ ณ ที่สมควร เขียงรองเตียง กระโถน พนักพิง พึงขนออกมาวางไว้ ณ ที่สมควร พรมปูพื้น พึงสังเกตที่ปูไว้เดิม ค่อยขน ออกมาวาง ณ ที่สมควร ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดเพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่างและมุมห้อง พึงเช็ด ถ้าฝาที่ทาสีเหลืองหรือพื้นทาสีดำขึ้นรา พึงใช้ผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ด ถ้าเป็นพื้นไม่ได้ทา พึงใช้น้ำประพรมแล้วเช็ด อย่าให้วิหารคลาคล่ำด้วยฝุ่นละออง พึงเก็บหยากเยื่อไปทิ้ง ณ ที่สมควร พรมปูพื้น พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับปูไว้ตามเดิม เขียงรองเตียง พึงผึ่ง แดด เช็ด ขนกลับวางไว้ตามเดิม เตียง ตั่ง พึงผึ่งแดด ชำระ ปัด ยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบ บานประตูและกรอบประตู ขนกลับตั้งไว้ตามเดิม ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับวางปูไว้ตามเดิม กระโถน พนักพิง พึงผึ่งแดด เช็ดถู ขนกลับวางไว้ตามเดิม พึงเก็บบาตรและจีวร เมื่อจะเก็บบาตร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือบาตร ใช้มือข้าง หนึ่งคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง จึงเก็บบาตร ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง เมื่อ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๒๔}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๘. วัตตขันธกะ]

                                                                 ๒. อาวาสิกวัตตกถา

จะเก็บจีวร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือจีวร ใช้มือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง เอา ชายไว้นอก เอาขนดไว้ใน จึงเก็บจีวร ถ้าลมเจือฝุ่นละอองพัดมาทางทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันออก ถ้าพัดมาทางทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก ถ้าพัดมาทางทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ ถ้าพัดมาทางทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้ ถ้าเป็นฤดูหนาว พึงเปิดหน้าต่างกลางวัน ปิดกลางคืน ถ้าเป็นฤดูร้อน พึงปิดหน้าต่างกลางวัน เปิดกลางคืน ถ้าบริเวณ ซุ้ม โรงฉัน โรงไฟ วัจกุฎี รก พึงปัดกวาด ถ้าน้ำฉันน้ำใช้ไม่มี พึงจัดเตรียมไว้ ถ้าหม้อชำระไม่มีน้ำ พึงตักน้ำใส่หม้อชำระ ภิกษุทั้งหลาย นี้คือวัตรของภิกษุอาคันตุกะทั้งหลาย โดยที่ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลาย จะต้องประพฤติชอบ
๒. อาวาสิกวัตตกถา
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติของภิกษุผู้อยู่ในอาวาส
[๓๕๘] สมัยนั้น ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสเห็นภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายแล้วไม่ ปูอาสนะ ไม่ตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ไม่ลุกรับบาตรและจีวร ไม่ นำน้ำดื่มมาต้อนรับ ไม่นำน้ำใช้มาต้อนรับ ไม่ไหว้ภิกษุอาคันตุกะผู้แก่พรรษากว่า ไม่จัดเสนาสนะให้ บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ ผู้อยู่ประจำในอาวาสทั้งหลายเห็นภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายแล้วไม่ปูอาสนะ ไม่ตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ไม่ลุกรับบาตรและจีวร ไม่นำน้ำดื่มมาต้อนรับ ไม่นำ น้ำใช้มาต้อนรับ ไม่ไหว้ภิกษุอาคันตุกะผู้แก่พรรษากว่า ไม่จัดเสนาสนะให้เล่า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๒๕}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๘. วัตตขันธกะ]

                                                                 ๒. อาวาสิกวัตตกถา

ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้อยู่ประจำในอาวาสเห็นภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายแล้วไม่ปูอาสนะ ฯลฯ จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถา รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า [๓๕๙] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรแก่ภิกษุผู้อยู่ประจำใน อาวาสทั้งหลาย โดยที่ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสทั้งหลายจะต้องประพฤติชอบ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสเห็นภิกษุอาคันตุกะผู้แก่พรรษากว่า พึงปูอาสนะ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ลุกรับบาตรและจีวร นำ น้ำดื่มต้อนรับ นำน้ำใช้มาต้อนรับ ถ้าสามารถก็พึงเช็ดรองเท้า เมื่อจะเช็ดรองเท้า ใช้ผ้าแห้งเช็ดก่อนแล้วใช้ผ้าเปียกเช็ดทีหลัง พึงซักผ้าเช็ดรองเท้าบิดแล้วผึ่งไว้ ณ ที่ สมควร ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสพึงอภิวาทภิกษุอาคันตุกะผู้แก่พรรษากว่าจัดเสนาสนะ ถวายว่า “เสนาสนะนั่นถึงแก่ท่าน” บอกเสนาสนะที่มีภิกษุอยู่หรือไม่มีภิกษุอยู่ บอก โคจรคามและอโคจรคาม บอกตระกูลที่เป็นเสกขสมมติ บอกวัจกุฎี บอกน้ำดื่มน้ำใช้ บอกไม้เท้า บอกกติกาสงฆ์ที่ตั้งไว้ว่า “พึงเข้าเวลานี้ พึงออกเวลานี้” ถ้าภิกษุอาคันตุกะเป็นพระนวกะ ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสพึงนั่งลงบอกว่า “ท่าน จงวางบาตรที่นั่น วางจีวรที่นั่น นั่งบนอาสนะนี้” พึงบอกน้ำดื่ม พึงบอกน้ำใช้ บอกผ้าเช็ดรองเท้า พึงให้ภิกษุอาคันตุกะที่เป็นพระนวกะให้อภิวาท บอกเสนาสนะว่า “เสนาสนะนั่นถึงแก่ท่าน” บอกเสนาสนะที่มีภิกษุอยู่หรือไม่มีภิกษุอยู่ บอกโคจรคาม และอโคจรคาม บอกตระกูลที่เป็นเสกขสมมติ บอกวัจกุฎี บอกน้ำดื่ม บอกน้ำใช้ บอกไม้เท้า บอกกติกาที่สงฆ์ตั้งไว้ว่า “พึงเข้าเวลานี้ พึงออกเวลานี้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๒๖}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๘. วัตตขันธกะ]

                                                                 ๓. คมิกวัตตกถา

ภิกษุทั้งหลาย นี้คือวัตรของภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสทั้งหลาย โดยที่ภิกษุผู้ อยู่ประจำในอาวาสทั้งหลายต้องประพฤติชอบ
๓. คมิกวัตตกถา
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติของภิกษุผู้ออกเดินทาง
[๓๖๐] สมัยนั้น ภิกษุผู้เตรียมจะเดินทางทั้งหลายไม่เก็บเครื่องใช้ไม้ เครื่องใช้ดิน เปิดประตูหน้าต่างทิ้งไว้ ไม่บอกมอบหมายเสนาสนะแล้วพากันจากไป เครื่องใช้ไม้ เครื่องใช้ดินเสียหาย ไม่มีใครดูแลรักษาเสนาสนะ บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ ผู้เตรียมจะเดินทางทั้งหลายจึงไม่เก็บเครื่องใช้ไม้ เครื่องใช้ดิน เปิดประตูหน้าต่างทิ้งไว้ ไม่บอกมอบหมายเสนาสนะแล้วพากันจากไปเล่า เครื่องใช้ไม้ เครื่องใช้ดินเสียหาย ไม่มีใครดูแลรักษาเสนาสนะ” ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าภิกษุ ผู้เตรียมจะเดินทางทั้งหลายไม่เก็บเครื่องใช้ไม้ ฯลฯ จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถารับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า [๓๖๑] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรแก่ภิกษุผู้เตรียมจะเดิน ทางทั้งหลาย โดยที่ภิกษุผู้เตรียมจะเดินทางทั้งหลายต้องประพฤติชอบ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เตรียมจะเดินทาง พึงเก็บเครื่องใช้ไม้ เครื่องใช้ดิน ปิด ประตูหน้าต่าง บอกมอบหมายเสนาสนะแล้วพากันจากไป ถ้าไม่มีภิกษุ พึงบอก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๒๗}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๘. วัตตขันธกะ]

