ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒

หน้าที่ ๓๑๖-๓๒๐.


                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนีขันธกะ]

                                                                 ๑. ปฐมภาณวาร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ มาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตทรงประกาศไว้ สามารถทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผลได้” ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ถ้ามาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตใน พระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้ สามารถทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกิทาคามิ ผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผลได้ พระนางมหาปชาบดีโคตมีผู้เป็นพระมาตุจฉา ของพระผู้มีพระภาค ทรงมีอุปการะมาก เคยประคับประคองดูแลถวายเกษียรธาร (น้ำนม) เมื่อพระชนนีสวรรคต ได้ให้พระผู้มีพระภาคดื่มเกษียรธาร ขอประทานวโรกาส ขอมาตุคาม พึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคต ประกาศไว้แล้วด้วย เถิด พระพุทธเจ้าข้า”
๒. อัฏฐครุธัมมะ
ว่าด้วยครุธรรม ๘ ข้อ๑-
[๔๐๓] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตมี รับครุธรรม ๘ ข้อ (การรับครุธรรม)นั้นแหละจงเป็นการอุปสมบทของพระนางมหา ปชาบดีโคตมีนั้น คือ ๑. ภิกษุณีถึงจะบวชได้ ๑๐๐ พรรษา ก็ต้องทำการกราบไหว้ ต้อนรับ ทำอัญชลีกรรม ทำสามีจิกรรมแก่ภิกษุผู้บวชแม้ในวันนั้น ธรรมข้อ นี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอด ชีวิต @เชิงอรรถ : @ องฺ. อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๕๑/๓๓๔-๓๓๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๑๖}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนีขันธกะ]

                                                                 ๑. ปฐมภาณวาร

๒. ภิกษุณีไม่พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ๑- ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึง สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต ๓. ภิกษุณีพึงหวังธรรม ๒ อย่าง คือ ถามอุโบสถและไปรับโอวาทจาก ภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต ๔. ภิกษุณีจำพรรษาแล้วพึงปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย โดยสถาน ๓ คือ ได้เห็น ได้ฟัง หรือได้นึกสงสัย ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต ๕. ภิกษุณีต้องครุธรรมแล้วพึงประพฤติปักขมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ธรรม ข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจน ตลอดชีวิต ๖. ภิกษุณีพึงแสวงหาการอุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่ายให้แก่สิกขมานาที่ ศึกษาธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต ๗. ภิกษุณีไม่พึงด่า ไม่พึงบริภาษภิกษุ ไม่ว่ากรณีใดๆ ธรรมข้อนี้ ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอด ชีวิต ๘. ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ห้ามภิกษุณีสั่งสอนภิกษุ แต่ไม่ห้ามภิกษุสั่ง สอนภิกษุณี ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต อานนท์ ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตมีรับครุธรรม ๘ ข้อนี้ (การรับครุธรรม) นั้นแหละจงเป็นการอุปสมบทของพระนางมหาปชาบดีโคตมีนั้น @เชิงอรรถ : @ อาวาสที่ไม่มีภิกษุ หมายถึงสำนักของภิกษุณีที่ไม่มีภิกษุผู้จะให้โอวาทอยู่ภายในระยะ ๑ โยชน์ หรือมี @ภิกษุผู้จะให้โอวาทอยู่ภายในระยะ ๑ โยชน์ แต่เส้นทางที่จะไปยังสำนักภิกษุณีนั้นไม่ปลอดภัย @(ดู วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๑๐๔๘/๒๘๐, กงฺขา.อ. ๓๙๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๑๗}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนีขันธกะ]

                                                                 ๑. ปฐมภาณวาร

ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์เรียนครุธรรม ๘ จากพระผู้มีพระภาคแล้วเข้าไป หาพระนางมหาปชาบดีโคตมีถึงที่พัก ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับพระนางมหาปชาบดี โคตมีดังนี้ว่า “โคตมี ถ้าพระนางรับครุธรรม ๘ (การรับครุธรรม)นั้นแหละจะเป็น การอุปสมบทของพระนาง คือ ๑. ภิกษุณีถึงจะบวชได้ ๑๐๐ พรรษา ก็ต้องทำการกราบไหว้ ต้อนรับ ทำอัญชลีกรรม ทำสามีจิกรรมแก่ภิกษุผู้บวชแม้ในวันนั้น ธรรมข้อ นี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอด ชีวิต ๒. ภิกษุณีไม่พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อนี้ ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอด ชีวิต ๓. ภิกษุณีพึงหวังธรรม ๒ อย่าง คือ ถามอุโบสถและไปรับโอวาทจาก ภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต ๔. ภิกษุณีจำพรรษาแล้วพึงปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย โดยสถาน ๓ คือ ได้เห็น ได้ฟัง หรือได้นึกสงสัย ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต ๕. ภิกษุณีต้องครุธรรมแล้วพึงประพฤติปักขมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ธรรม ข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจน ตลอดชีวิต ๖. ภิกษุณีพึงแสวงหาการอุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่ายให้แก่สิกขมานาที่ ศึกษาธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต ๗. ภิกษุณีไม่พึงด่า ไม่พึงบริภาษภิกษุ ไม่ว่ากรณีใดๆ ธรรมข้อนี้ ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๑๘}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนีขันธกะ]

