ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร

หน้าที่ ๔๘๒-๔๘๖.


                                                                 พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

                                                                 ๗. สัตตกวาร

๗. สัตตกวาร
ว่าด้วยหมวด ๗
[๓๒๗] อาบัติมี ๗ กองอาบัติมี ๗ วินีตวัตถุมี ๗ สามีจิกรรมมี ๗ ทำตาม ปฏิญญาไม่ชอบธรรมมี ๗ ทำตามปฏิญญาชอบธรรมมี ๗ บุคคล ๗ จำพวก ภิกษุไปด้วยสัตตาหกรณียะไม่ต้องอาบัติ ทรงวินัยมีอานิสงส์ ๗ สิกขาบทที่ว่าด้วย อย่างยิ่งมี ๗ เพราะอรุณขึ้นไปสิ่งของเป็นนิสสัคคีย์มี ๗ สมถะมี ๗ กรรมมี ๗ ข้าวเปลือกดิบมี ๗ สร้างกุฎีด้านกว้างภายใน ๗ คืบ คณโภชนะมีอนุบัญญัติ ๗ ภิกษุรับประเคนเภสัชแล้วเก็บไว้ฉันได้ ๗ วันเป็นอย่างยิ่ง ภิกษุถือเอาจีวรที่ทำเสร็จ แล้วหลบหนีไป เก็บจีวรที่ทำเสร็จแล้วหลบหนีไป ภิกษุไม่เห็นอาบัติ ภิกษุเห็นอาบัติ ภิกษุทำคืนอาบัติ การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรมมี ๗ การงดปาติโมกข์ชอบธรรมมี ๗
ว่าด้วยองค์ของพระวินัยธร๑-
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๗ เป็นพระวินัยธรได้ คือ ๑. รู้อาบัติ ๒. รู้อนาบัติ ๓. รู้อาบัติเบา ๔. รู้อาบัติหนัก ๕. มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระ และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย ๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตาม ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ๗. ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน @เชิงอรรถ : @ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๗๕-๘๒/๑๗๑-๑๗๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๘๒}

                                                                 พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

                                                                 ๗. สัตตกวาร

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๗ แม้อื่นอีก เป็นพระวินัยธรได้ คือ ๑. รู้อาบัติ ๒. รู้อนาบัติ ๓. รู้อาบัติเบา ๔. รู้อาบัติหนัก ๕. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ มีการสั่งสมสุตะ เธอได้สดับมาก ทรงจำได้ แม่นยำ คล่องปาก ขึ้นใจ รู้ชัดด้วยปัญญาซึ่งธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน ๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตาม ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ๗. ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๗ แม้อื่นอีก เป็นพระวินัยธรได้ คือ ๑. รู้อาบัติ ๒. รู้อนาบัติ ๓. รู้อาบัติเบา ๔. รู้อาบัติหนัก ๕. จำปาติโมกข์ทั้ง ๒ โดยพิสดารได้ดี จำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี วินิจฉัยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะได้ดี ๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตาม ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ๗. ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๗ แม้อื่นอีก เป็นพระวินัยธรได้ คือ ๑. รู้อาบัติ ๒. รู้อนาบัติ ๓. รู้อาบัติเบา ๔. รู้อาบัติหนัก ๕. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติ บ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๘๓}

                                                                 พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

                                                                 ๗. สัตตกวาร

ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปบ้าง ตลอดวิวัฏฏ กัปบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปวิวัฏฏกัปบ้าง หลายกัปบ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูลอย่างนี้ มีวรรณะอย่างนั้นๆ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ มีกำหนดอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นไปเกิดในภพ โน้น มีชื่อ มีโคตร มีผิว มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ มีกำหนดอายุ อย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นมาเกิดในภพนี้ ย่อมระลึกถึงชาติก่อน ได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะและชีวประวัติด้วยประการฉะนี้ ๖. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุบัติ ทั้งชั้นต่ำทั้งชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่ง หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์ที่ประกอบด้วยกายทุจริต วจี ทุจริต มโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิดและชักชวน ผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด สัตว์เหล่านั้นหลังจากตายแล้วไป บังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบด้วย กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริตไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็น ชอบ ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ สัตว์เหล่านั้นหลังจาก ตายแล้วไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ย่อมเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุบัติ ทั้งชั้นต่ำทั้งชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและไม่ดี ด้วย ตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตาม กรรมด้วยประการฉะนี้ ๗. ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๗ ย่อมงาม คือ ๑. รู้อาบัติ ๒. รู้อนาบัติ ๓. รู้อาบัติเบา ๔. รู้อาบัติหนัก ๕. มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๘๔}

                                                                 พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

                                                                 ๗. สัตตกวาร

๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตาม ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ๗. ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๗ แม้อื่นอีก ย่อมงาม คือ ๑. รู้อาบัติ ๒. รู้อนาบัติ ๓. รู้อาบัติเบา ๔. รู้อาบัติหนัก ๕. เป็นพหูสูต ฯลฯ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน ๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตาม ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ๗. ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะ อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๗ แม้อื่นอีก ย่อมงาม คือ ๑. รู้อาบัติ ๒. รู้อนาบัติ ๓. รู้อาบัติเบา ๔. รู้อาบัติหนัก ๕. จำปาติโมกข์ทั้ง ๒ โดยพิสดารได้ดี จำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี วินิจฉัยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะได้ดี ๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตาม ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ๗. ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะ อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๗ แม้อื่นอีก ย่อมงาม คือ ๑. รู้อาบัติ ๒. รู้อนาบัติ ๓. รู้อาบัติเบา ๔. รู้อาบัติหนัก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๘๕}

                                                                 พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

                                                                 ๘. อัฏฐกวาร

๕. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ ฯลฯ ย่อมเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลัง อุบัติ ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและไม่ดีด้วยตาทิพย์ อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ ๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ๗. ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ว่าด้วยอสัทธรรมและสัทธรรม
อสัทธรรมมี ๗ ประการ คือ ๑. ไม่มีศรัทธา ๒. ไม่มีหิริ(ความละอายบาป) ๓. ไม่มีโอตตัปปะ(ความเกรงกลัวบาป) ๔. ได้ยินได้ฟังมาน้อย ๕. เกียจคร้าน ๖. หลงลืมสติ ๗. มีปัญญาเขลา สัทธรรมมี ๗ ประการ คือ ๑. มีศรัทธา ๒. มีหิริ ๓. มีโอตตัปปะ ๔. เป็นพหูสูต(ได้ยินได้ฟังมามาก) ๕. ปรารภความเพียร ๖. มีสติตั้งมั่น ๗. มีปัญญา
สัตตกวาร จบ
หัวข้อประจำวาร
อาบัติ กองอาบัติ วินีตวัตถุ สามีจิกรรม ทำตามปฏิญญาไม่ชอบธรรม ทำตามปฏิญญาชอบธรรม ไปด้วยสัตตาหกรณียะไม่ต้องอาบัติ อานิสงส์การทรงวินัย สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่างยิ่ง อรุณขึ้น สิ่งของเป็นนิสสัคคีย์ สมถะ กรรม ข้าวเปลือกดิบ สร้างกุฎีด้านกว้าง คณโภชนะ เก็บเภสัชไว้ได้เจ็ดวันเป็นอย่างยิ่ง ภิกษุถือเอาจีวรไป เก็บจีวรแล้วหลีกไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๘๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๔๘๒-๔๘๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=8&page=482&pages=5&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=8&A=12842 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=8&A=12842#p482 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 8 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_8 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8 https://84000.org/tipitaka/english/?index_8



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๘๒-๔๘๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]