                                                                 ๔. อนุโมทนาวัตตกถา

มอบหมายแก่สามเณร ถ้าไม่มีสามเณร พึงบอกมอบหมายแก่คนวัด ถ้าไม่มีคนวัด พึงบอกมอบหมายแก่อุบาสก ถ้าไม่มีภิกษุสามเณร คนวัดหรืออุบาสก พึงยกเตียง ขึ้นวางไว้บนศิลา ๔ แผ่น ยกเตียงซ้อนเตียง ยกตั่งซ้อนตั่ง กองเครื่องเสนาสนะ ไว้ข้างบนแล้วเก็บเครื่องใช้ไม้ เครื่องใช้ดิน ปิดประตูหน้าต่าง แล้วจึงพากันจากไป ถ้าวิหารฝนรั่ว ถ้าสามารถก็ควรมุงหรือขวนขวายว่า “จะมุงวิหารได้อย่างไร” ถ้าทำ ได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าทำไม่ได้พึงยกเตียงขึ้น วางไว้บนศิลา ๔ แผ่นในที่ที่ ฝนไม่รั่ว ยกเตียงซ้อนเตียง ตั่งซ้อนตั่ง กองเครื่องเสนาสนะไว้ข้างบน เก็บเครื่อง ใช้ไม้ เครื่องใช้ดิน ปิดประตูหน้าต่างแล้วจึงพากันจากไป ถ้าวิหารฝนรั่วทุกแห่ง ถ้า สามารถก็พึงขนเครื่องเสนาสนะเข้าบ้านหรือขวนขวายว่า “จะขนเครื่องเสนาสนะเข้า หมู่บ้านได้อย่างไร” ถ้าทำได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าทำไม่ได้ พึงยกเตียงขึ้นวาง ไว้บนศิลา ๔ แผ่นในที่แจ้ง ยกเตียงซ้อนเตียง ตั่งซ้อนตั่ง กองเครื่องเสนาสนะไว้ ข้างบน เก็บเครื่องใช้ไม้เครื่องใช้ดิน แล้วใช้หญ้าหรือใบไม้คลุม พากันจากไปด้วยคิด ว่า “อย่างไรเสีย ส่วนของเตียงตั่งคงจะเหลืออยู่บ้าง” ภิกษุทั้งหลาย นี้ คือ วัตรของภิกษุผู้เตรียมจะเดินทางทั้งหลาย โดยที่ภิกษุ ผู้เตรียมจะเดินทางทั้งหลายต้องประพฤติชอบ
๔. อนุโมทนาวัตตกถา
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติในการอนุโมทนา
[๓๖๒] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่กล่าวอนุโมทนาในโรงอาหาร คนทั้งหลาย ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรทั้งหลายจึงไม่ กล่าวอนุโมทนาเล่า” ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา ฯลฯ ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๒๘}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๘. วัตตขันธกะ]

                                                                 ๔. อนุโมทนาวัตตกถา

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุรับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุกล่าวอนุโมทนาในโรงอาหาร” ต่อมา ภิกษุเหล่านั้นได้สนทนากันดังนี้ว่า “ใครควรกล่าวอนุโมทนาในโรงอาหาร” แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระกล่าวอนุโมทนาในโรง อาหาร” ต่อมา สมาคมหนึ่งถวายสังฆภัต ท่านพระสารีบุตรเป็นพระสังฆเถระ ภิกษุ ทั้งหลายคิดว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระกล่าวอนุโมทนาในโรงอาหาร” จึงปล่อยให้ท่านพระสารีบุตรอยู่รูปเดียว แล้วพากันจากไป ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรกล่าวสัมโมทนียกถาแก่คนเหล่านั้น แล้วตามไป ทีหลังเพียงรูปเดียว พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นท่านพระสารีบุตรกำลังเดินมาแต่ไกลรูปเดียว ครั้นแล้วรับสั่งถามดังนี้ว่า “สารีบุตร อาหารคงมีมากกระมัง” ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า อาหารมีมากจริง แต่ภิกษุ ทั้งหลายปล่อยข้าพระพุทธเจ้าไว้ผู้เดียวแล้วพากันกลับ” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้พระเถรานุเถระ ๔-๕ รูปรออยู่ ในโรงฉัน” ต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งปวดอุจจาระอยู่ในโรงฉัน กลั้นอุจจาระไว้จนสลบล้มลง ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีธุระ เราอนุญาตให้บอกลาภิกษุ ผู้อยู่ถัดไปแล้วไปได้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๒๙}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๘. วัตตขันธกะ]

                                                                 ๕. ภัตตัคควัตตกถา

๕. ภัตตัคควัตตกถา
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติในโรงฉัน
[๓๖๓] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นุ่งไม่เรียบร้อย ห่มไม่เรียบร้อย ไม่มี มารยาท ไปโรงฉัน เดินแซงไปข้างหน้าภิกษุผู้เถระบ้าง นั่งเบียดภิกษุผู้เถระ ทั้งหลายบ้าง กีดกันอาสนะภิกษุนวกะทั้งหลายบ้าง นั่งทับสังฆาฏิในละแวกบ้านบ้าง บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก ภิกษุฉัพพัคคีย์นุ่งไม่เรียบร้อย ห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมารยาท ไปโรงฉัน เดินแซงไป ข้างหน้าภิกษุผู้เถระทั้งหลายบ้าง นั่งเบียดภิกษุผู้เถระทั้งหลายบ้าง กีดกันอาสนะ ภิกษุนวกะทั้งหลายบ้าง นั่งทับสังฆาฏิในละแวกบ้านบ้างเล่า” ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวก ภิกษุฉัพพัคคีย์นุ่งไม่เรียบร้อย ห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมารยาท ไปโรงฉัน เดินแซงไป ข้างหน้าภิกษุผู้เถระทั้งหลายบ้าง นั่งเบียดภิกษุผู้เถระทั้งหลายบ้าง กีดกันอาสนะ ภิกษุนวกะทั้งหลายบ้าง นั่งทับสังฆาฏิในละแวกบ้านบ้าง จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดง ธรรมีกถา รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า [๓๖๔] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรในโรงฉันแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยที่ภิกษุทั้งหลายจะต้องประพฤติชอบในโรงฉัน ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภัตตุทเทสก์บอกเวลาในอาราม ภิกษุพึงนุ่งปิดมณฑล ๓ ให้ เรียบร้อย คาดประคดเอว ห่มผ้าสังฆาฏิที่พับซ้อนกันไว้ กลัดลูกดุม ล้างบาตรแล้ว ถือไปไม่ต้องรีบร้อนเข้าหมู่บ้าน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๓๐}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๘. วัตตขันธกะ]

