ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒

หน้าที่ ๓๕๔-๓๕๖.


                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนีขันธกะ]

                                                                 ๓. ตติยภาณวาร

เรื่องปวารณา
[๔๒๗] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายไม่ปวารณากัน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีจะไม่ปวารณาไม่ได้ รูปใดไม่ ปวารณา พึงปรับอาบัติตามธรรม” สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายปวารณากันแล้วไม่ปวารณากับภิกษุสงฆ์ ภิกษุ ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีจะปวารณาด้วยตนเองแล้วไม่ ปวารณากับภิกษุสงฆ์ไม่ได้ รูปใดไม่ปวารณา พึงปรับอาบัติตามธรรม” สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายปวารณาพร้อมกับภิกษุทั้งหลาย จึงเกิดชุลมุนขึ้น ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงปวารณาพร้อมกับภิกษุ ทั้งหลาย รูปใดปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ” สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายปวารณาในเวลาก่อนภัตตาหาร ให้เวลาผ่านไป ภิกษุ ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีปวารณาในเวลา หลังภัตตาหาร” ภิกษุณีทั้งหลายเมื่อปวารณาในเวลาหลังภัตตาหาร ได้อยู่ในเวลาวิกาล ภิกษุ ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีปวารณากับภิกษุณี สงฆ์ในวันนี้ พอวันรุ่งขึ้นปวารณากับภิกษุสงฆ์” สมัยนั้น ภิกษุณีสงฆ์กำลังปวารณา เกิดชุลมุน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๕๔}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนีขันธกะ]

                                                                 ๓. ตติยภาณวาร

พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุณีผู้ฉลาด สามารถรูปหนึ่งเป็นตัวแทนภิกษุณีสงฆ์ให้ปวารณากับภิกษุสงฆ์”
วิธีแต่งตั้งและญัตติกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ คือ ในเบื้องต้นพึงขอร้องภิกษุณี จากนั้นภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงแต่งตั้งภิกษุณีชื่อนี้เป็นตัว แทนภิกษุณีสงฆ์ให้ไปปวารณากับภิกษุสงฆ์ นี่เป็นญัตติ แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุณีชื่อนี้ให้ปวารณากับภิกษุสงฆ์ แทนภิกษุณีสงฆ์ แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นตัวแทนภิกษุณีสงฆ์ ให้ไปปวารณากับภิกษุสงฆ์ แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้น พึงทักท้วง ภิกษุณีชื่อนี้ สงฆ์แต่งตั้งเป็นตัวแทนภิกษุณีสงฆ์ให้ไปปวารณากับภิกษุสงฆ์ สงฆ์ เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้ ภิกษุณีผู้ได้รับแต่งตั้งแล้ว พึงพาภิกษุณีสงฆ์เข้าไปหาภิกษุสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์ เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุแล้วนั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
คำปวารณา
พระคุณเจ้าทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ ด้วยได้เห็น ด้วยได้ยิน หรือด้วยนึกสงสัย ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายอาศัยความกรุณาตักเตือนภิกษุณีสงฆ์เถิด ภิกษุณีสงฆ์เมื่อเห็น(โทษ)ก็จะแก้ไข แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๕๕}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนีขันธกะ]

                                                                 ๓. ตติยภาณวาร

แม้ครั้งที่ ๓ พระคุณเจ้าทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ ด้วยได้เห็น ด้วยได้ยินหรือด้วยนึกสงสัย ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายอาศัยความกรุณาตักเตือนภิกษุณี สงฆ์เถิด ภิกษุณีสงฆ์เมื่อเห็น(โทษ)ก็จะแก้ไข
เรื่องการงดอุโบสถ
[๔๒๘] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายงดอุโบสถ งดปวารณาแก่ภิกษุทั้งหลาย ทำการ สอบถาม เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ขอโอกาส โจท ให้ภิกษุทั้งหลายให้การ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงงดอุโบสถแก่ภิกษุ แม้ งดแล้วก็ไม่เป็นอันงด รูปที่งดต้องอาบัติทุกกฏ ไม่พึงงดปวารณาแก่ภิกษุ แม้งด แล้วก็ไม่เป็นอันงด รูปที่งดต้องอาบัติทุกกฏ ไม่พึงทำการสอบถาม แม้ทำก็ไม่เป็น อันทำ รูปที่ทำต้องอาบัติทุกกฏ ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์แก่ภิกษุ แม้เริ่มก็ไม่เป็น อันเริ่ม รูปที่เริ่มต้องอาบัติทุกกฏ ไม่พึงขอโอกาสภิกษุ แม้ขอแล้วก็ไม่เป็นอันขอ รูปที่ขอต้องอาบัติทุกกฏ ไม่พึงโจทภิกษุ แม้โจทก็ไม่เป็นอันโจท รูปที่โจทต้องอาบัติ ทุกกฏ ไม่พึงให้ภิกษุให้การ แม้ให้ภิกษุให้การแล้วก็ไม่เป็นอันให้การ รูปที่ให้ภิกษุ ให้การ ต้องอาบัติทุกกฏ” สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายงดอุโบสถ งดปวารณาแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ทำการ สอบถาม เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ขอโอกาส โจท ให้ภิกษุณีให้การ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุงดอุโบสถแก่ภิกษุณี แม้งดแล้วก็เป็นอันงด รูปที่งดไม่ต้องอาบัติ ให้งดปวารณาแก่ภิกษุณี แม้งดแล้วก็ เป็นอันงดดีแล้ว รูปที่งดไม่ต้องอาบัติ ให้ทำการสอบถาม แม้ทำแล้วก็เป็นอันทำดี แล้ว รูปที่ทำไม่ต้องอาบัติ ให้เริ่มอนุวาทาธิกรณ์แก่ภิกษุณี แม้เริ่มแล้วก็เป็นอัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๕๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๓๕๔-๓๕๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=7&page=354&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=7&A=9599 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=7&A=9599#p354 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 7 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_7 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7 https://84000.org/tipitaka/english/?index_7



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๕๔-๓๕๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]