ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร

หน้าที่ ๓๖๔-๓๖๖.


                                                                 พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล]

                                                                 กติปุจฉาวาร

๕. ความไม่ประกอบ การไม่ทำ การไม่แกล้งต้อง การไม่ละเมิดเวลา ๖. การกำจัดด้วยอริยมรรคชื่อเสตุ นี้คือวินีตวัตถุ ๖ ประการ
วิบัติ ๔
ในหัวข้อเหล่านั้น วิบัติ ๔ เป็นไฉน คือ ๑. สีลวิบัติ ๒. อาจารวิบัติ ๓. ทิฏฐิวิบัติ ๔. อาชีววิบัติ นี้คือวิบัติ ๔ อย่าง
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
ในหัวข้อเหล่านั้น สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ เป็นไฉน คือ ๑. อาบัติเกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต ๒. อาบัติเกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางจิต ๓. อาบัติเกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต ๔. อาบัติเกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ๕. อาบัติเกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย ๖. อาบัติเกิดทางกายวาจากับจิต นี้คือสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
มูลเหตุแห่งวิวาท ๖ ๑-
[๒๗๒] ในหัวข้อเหล่านั้น มูลเหตุแห่งวิวาท ๖ ประการ คือ @เชิงอรรถ : @ วิ.จู. (แปล) ๖/๒๑๖/๓๓๒-๓๓๔, องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๓๖/๔๘๔-๔๘๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๖๔}

                                                                 พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล]

                                                                 กติปุจฉาวาร

ภิกษุในธรรมวินัย ๑. เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุใดเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุนั้น ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่ มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ย่อมก่อวิวาทให้เกิดขึ้นใน สงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณา เห็นมูล เหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลายพึงพยายาม เพื่อละมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ที่เป็นบาปภายในหรือภายนอกนั้นแล ถ้าเธอทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ภายในหรือ ภายนอก เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อให้มูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้น แลยืดเยื้อต่อไป การละมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้นย่อมมีได้ และ มูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้น ย่อมไม่ยืดเยื้อต่อไป ๒. เป็นผู้ลบหลู่ ตีเสมอ ฯลฯ ๓. เป็นผู้ริษยา มีความตระหนี่ ฯลฯ ๔. เป็นผู้โอ้อวด มีมายา ฯลฯ ๕. เป็นผู้มีความปรารถนาชั่วเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๖. เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนถือมั่นได้ยาก ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใด เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก ภิกษุนั้นไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ไม่มี ความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๖๕}

                                                                 พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล]

                                                                 กติปุจฉาวาร

ฯลฯ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ย่อมก่อวิวาท ให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณาเห็น มูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ทั้งภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลายพึง พยายามเพื่อละมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ที่เป็นบาปภายในหรือภายนอก นั้นแล ถ้าเธอทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ภายใน หรือภายนอก เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อให้มูลเหตุแห่งวิวาทที่ เป็นบาปนั้นแลยืดเยื้อต่อไป การละมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้น ย่อมมีได้ และมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้น ย่อมไม่ยืดเยื้อต่อไป
มูลเหตุแห่งการโจท ๖
[๒๗๓] ในหัวข้อเหล่านั้น มูลเหตุแห่งการโจท ๖ ประการ คือ ภิกษุในธรรมวินัย ๑. เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุใดเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุนั้น ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มี ความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ย่อมก่อการโจทให้เกิดขึ้น ในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่ มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณา เห็นมูลเหตุแห่งการโจทเช่นนี้ภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลายพึง พยายามเพื่อละมูลเหตุแห่งการโจทเช่นนี้ที่เป็นบาปภายในหรือภาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๖๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๓๖๔-๓๖๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=8&page=364&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=8&A=9586 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=8&A=9586#p364 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 8 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_8 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8 https://84000.org/tipitaka/english/?index_8



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๖๔-๓๖๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]