                                                                 ๕. ภัตตัคควัตตกถา

ไม่พึงเดินแซงไปข้างหน้าภิกษุผู้เถระทั้งหลาย พึงปกปิดกายให้ดีไปในละแวกบ้าน พึงสำรวมดีไปในละแวกบ้าน พึงทอดจักษุลงไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเวิกผ้าไปในละแวก บ้าน ไม่พึงหัวเราะดังไปในละแวกบ้าน พึงพูดเสียงเบาไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดิน โคลงกายไปในละแวกบ้าน ไม่พึงแกว่งแขนไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินโคลงศีรษะไป ในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินเท้าสะเอวไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน พึงปกปิดกายให้ดีนั่งในละแวกบ้าน พึงสำรวมดีนั่งในละแวกบ้าน พึงทอดจักษุ ลงนั่งในละแวกบ้าน ไม่พึงนั่งเวิกผ้าในละแวกบ้าน ไม่พึงนั่งหัวเราะดังในละแวกบ้าน พึงนั่งพูดเสียงเบาในละแวกบ้าน ไม่พึงนั่งโคลงกายในละแวกบ้าน ไม่พึงนั่งแกว่งแขน ในละแวกบ้าน ไม่พึงนั่งโคลงศีรษะในละแวกบ้าน ไม่พึงนั่งเท้าสะเอวในละแวกบ้าน ไม่พึงนั่งคลุมศีรษะในละแวกบ้าน ไม่พึงนั่งรัดเข่าในละแวกบ้าน ไม่พึงนั่งเบียดภิกษุ ผู้เถระทั้งหลาย ไม่พึงกีดกันอาสนะภิกษุนวกะทั้งหลาย ไม่พึงนั่งทับสังฆาฏิ เมื่อเขาถวายน้ำ พึงใช้มือทั้ง ๒ ประคองบาตรรับน้ำ พึงถือบาตรล้างอย่าง ไม่ให้ครูด ถ้ามีกระโถน พึงเทน้ำลงกระโถนอย่างระมัดระวัง ด้วยคิดว่า “กระโถนอย่าเลอะน้ำ ภิกษุทั้งหลายที่อยู่ใกล้อย่าถูกน้ำกระเซ็น สังฆาฏิอย่าถูกน้ำ” ถ้าไม่มีกระโถน พึงเทน้ำลงพื้นดินอย่างระมัดระวัง ด้วยคิดว่า “ภิกษุทั้งหลายที่อยู่ ใกล้ อย่าถูกน้ำกระเซ็น สังฆาฏิอย่าถูกน้ำ” เมื่อเขาถวายข้าวสุก พึงใช้มือทั้ง ๒ ประคองบาตรรับข้าวสุก เว้นที่ว่างไว้ สำหรับแกง ถ้ามีเนยใส น้ำมัน หรือแกงอ่อม ภิกษุผู้เถระพึงบอกว่า “ท่านจงจัดถวาย ภิกษุเท่ากันทุกรูป” พึงรับบิณฑบาตโดยเคารพ พึงให้ความสำคัญในบาตรขณะรับ บิณฑบาต พึงรับบิณฑบาตพอเหมาะกับแกง พึงรับบิณฑบาตเสมอขอบปากบาตร ภิกษุผู้เถระไม่พึงฉันก่อนจนกว่าข้าวสุกจะทั่วถึงภิกษุทุกรูป พึงฉันบิณฑบาต โดยเคารพ พึงให้ความสำคัญในบาตรขณะฉันบิณฑบาต พึงฉันบิณฑบาตไปตาม ลำดับ พึงฉันบิณฑบาตพอเหมาะกับแกง ไม่พึงฉันบิณฑบาตขยุ้มลงแต่ยอด ไม่พึง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๓๑}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๘. วัตตขันธกะ]

                                                                 ๕. ภัตตัคควัตตกถา

ใช้ข้าวสุกกลบแกงหรือกับข้าวเพราะอยากได้มาก ไม่เป็นไข้ไม่พึงออกปากขอแกงหรือ ข้าวสุกมาฉันส่วนตัว ไม่พึงมุ่งตำหนิมองดูบาตรของภิกษุเหล่าอื่น ไม่พึงทำคำข้าว ให้ใหญ่เกิน พึงทำคำข้าวให้กลมกล่อม ไม่พึงอ้าปากรอคำข้าวที่ยังไม่ถึงปาก ขณะ กำลังฉัน ไม่พึงสอดมือทั้งหมดเข้าในปาก ขณะที่ในปากมีคำข้าว ไม่พึงพูดคุย ไม่ พึงฉันโยนคำข้าว ไม่พึงฉันกัดคำข้าว ไม่พึงฉันทำกระพุ้งแก้มตุ่ย ไม่พึงฉันสลัดมือ ไม่พึงฉันโปรยเมล็ดข้าว ไม่พึงฉันแลบลิ้น ไม่พึงฉันทำเสียงดังจั๊บๆ ไม่พึงฉันทำ เสียงดังซู้ดๆ ไม่ พึงฉันเลียมือ ไม่พึงฉันขอดบาตร ไม่พึงฉันเลียริมฝีปาก ไม่พึงจับ ภาชนะน้ำดื่มด้วยมือเปื้อนอาหาร ภิกษุผู้เถระไม่พึงรับน้ำก่อนจนกว่าภิกษุทั้งหมดฉันเสร็จ เมื่อเขาถวายน้ำ พึงใช้ มือทั้ง ๒ ประคองบาตรรับน้ำ พึงถือล้างอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ถ้ามีกระโถน พึงเทน้ำลงกระโถนอย่างระมัดระวัง ด้วยคิดว่า “กระโถนอย่าเลอะน้ำ ภิกษุทั้งหลาย ที่อยู่ใกล้ อย่าถูกน้ำกระเซ็น สังฆาฏิอย่าถูกน้ำ” ถ้าไม่มีกระโถน พึงเทน้ำลงบน พื้นดินอย่างระมัดระวัง ด้วยคิดว่า “ภิกษุทั้งหลายที่อยู่ใกล้ อย่าถูกน้ำกระเซ็น สังฆาฏิอย่าถูกน้ำ” ไม่พึงเทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน เมื่อจะกลับ ภิกษุนวกะทั้งหลายพึงกลับก่อน ภิกษุผู้เถระทั้งหลายกลับทีหลัง พึงปกปิดกายให้ดีไปในละแวกบ้าน พึงสำรวมดีไปในละแวกบ้าน พึงทอดจักษุลงไป ในละแวกบ้าน ไม่พึงเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินหัวเราะดังไปในละแวกบ้าน พึงพูดเสียงเบา ไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน ไม่พึงแกว่ง แขนไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินเท้าสะเอว ไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินกระโหย่งไปใน ละแวกบ้าน ภิกษุทั้งหลาย นี้ คือวัตรในโรงฉัน โดยที่ภิกษุทั้งหลายพึงประพฤติชอบในโรงฉัน
ปฐมภาณวาร จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๓๒}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๘. วัตตขันธกะ]