                                                                 ๑. ปฐมภาณวาร

๘. ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ห้ามภิกษุณีสั่งสอนภิกษุ แต่ไม่ห้ามภิกษุสั่ง สอนภิกษุณี ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต โคตมี ถ้าพระองค์รับครุธรรม ๘ นี้ (การรับครุธรรม)นั้นแหละจะเป็นการ อุปสมบทของพระองค์” พระนางมหาปชาบดีโคตมีกล่าวว่า “ท่านอานนท์ ดิฉันยอมรับครุธรรม ๘ ข้อนี้ ปฏิบัติไม่ละเมิดไปจนตลอดชีวิตทีเดียว เปรียบเหมือนหญิงสาวหรือชายหนุ่มผู้ชอบ แต่งกาย เมื่อสรงน้ำดำเกล้าแล้วได้พวงอุบล พวงมะลิ หรือพวงลำดวน ก็ใช้มือทั้ง สองประคองรับไว้เหนือศีรษะฉะนั้น” ต่อมา ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ครั้นแล้ว ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระนางมหา ปชาบดีโคตมียอมรับครุธรรม ๘ ข้อแล้ว พระมาตุจฉาของพระองค์อุปสมบทแล้ว พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้ามาตุคามจะไม่ออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้แล้ว พรหมจรรย์จะดำรงอยู่ได้นาน สัทธรรม จะดำรงอยู่ถึง ๑,๐๐๐ ปี แต่เพราะมาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัย ที่ตถาคต ประกาศไว้แล้ว บัดนี้พรหมจรรย์จะดำรงอยู่ได้ไม่นาน สัทธรรมจะตั้งอยู่ได้ เพียง ๕๐๐ ปีเท่านั้น๑- @เชิงอรรถ : @ สัทธรรมจะตั้งอยู่ได้เพียง ๕๐๐ ปี หมายความว่า ถ้าให้สตรีบวชโดยไม่ได้บัญญัติครุธรรมไว้ก่อน เวลา @ผ่านไป ๕๐๐ ปีก็จะไม่มีพระอรหันต์ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา แต่เมื่อบัญญัติครุธรรมไว้ก่อนที่สตรีจะบวช ใน @ระยะเวลา ๑,๐๐๐ ปีก็ยังมีพระอรหันต์ผู้บรรลุปฏิสัมภิทาอยู่ ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปีก็ยังมีพระอรหันต์ @สุกขวิปัสสกอยู่ ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปีก็ยังมีพระอนาคามีอยู่ ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปีก็ยังมีพระสกทาคามีอยู่ @ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปีก็ยังมีพระโสดาบันอยู่ สรุปว่าปฏิเวธสัทธรรมจะดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปี แม้ปริยัติธรรม @ก็ดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปี เพราะปริยัติกับปฏิเวธต่างเกื้อกูลกัน (วิ.อ. ๓/๔๐๓/๔๐๖-๔๐๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๑๙}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนีขันธกะ]

                                                                 ๑. ปฐมภาณวาร

อานนท์ ธรรมวินัยที่มีมาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตจะไม่ตั้งอยู่ได้นาน เปรียบเหมือนตระกูลหนึ่งที่มีสตรีมาก มีบุรุษน้อยจะถูกโจรปล้นทรัพย์ทำร้ายได้ง่าย อานนท์ ธรรมวินัยที่มีมาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตจะไม่ตั้งอยู่ได้นาน เหมือนหนอนขยอกที่ลงในนาข้าวสาลี ซึ่งอุดมสมบูรณ์ก็ทำให้นาข้าวนั้นไม่ตั้งอยู่ได้นาน อานนท์ ธรรมวินัยที่มีมาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตจะไม่ตั้งอยู่ได้นาน เหมือนเพลี้ยที่ลงในไร่อ้อยที่อุดมสมบูรณ์ก็ทำให้ไร่อ้อยนั้นไม่ตั้งอยู่ได้นาน อานนท์ เราบัญญัติครุธรรม ๘ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ซึ่งภิกษุณีทั้งหลายไม่พึง ละเมิดไปจนตลอดชีวิต ก็เหมือนคนกั้นทำนบที่สระใหญ่ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหล (เข้า)ออกไปฉะนั้น
อัฏฐครุธัมมะ จบ
๓. ภิกขุนีอุปสัมปทานุชานนะ
ว่าด้วยการอนุญาตให้อุปสมบทภิกษุณี
[๔๐๔] ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ครั้นถึงแล้วถวายอภิวาท ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร พระนางปชาบดีโคตมี ผู้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “หม่อมฉันจะปฏิบัติอย่างไร กับนางสากิยานีพวกนี้ พระพุทธเจ้าข้า” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีเห็นชัด ชวน ใจให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย ธรรมีกถา ลำดับนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วเสด็จกลับ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๒๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๓๑๖-๓๒๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=7&page=316&pages=5&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=7&A=8578 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=7&A=8578#p316 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 7 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_7 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7 https://84000.org/tipitaka/english/?index_7



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๑๖-๓๒๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]