ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร

หน้าที่ ๓๖๙-๓๗๐.


                                                                 พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล]

                                                                 กติปุจฉาวาร

ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน สาราณียธรรม ๖ ประการนี้แล
สังฆเภท ๑๘ ประการ๑-
[๒๗๕] ในหัวข้อเหล่านั้น เรื่องทำความแตกร้าวกัน ๑๘ ประการ เป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. แสดงอธรรมว่า เป็นธรรม ๒. แสดงธรรมว่า เป็นอธรรม ๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า เป็นวินัย ๔. แสดงวินัยว่า มิใช่วินัย ๕. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้ตรัสไว้ ๖. แสดงสิ่งที่พระตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ ๗. แสดงจริยาวัตรที่พระตถาคตไม่ได้ทรงประพฤติมาว่า พระตถาคต ได้ทรงประพฤติมา ๘. แสดงจริยาวัตรที่พระตถาคตได้ทรงประพฤติมาว่า พระตถาคตไม่ได้ ทรงประพฤติมา ๙. แสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ว่า พระตถาคตได้ทรงบัญญัติไว้ ๑๐. แสดงสิ่งที่พระตถาคตได้ทรงบัญญัติไว้ว่า พระตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ @เชิงอรรถ : @ วิ.ม. (แปล) ๕/๔๖๘/๓๖๒-๓๖๓, วิ.จู. (แปล) ๗/๓๕๒/๒๑๔-๒๑๕, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๓๘/๘๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๖๙}

                                                                 พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล]

                                                                 กติปุจฉาวาร

๑๑. แสดงอาบัติว่า เป็นอนาบัติ ๑๒. แสดงอนาบัติว่า เป็นอาบัติ ๑๓. แสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติหนัก ๑๔. แสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติเบา ๑๕. แสดงอาบัติที่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ ๑๖. แสดงอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติที่มีส่วนเหลือ ๑๗. แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑๘. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้คือ เรื่องทำความแตกร้าวกัน ๑๘ ประการ
อธิกรณ์ ๔
ในหัวข้อเหล่านั้น อธิกรณ์ ๔ เป็นไฉน คือ ๑. วิวาทาธิกรณ์ ๒. อนุวาทาธิกรณ์ ๓. อาปัตตาธิกรณ์ ๔. กิจจาธิกรณ์ นี้คืออธิกรณ์ ๔ อย่าง
สมถะ ๗
ในหัวข้อเหล่านั้น สมถะ ๗ เป็นไฉน คือ ๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย ๓. อมูฬหวินัย ๔. ปฏิญญาตกรณะ ๕. เยภุยยสิกา ๖. ตัสสปาปิยสิกา ๗. ติณวัตถารกะ นี้คือสมถะ ๗ อย่าง
กติปุจฉาวาร จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๗๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๓๖๙-๓๗๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=8&page=369&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=8&A=9732 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=8&A=9732#p369 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 8 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_8 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8 https://84000.org/tipitaka/english/?index_8



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๖๙-๓๗๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]