                                                                 ๖. ปิณฑจาริกวัตตกถา

๖. ปิณฑจาริกวัตตกถา
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติของภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต
[๓๖๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เที่ยวบิณฑบาตทั้งหลายนุ่งไม่เรียบร้อย ห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมารยาท เที่ยวบิณฑบาต ไม่สังเกตเข้าบ้านบ้าง ไม่สังเกตออกไปบ้าง รีบร้อน เข้าไปบ้าง รีบร้อนออกไปบ้าง ยืนไกลเกินไปบ้าง ยืนใกล้เกินไปบ้าง ยืนนานเกินไปบ้าง กลับเร็วเกินไปบ้าง ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง ไม่ทันสังเกตเข้าไปบ้าน สำคัญว่าประตูบ้าน เข้าไปยังห้องหนึ่งซึ่งมีหญิงเปลือยกายนอนหงายอยู่ ภิกษุนั้นได้เห็นหญิงเปลือยกาย นอนหงายอยู่นั้น จึงรู้ว่า “นี้ไม่ใช่ประตู แต่เป็นห้องนอน” จึงออกจากห้องนั้นไป สามีของหญิงนั้นเห็นนางเปลือยกายนอนหงายก็เข้าใจว่า “ภิกษุรูปนี้ทำมิดีมิร้าย ภรรยาของเรา” จึงจับภิกษุนั้นทำร้าย ลำดับนั้น หญิงนั้นตื่นขึ้นเพราะเสียงนั้น ได้ถามสามีดังนี้ว่า “พี่ ท่านทำร้าย ภิกษุทำไม” เขาตอบว่า “ภิกษุนี้ทำมิดีมิร้ายเธอ” นางพูดว่า “ภิกษุนี้ไม่ได้ทำมิดีมิร้ายฉัน ภิกษุนั้นไม่ได้ทำอะไรเลย” แล้วให้ ปล่อยภิกษุนั้นไป ภิกษุนั้นกลับไปอารามแล้วบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุอื่นทราบ บรรดาภิกษุผู้มักน้อยตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลายผู้เที่ยว บิณฑบาตเป็นวัตรจึงนุ่งไม่เรียบร้อย ห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมารยาท เที่ยวบิณฑบาตเล่า ไม่สังเกตเข้าบ้านบ้าง ไม่สังเกตออกไปบ้าง รีบร้อนเข้าไปบ้าง รีบร้อนออกไปบ้าง ยืนไกลเกินไปบ้าง ยืนใกล้เกินไปบ้าง ยืนนานเกินไปบ้าง กลับเร็วเกินไปบ้าง” ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่า ฯลฯ จริงหรือ” ภิกษุนั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๓๓}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๘. วัตตขันธกะ]

                                                                 ๖. ปิณฑจาริกวัตตกถา

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ทรงแสดงธรรมีกถา รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า [๓๖๖] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรแก่ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต ทั้งหลาย โดยที่ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตทั้งหลายต้องประพฤติชอบ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร คิดว่า “เวลานี้ เราจักเข้าบ้าน” พึงนุ่งปกปิดมณฑล ๓ ให้เรียบร้อย คาดประคดเอว ห่มผ้าสังฆาฏิที่พับซ้อนกันไว้ กลัดลูกดุมล้างบาตรแล้วถืออย่างสำรวมเข้าบ้าน โดยไม่รีบร้อน พึงปกปิดกายให้ดีไปในละแวกบ้าน พึงสำรวมดีไปในละแวกบ้าน พึงทอดจักษุ ลงไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน ไม่พึงหัวเราะดังไปในละแวกบ้าน พึงพูดเสียงเบาไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน ไม่พึงแกว่งแขน ไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินเท้าสะเอวไปใน ละแวกบ้าน ไม่พึงเดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน เมื่อเข้าบ้านก็พึงสังเกตว่า “เราจะเข้าทางนี้ ออกทางนี้” ไม่พึงรีบร้อนเข้า ไม่ พึงรีบร้อนออกไป ไม่พึงยืนไกลนัก ไม่พึงยืนใกล้นัก ไม่พึงยืนนานนัก ไม่พึงกลับเร็วนัก พึงยืนสังเกตว่า “เขาประสงค์จะถวายอาหารหรือไม่ประสงค์จะถวาย” ถ้าเขาหยุด ทำงาน หรือลุกจากที่นั่ง หรือจับทัพพีหรือจับภาชนะ หรือตั้งภาชนะไว้ พึงยืน กำหนดว่า “เขาประสงค์จะถวายหรือ“” เมื่อเขาถวายอาหารพึงใช้มือข้างซ้ายแหวก ผ้าสังฆาฏิแล้วน้อมบาตรเข้าไปด้วยมือข้างขวา ใช้มือทั้ง ๒ ประคองบาตรรับอาหาร ไม่มองดูหน้าผู้ถวายอาหาร พึงสังเกตว่า “เขาประสงค์จะถวายแกงหรือไม่ประสงค์ จะถวาย” ถ้าเขาจับทัพพี หรือจับภาชนะ หรือตั้งภาชนะไว้ พึงยืนกำหนดว่า “เขา ประสงค์จะถวายหรือ” เมื่อเขาถวายแล้วใช้ผ้าสังฆาฏิคลุมบาตร ไม่ต้องรีบร้อน กลับ อย่างสำรวม พึงปกปิดกายให้ดีไปในละแวกบ้าน พึงสำรวมดีไปในละแวกบ้าน พึงทอดจักษุ ลงไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน ไม่พึงหัวเราะดังไปในละแวกบ้าน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๓๔}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๘. วัตตขันธกะ]

                                                                 ๗. อารัญญิกวัตตกถา

พึงพูดเสียงเบาไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน ไม่พึงแกว่งแขน ไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินเท้าสะเอวไปใน ละแวกบ้าน ไม่พึงเดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน ผู้กลับจากบิณฑบาตมาถึงก่อน พึงปูอาสนะไว้ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้ากระเบื้อง เช็ดเท้า ล้างภาชนะที่ใส่ของฉันตั้งไว้ ตั้งน้ำดื่มน้ำใช้ไว้ ผู้กลับจากบิณฑบาตถึงทีหลัง ถ้าอาหารที่ฉันแล้วยังเหลืออยู่ ถ้าต้องการก็พึงฉัน ไม่ต้องการก็เททิ้งในที่ปราศจาก ของเขียวสด หรือเทลงในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ พึงรื้อขนอาสนะเก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างภาชนะที่ใส่ของฉัน เก็บไว้ เก็บน้ำดื่มน้ำใช้ กวาดโรงฉัน ภิกษุผู้เห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้หรือหม้อน้ำชำระว่างเปล่า ก็พึงจัดหาไปตั้งไว้ ถ้า เป็นเรื่องสุดวิสัยก็กวักมือเรียกเพื่อนมาให้ช่วยกันจัด แต่ไม่พึงออกคำสั่งเพราะเรื่องนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้ คือ วัตรของภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตทั้งหลาย โดยที่ภิกษุผู้ เที่ยวบิณฑบาตทั้งหลายต้องประพฤติชอบ
๗. อารัญญิกวัตตกถา
ว่าด้วยวัตรปฎิบัติของภิกษุผู้อยู่ป่า
[๓๖๗] สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปอยู่ในป่า ไม่ตั้งน้ำดื่ม ไม่ตั้งน้ำใช้ ไม่ติดไฟ ไม่เตรียมไม้สีไฟ ไม่รู้เรื่องนักษัตร ไม่รู้จักทิศ พวกโจรพากันไปที่นั้นแล้วถามภิกษุ เหล่านั้นดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย มีน้ำดื่มหรือ” ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “โยมทั้งหลาย น้ำดื่มไม่มี” โจรทั้งหลายถามว่า “ท่านทั้งหลาย มีน้ำใช้หรือ” ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “โยมทั้งหลาย น้ำใช้ก็ไม่มี” โจรทั้งหลายถามว่า “ท่านทั้งหลาย มีไฟหรือ” ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “โยมทั้งหลาย ไฟก็ไม่มี” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๓๕}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๘. วัตตขันธกะ]

                                                                 ๗. อารัญญิกวัตตกถา

โจรทั้งหลายถามว่า “ท่านทั้งหลาย มีไม้สีไฟหรือ” ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “โยมทั้งหลาย ไม้สีไฟก็ไม่มี” โจรทั้งหลายถามว่า “ท่านทั้งหลาย วันนี้เป็นฤกษ์อะไร” ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “โยมทั้งหลาย พวกอาตมาไม่ทราบ” โจรทั้งหลายถามว่า “ท่านทั้งหลาย นี้ทิศอะไร” ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “โยมทั้งหลาย พวกอาตมาไม่ทราบ” ลำดับนั้น โจรเหล่านั้นคิดว่า “คนพวกนี้ไม่มีน้ำดื่ม ไม่มีน้ำใช้ ไม่มีไฟ ไม่มี ไม้สีไฟ ไม่รู้นักษัตร ไม่รู้ทิศ คนพวกนี้น่าจะเป็นโจร คนพวกนี้ไม่ใช่ภิกษุ” จึงทำร้าย แล้วจากไป ต่อมา ภิกษุเหล่านั้นบอกเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่อง นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่งกับภิกษุ ทั้งหลายว่า [๓๖๘] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรแก่ภิกษุผู้อยู่ป่าทั้งหลาย โดยที่ภิกษุผู้อยู่ป่าทั้งหลายต้องประพฤติชอบ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่า ควรลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ สวมถุงบาตรคล้องบ่า พาด จีวรบนไหล่ สวมรองเท้า เก็บเครื่องใช้ไม้ เครื่องใช้ดิน ปิดประตูหน้าต่างแล้วลงจาก เสนาสนะ กำหนดว่า “เวลานี้เราจะเข้าบ้าน” ควรถอดรองเท้าเคาะอย่างระมัดระวัง ใส่ถุงคล้องบ่า นุ่งปกปิดมณฑล ๓ ให้เรียบร้อย คาดประคดเอว ห่มผ้าสังฆาฏิ ที่พับซ้อนกันไว้ กลัดลูกดุม ล้างบาตรแล้วไม่ต้องรีบร้อน ถือเข้าบ้านโดยเรียบร้อย พึงปกปิดกายด้วยดีไปในละแวกบ้าน พึงสำรวมด้วยดีไปในละแวกบ้าน ฯลฯ ไม่พึง เดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน เมื่อเข้าบ้านก็พึงกำหนดว่า “เราจะเข้าทางนี้ ออกทางนี้” ไม่พึงรีบร้อนเข้าไป ไม่พึงรีบร้อนออกไป ไม่พึงยืนไกลนัก ไม่พึงยืนใกล้นัก ไม่พึงยืนนานนัก ไม่พึงกลับเร็วนัก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๓๖}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๘. วัตตขันธกะ]

                                                                 ๘. เสนาสนวัตตกถา

พึงยืนสังเกตว่า “เขาประสงค์จะถวายอาหารหรือไม่ประสงค์จะถวาย” ถ้าเขาหยุด ทำงาน หรือลุกจากที่นั่ง หรือจับทัพพีหรือภาชนะ หรือตั้งภาชนะไว้ พึงยืนกำหนดว่า “เขาประสงค์จะถวายหรือ” เมื่อเขาถวายอาหาร พึงใช้มือข้างซ้ายแหวกผ้าสังฆาฏิ แล้วน้อมบาตรเข้าไปด้วยมือข้างขวา ใช้มือทั้ง ๒ ประคองบาตรรับอาหาร ไม่มอง หน้าผู้ถวายอาหาร พึงสังเกตว่า “เขาประสงค์จะถวายแกงหรือไม่ประสงค์จะถวาย” ถ้าเขาจับทัพพี หรือจับภาชนะ หรือตั้งภาชนะไว้ พึงยืนกำหนดว่า “เขาประสงค์ จะถวายหรือ” เมื่อเขาถวายแล้ว ใช้ผ้าสังฆาฏิคลุมบาตรแล้ว ไม่ต้องรีบร้อน กลับ อย่างสำรวม พึงปกปิดกายด้วยดีไปในละแวกบ้าน ฯลฯ ไม่พึงเดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน ออกจากหมู่บ้าน แล้วสวมถุงบาตร คล้องบ่า พับจีวรวางไว้บนศีรษะสวมรองเท้าเดินไป ภิกษุผู้อยู่ป่า พึงตั้งน้ำดื่ม พึงตั้งน้ำใช้ พึงติดไฟ พึงเตรียมไม้สีไฟไว้ พึงเตรียม ไม้เท้า พึงเรียนรู้เรื่องนักษัตรทุกประเภทหรือเรียนบางส่วน พึงเป็นผู้ฉลาดในทิศ ภิกษุทั้งหลาย นี้คือ วัตรของภิกษุผู้อยู่ป่าทั้งหลาย โดยที่ภิกษุผู้อยู่ป่าทั้งหลาย ต้องประพฤติชอบ
๘. เสนาสนวัตตกถา
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติในเสนาสนะ
[๓๖๙] สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปทำจีวรอยู่ที่กลางแจ้ง พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เคาะ เสนาสนะบนที่สูงเหนือลม ฝุ่นธุลีฟุ้งกลบภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้มักน้อยตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงเคาะเสนาสนะบนที่สูงเหนือลมเล่า ภิกษุทั้งหลายถูกฝุ่นธุลีฟุ้งกลบ” ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวก ภิกษุฉัพพัคคีย์เคาะเสนาสนะบนที่สูงเหนือลม ฝุ่นธุลีฟุ้งกลบภิกษุทั้งหลาย จริงหรือ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๓๗}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๘. วัตตขันธกะ]

                                                                 ๘. เสนาสนวัตตกถา

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ แสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุ ทั้งหลายว่า [๓๗๐] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติเสนาสนวัตรแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยที่ภิกษุทั้งหลายต้องประพฤติชอบ ภิกษุทั้งหลาย ตนอยู่ในวิหารใด ถ้าวิหารนั้นสกปรก ถ้าสามารถพึงชำระให้ สะอาด เมื่อจะชำระวิหารให้สะอาด พึงขนบาตรและจีวรออกก่อนวางไว้ ณ ที่ สมควร พึงขนผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน ฟูก หมอนออกไปวางไว้ ณ ที่สมควร เตียง ตั่ง พึงยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบบานประตูและกรอบ ประตู ขนออกไปตั้งไว้ ณ ที่สมควร เขียงรองเตียง กระโถน พนักพิง พึงขนออก มาวางไว้ ณ ที่สมควร พรมปูพื้น พึงสังเกตที่ปูไว้เดิม ค่อยขนออกมาวาง ณ ที่ สมควร ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดเพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่างและมุมห้อง พึงเช็ด ถ้าฝาที่ทาน้ำมันหรือพื้นทาสีดำขึ้นรา พึงใช้ผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ด ถ้าเป็นพื้นไม่ได้ทา พึงใช้น้ำประพรมแล้วเช็ด อย่าให้วิหารคลาคล่ำด้วยฝุ่นละออง พึงเก็บหยากเยื่อไปทิ้ง ณ ที่สมควร ไม่พึงเคาะเสนาสนะใกล้ภิกษุ ใกล้วิหาร ใกล้ น้ำดื่ม น้ำใช้ บนเนินเหนือลม พึงเคาะเสนาสนะใต้ลม พรมปูพื้น พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับปูไว้ตามเดิม เขียงรองเตียง พึงผึ่ง แดด เช็ด ขนกลับวางไว้ตามเดิม เตียง ตั่ง พึงผึ่งแดด ชำระ ปัด ยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบ บานประตูและกรอบประตู ขนกลับตั้งไว้ตามเดิม ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับวางปูไว้ตามเดิม กระโถน พนักพิง พึงผึ่งแดด เช็ดถู ขนกลับวางไว้ตามเดิม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๓๘}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๘. วัตตขันธกะ]

                                                                 ๙. ชันตาฆรวัตตกถา

พึงเก็บบาตรและจีวร เมื่อจะเก็บบาตร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือบาตร ใช้มือข้าง หนึ่งคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง จึงเก็บบาตร ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง เมื่อ จะเก็บจีวร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือจีวร ใช้มือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง เอา ชายไว้นอก เอาขนดไว้ใน จึงเก็บจีวร ถ้าลมเจือฝุ่นละอองพัดมาทางทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันออก ถ้าพัดมาทางทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก ถ้าพัดมาทางทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ ถ้าพัดมาทางทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้ ถ้าเป็นฤดูหนาว พึงเปิดหน้าต่างกลางวัน ปิดกลางคืน ถ้าเป็นฤดูร้อน พึงปิดหน้าต่างกลางวัน เปิดกลางคืน ถ้าบริเวณ ซุ้ม โรงฉัน โรงไฟ วัจกุฎี รก พึงปัดกวาด ถ้าน้ำฉันน้ำใช้ไม่มี พึงจัดเตรียมไว้ ถ้าหม้อชำระไม่มีน้ำ พึงตักน้ำใส่หม้อชำระ ถ้าอยู่ในวิหารหลังเดียวกับภิกษุผู้แก่กว่า ยังไม่สอบถามก็ไม่ควรให้อุทเทส ปริปุจฉา การสาธยาย แสดงธรรม ไม่พึงตามหรือดับประทีป ไม่พึงเปิดหน้าต่าง ไม่พึงปิดหน้าต่าง ถ้าเดินจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับภิกษุผู้แก่กว่า พึงเดินตาม หลังท่าน และไม่กระทบท่านด้วยชายสังฆาฏิ ภิกษุทั้งหลาย นี้คือ วัตรในเสนาสนะของภิกษุทั้งหลาย โดยที่ภิกษุทั้งหลาย ต้องประพฤติชอบ
๙. ชันตาฆรวัตตกถา
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติในเรือนไฟ
[๓๗๑] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ถูกภิกษุผู้เถระทั้งหลายห้ามในเรือนไฟ ไม่เกรงใจใส่ฟืนมาก ติดไฟ ปิดประตูแล้วนั่งที่ประตู ฝ่ายภิกษุผู้เถระถูกความร้อน แผดเผา จะออกก็ออกไม่ได้ จึงเป็นลมสลบล้มลง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๓๙}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๘. วัตตขันธกะ]

                                                                 ๙. ชันตาฆรวัตตกถา

บรรดาภิกษุผู้มักน้อย จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ถูกภิกษุผู้เถระทั้งหลายห้ามในเรือนไฟ จึงไม่เกรงใจใส่ฟืนมาก ติดไฟ ปิดประตูแล้ว นั่งที่ประตูเล่า ฝ่ายภิกษุผู้เถระถูกความร้อนแผดเผา จะออกก็ออกไม่ได้ จึงเป็นลม สลบล้มลง” ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ถูกภิกษุผู้เถระทั้งหลายห้ามในเรือนไฟ ไม่เกรงใจ ใส่ฟืนมาก ติดไฟ ปิดประตูแล้วนั่งเฝ้าที่ประตู ภิกษุถูกความร้อนแผดเผาออกประตูไม่ได้จึงเป็น ลมสลบล้มลง จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถา รับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุถูกภิกษุผู้เถระห้ามในเรือนไฟ จะใส่ฟืนมากติดไฟโดยไม่ เกรงใจไม่ได้ รูปใดใส่ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุไม่พึงปิดประตู แล้วนั่งที่ประตู รูปใดนั่งต้องอาบัติทุกกฏ” [๓๗๒] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรในเรือนไฟแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยที่พวกเธอต้องประพฤติชอบในเรือนไฟ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไปเรือนไฟก่อน ถ้ามีเถ้ามากพึงนำไปเททิ้ง ถ้าเรือนไฟรก พึงกวาด ถ้าชานภายนอกรกก็พึงกวาด ถ้าบริเวณรกก็พึงกวาด ถ้าซุ้มประตูรกก็ พึงกวาด ถ้าศาลาเรือนไฟรก ก็พึงกวาด พึงบดจุรณไว้ พึงแช่ดิน พึงตักน้ำใส่ไว้ในราง เมื่อจะเข้าไปเรือนไฟพึงเอาดิน เหนียวทาหน้า ปิดหน้าและหลังจึงเข้าเรือนไฟ ไม่พึงนั่งเบียดภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ไม่กีดกันอาสนะภิกษุผู้นวกะทั้งหลาย ถ้าสามารถก็พึงบริกรรมภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ในเรือนไฟ เมื่อออกจาก เรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟปิดหน้าและหลังจึงออกจาก เรือนไฟ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๔๐}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๘. วัตตขันธกะ]

                                                                 ๑๐. วัจจกุฎิวัตตกถา

ถ้าสามารถ พึงทำบริกรรม ภิกษุผู้เถระทั้งหลายในน้ำ ไม่พึงสรงน้ำข้างหน้า ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย แม้เหนือน้ำก็ไม่พึงสรง เมื่อสรงน้ำเสร็จกำลังจะขึ้นพึงให้ทาง ภิกษุทั้งหลายผู้จะลงสรง ภิกษุผู้ออกจากเรือนไฟภายหลัง ถ้าเรือนไฟเปรอะเปื้อน พึงล้างให้สะอาด ล้างรางแช่ดิน เก็บตั่งในเรือนไฟ ดับไฟ ปิดประตูแล้วจึงพา กันจากไป ภิกษุทั้งหลาย นี้คือวัตรในเรือนไฟสำหรับภิกษุทั้งหลาย โดยที่ภิกษุทั้งหลาย ต้องประพฤติชอบในเรือนไฟ
๑๐. วัจจกุฏิวัตตกถา
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติในวัจกุฎี
[๓๗๓] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีกำเนิดจากวรรณะพราหมณ์ ถ่ายอุจจาระ ไม่ ยอมชำระ เพราะรังเกียจว่า “ใครจะจับต้องของสกปรกมีกลิ่นเหม็นนี้ได้เล่า” ในทวาร หนักของภิกษุนั้นจึงมีหนอนอยู่ ภิกษุนั้นจึงบอกให้ภิกษุทราบ ภิกษุทั้งหลายถามว่า “ท่าน ท่านถ่ายอุจจาระแล้วไม่ล้างหรือ” ภิกษุนั้นตอบว่า “ใช่ ขอรับ” บรรดาภิกษุมักน้อยจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุถ่ายอุจจาระ แล้วไม่ล้างเล่า” ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่าเธอถ่ายอุจจาระแล้ว ไม่ล้าง จริงหรือ” ภิกษุนั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถา รับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุถ่ายอุจจาระแล้ว เมื่อมีน้ำอยู่จะไม่ล้างไม่ได้ รูปใดไม่ล้าง ต้องอาบัติทุกกฏ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๔๑}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๘. วัตตขันธกะ]

                                                                 ๑๐. วัจจกุฎิวัตตกถา

สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถ่ายอุจจาระในวัจกุฎีตามลำดับพรรษา ภิกษุผู้นวกะทั้งหลาย ถึงก่อนปวดอุจจาระก็ต้องรอ กลั้นอุจจาระจนเป็นลมสลบล้มลง ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุ ทั้งหลายถ่ายอุจจาระในวัจกุฎีตามลำดับพรรษา ภิกษุผู้นวกะทั้งหลายถึงก่อน ปวดอุจจาระ ก็ต้องรอ กลั้นอุจจาระจนเป็นลมสลบล้มลง จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งกับ ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทำการถ่ายอุจจาระตามลำดับพรรษา รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถ่ายอุจจาระตามลำดับผู้ มาถึง” สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าวัจกุฎีเร็วเกินไปบ้าง เวิกผ้าเข้าไปบ้าง ถอน หายใจพลางถ่ายอุจจาระบ้าง เคี้ยวไม้ชำระฟันพลางถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายอุจจาระ นอกรางอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะนอกรางปัสสาวะบ้าง บ้วนน้ำลายลงในรางปัสสาวะ บ้าง ชำระด้วยไม้แข็งบ้าง ทิ้งไม้ชำระในช่องถ่ายอุจจาระบ้าง ออกมาเร็วเกินไปบ้าง เวิกผ้าออกมาบ้าง ชำระมีเสียงดังโจ๊กโจ๊กบ้าง เหลือน้ำไว้ในกระบวยชำระบ้าง บรรดาภิกษุผู้มักน้อยจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ จึงเข้าวัจกุฎีเร็วเกินไปบ้าง เวิกผ้าเข้าไปบ้าง ถอนหายใจพลางถ่ายอุจจาระบ้าง เคี้ยว ไม้ชำระฟันพลางถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายอุจจาระนอกรางอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะ นอกรางปัสสาวะบ้าง บ้วนน้ำลายลงในรางปัสสาวะบ้าง ชำระด้วยไม้แข็งบ้าง ทิ้งไม้ ชำระในช่องถ่ายอุจจาระบ้าง ออกมาเร็วเกินไปบ้าง เวิกผ้าออกมาบ้าง ชำระมีเสียง ดังโจ๊กโจ๊กบ้าง เหลือน้ำไว้ในกระบอกชำระบ้างเล่า” ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ฯลฯ จริงหรือ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๔๒}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๘. วัตตขันธกะ]

                                                                 ๑๐. วัจจกุฎิวัตตกถา

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ แสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า [๓๗๔] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรในวัจกุฎีแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยที่ภิกษุทั้งหลายต้องประพฤติชอบในวัจกุฎี ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไปวัจกุฎีพึงยืนกระแอมข้างนอก แม้ภิกษุผู้นั่งอยู่ข้างในก็ ควรกระแอมรับ พึงพาดจีวรไว้บนราวจีวรหรือบนสายระเดียงแล้วไม่ต้องรีบเข้าวัจกุฎี ไม่ต้องเข้าไปเร็วนัก ไม่พึงเวิกผ้าเข้าไป พึงยืนบนเขียงถ่ายอุจจาระแล้วค่อยเวิกผ้า ไม่พึงถอนใจดังพลางถ่ายอุจจาระ ไม่พึงเคี้ยวไม้ชำระฟันพลางถ่ายอุจจาระ ไม่พึง ถ่ายอุจจาระนอกรางอุจจาระ ไม่พึงถ่ายปัสสาวะนอกรางปัสสาวะ ไม่พึงบ้วนน้ำลาย ลงในรางปัสสาวะ ไม่พึงชำระด้วยไม้เนื้อแข็ง ไม่พึงทิ้งไม้ชำระลงในช่องถ่าย อุจจาระ พึงยืนบนเขียงถ่ายแล้วจึงปิดผ้า ไม่ควรออกมาเร็ว ไม่พึงเวิกผ้าออกมา พึงยืนบน เขียงชำระแล้วจึงเวิกผ้า ไม่พึงชำระให้มีเสียงดังโจ๊กโจ๊ก ไม่พึงเหลือน้ำไว้ในกระบอกชำระ พึงยืนบนเขียงชำระแล้วปิดผ้า ถ้าภิกษุถ่ายไว้เลอะเทอะวัจกุฎี ต้องล้างให้สะอาด ถ้าตระกร้าใส่ไม้ชำระเต็ม พึงนำไปทิ้ง ถ้าวัจกุฎีสกปรกพึงกวาด ถ้าชานภายนอกรกก็พึงกวาด บริเวณรก ก็พึงกวาด ซุ้มประตูรกก็พึงกวาด ถ้าไม่มีน้ำในหม้อชำระ พึงตักน้ำมาไว้ ภิกษุทั้งหลาย นี้คือวัตรในวัจกุฎีสำหรับภิกษุทั้งหลาย โดยที่ภิกษุทั้งหลาย ต้องประพฤติชอบในวัจกุฎี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๔๓}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๘. วัตตขันธกะ]

                                                                 ๑๑. อุปชฌายวัตตกถา

๑๑. อุปัชฌายวัตตกถา๑-
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติในพระอุปัชฌาย์
[๓๗๕] สมัยนั้น สัทธิวิหาริกทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในพระอุปัชฌาย์ บรรดา ภิกษุผู้มักน้อยจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนสัทธิวิหาริกทั้งหลายไม่ประพฤติ ชอบในอุปัชฌาย์ทั้งหลายเล่า” ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า สัทธิ- วิหาริกทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในอุปัชฌาย์ทั้งหลาย จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไฉนสัทธิวิหาริกทั้งหลาย จึงไม่ประพฤติชอบต่อพระอุปัชฌาย์ทั้งหลายเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้มิได้ ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถา รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า [๓๗๖] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรในอุปัชฌาย์ทั้งหลายแก่ สัทธิวิหาริกทั้งหลาย โดยที่สัทธิวิหาริกทั้งหลายต้องประพฤติชอบในอุปัชฌาย์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกพึงประพฤติโดยชอบในอุปัชฌาย์ วิธีประพฤติโดยชอบ ในอุปัชฌาย์นั้นมีดังนี้ สัทธิวิหาริกพึงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ถอดรองเท้า ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ถวายไม้ชำระฟัน น้ำล้างหน้า ปูอาสนะ ถ้าข้าวต้มมี พึงล้างภาชนะใส่ข้าวต้มเข้าไปถวาย เมื่ออุปัชฌาย์ฉันข้าวต้มเสร็จแล้ว พึงถวายน้ำ รับภาชนะมา ถืออย่างระมัดระวัง อย่าให้ครูด๒- ล้างแล้วเก็บงำไว้ เมื่อ อุปัชฌาย์ลุกขึ้นแล้ว พึงยกอาสนะเก็บ ถ้าที่นั้นรก พึงกวาด @เชิงอรรถ : @ วิ.ม. (แปล) ๔/๖๔-๖๖/๗๙-๘๗ @ อย่าให้ครูดพื้น (วิ.อ. ๓/๖๖/๓๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๔๔}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๘. วัตตขันธกะ]

                                                                 ๑๑. อุปชฌายวัตตกถา

ถ้าอุปัชฌาย์ต้องการจะเข้าหมู่บ้าน พึงถวายผ้านุ่ง รับผ้านุ่งอาศัย ถวายประคด เอว ถวายสังฆาฏิที่พับซ้อนกัน ล้างบาตรแล้วถวายพร้อมทั้งน้ำ ถ้าอุปัชฌาย์หวังจะให้เป็นปัจฉาสมณะ พึงนุ่งให้เรียบร้อยปกปิดได้มณฑล ๓ ๑- คาดประคดเอว ห่มสังฆาฏิที่พับซ้อนกัน กลัดลูกดุม ล้างบาตรถือไป เป็นปัจฉาสมณะ ของอุปัชฌาย์ พึงเดินไม่ให้ห่างนัก ไม่ให้ชิดนัก พึงรับบาตรที่มีของบรรจุอยู่ เมื่ออุปัชฌาย์กำลังกล่าว ไม่พึงกล่าวสอดขึ้นในระหว่าง อุปัชฌาย์กล่าวถ้อยคำ ใกล้ต่ออาบัติ พึงห้ามเสีย เมื่ออุปัชฌาย์จะกลับ พึงมาก่อนแล้วปูอาสนะไว้ พึงเตรียมน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงลุกขึ้นรับบาตรและจีวร พึงถวายผ้านุ่งอาศัย รับผ้านุ่งมา ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งแดดครู่หนึ่ง ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด พึงพับจีวร เมื่อจะ พับจีวร พึงพับจีวรให้เหลื่อมมุมกัน ๔ นิ้ว ตั้งใจว่า ตรงกลางจะได้ไม่มีรอยพับ พึงม้วนประคดเอวใส่ขนดจีวร ถ้าบิณฑบาตมี และอุปัชฌาย์ต้องการจะฉัน พึงถวายน้ำแล้วน้อมบิณฑบาต เข้าไปถวาย นำน้ำฉันมาถวาย เมื่ออุปัชฌาย์ฉันเสร็จแล้ว พึงถวายน้ำ รับบาตรมา ถืออย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ล้างแล้วเช็ดให้สะเด็ดน้ำผึ่งแดดครู่หนึ่ง ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ ที่แดด พึงเก็บบาตรและจีวร เมื่อจะเก็บบาตร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือบาตร ใช้มือข้าง หนึ่งคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง จึงเก็บบาตร ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง เมื่อ จะเก็บจีวร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือจีวร ใช้มือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง เอา ชายไว้นอก เอาขนดไว้ใน จึงเก็บจีวร @เชิงอรรถ : @ มณฑล ๓ คือ ถ้าเป็นผ้าอุตตราสงค์(ผ้าห่ม) ต้องห่มปิดหลุ่มคอ และทำชายจีวรทั้ง ๒ ข้างให้เสมอกัน @ถ้าเป็นอันตรวาสก (ผ้านุ่ง)ต้องนุ่งปิดสะดือ และปิดเข่าทั้ง ๒ ข้าง (ดูวินัยปิฎก มหาวิภังค์ (แปล) @๒/๕๗๖-๕๗๗/๖๕๐-๖๕๑ และ วิ.อ. ๒/๕๗๖-๕๗๗/๔๔๗-๔๔๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๔๕}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๘. วัตตขันธกะ]

                                                                 ๑๑. อุปชฌายวัตตกถา

เมื่ออุปัชฌาย์ลุกขึ้นแล้ว พึงยกอาสนะเก็บ พึงเก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ถ้าที่นั้นรก พึงกวาด ถ้าอุปัชฌาย์ต้องการจะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงถวาย ถ้าท่านต้องการน้ำเย็น พึง จัดน้ำเย็นถวาย ถ้าท่านต้องการน้ำอุ่น พึงจัดน้ำอุ่นถวาย ถ้าอุปัชฌาย์ต้องการจะเข้าเรือนไฟ พึงบดจุรณ พึงแช่ดิน ถือตั่งสำหรับเรือนไฟ เดินตามหลังอุปัชฌาย์ไป ถวายตั่งสำหรับเรือนไฟแล้วรับจีวรมาวาง ณ ที่สมควร พึงถวายจุรณและดิน ถ้าสามารถ พึงเข้าเรือนไฟ เมื่อจะเข้าเรือนไฟ พึงเอาดินทาหน้าปิดหน้าและ หลัง จึงเข้าเรือนไฟ ไม่พึงนั่งเบียดภิกษุเถระทั้งหลาย ไม่พึงกีดกันอาสนะพระนวกะ ทั้งหลาย พึงทำบริกรรม๑- แก่อุปัชฌาย์ในเรือนไฟ เมื่อจะออกจากเรือนไฟ พึงถือ ตั่งสำหรับเรือนไฟปิดหน้าและหลัง จึงออกจากเรือนไฟ พึงทำบริกรรม๒- แก่อุปัชฌาย์แม้ในน้ำ ตนสรงน้ำเสร็จแล้ว พึงขึ้นก่อนเช็ดตัว ให้แห้งแล้วผลัดผ้า พึงเช็ดน้ำจากตัวอุปัชฌาย์ ถวายผ้านุ่ง สังฆาฏิ ถือตั่งสำหรับ เรือนไฟมาก่อน ปูอาสนะ เตรียมน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ นำน้ำฉัน มาถวายอุปัชฌาย์ ถ้าอุปัชฌาย์ต้องการจะให้เรียน พึงเรียน ถ้าอุปัชฌาย์ต้องการจะให้สอบถาม พึงสอบถาม อุปัชฌาย์อยู่ในวิหารใด ถ้าวิหารนั้นสกปรก ถ้าสามารถพึงชำระให้สะอาด เมื่อ จะชำระวิหารให้สะอาด พึงขนบาตรและจีวรออกก่อนวางไว้ ณ ที่สมควร พึงขนผ้า ปูนั่ง ผ้าปูนอน ฟูก หมอน ออกมาวางไว้ ณ ที่สมควร เตียง ตั่ง สัทธิวิหาริกพึงยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบบาน ประตูและกรอบประตู ขนออกไปตั้งไว้ ณ ที่สมควร เขียงรองเตียง กระโถน พนักพิง @เชิงอรรถ : @ ทำบริกรรมในเรือนไฟ หมายถึงการถวายขี้เถ้า ดินเหนียว และน้ำร้อนเป็นต้น (วิ.สงฺคห. ๑๘๓/๒๕๘) @ ทำบริกรรมในน้ำ หมายถึงการขัดถูร่างกาย (วิ.สงฺคห. ๑๘๓/๒๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๔๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๒๒๒-๒๔๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=7&page=222&pages=25&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=7&A=5995 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=7&A=5995#p222 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 7 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_7 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7 https://84000.org/tipitaka/english/?index_7



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๒๒-๒๔๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]