ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

หน้าที่ ๒๔๔-๒๔๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๓. เตวิชชสูตร]

                                                                 ทรงแสดงทางไปพรหมโลก

พรหมโลกหรือข้อปฏิบัติที่พาไปพรหมโลก จะไม่ชักช้าหรือรีรอเลย เพราะเรารู้จัก พรหมโลกและข้อปฏิบัติที่พาไปพรหมโลก อีกทั้งรู้ว่า พรหมปฏิบัติอย่างไรจึงได้เข้า ถึงพรหมโลก” [๕๕๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ วาเสฏฐมาณพกราบทูลว่า “ท่าน พระโคดม ข้าพระองค์ได้ฟังมาว่า พระสมณโคดมทรงแสดงทางไปเพื่อความเป็นผู้อยู่ ร่วมกับพระพรหม ข้าพระองค์ขอวโรกาส ขอท่านพระโคดมโปรดแสดงทางไปเพื่อ ความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพระพรหม โปรดอนุเคราะห์ชุมชนพราหมณ์ด้วยเถิด” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วาเสฏฐะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงฟัง จงตั้งใจให้ดี เราจะกล่าว” เขาทูลรับสนองพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว
ทรงแสดงทางไปพรหมโลก
[๕๕๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วาเสฏฐะ ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็น พระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ ฯลฯ๑- (พึงนำข้อความเต็มในสามัญญผลสูตร มาใส่ไว้ในที่นี้) ภิกษุชื่อว่าสมบูรณ์ด้วยศีลเป็นอย่างนี้แล ฯลฯ เมื่อภิกษุนั้นพิจารณา เห็นนิวรณ์ ๕ ที่ตนละได้แล้วย่อมเกิดความเบิกบานใจ เมื่อเบิกบานใจก็ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับความสุข เมื่อมีความสุข จิตย่อม ตั้งมั่น ภิกษุนั้นมีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิต อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ วาเสฏฐะ กรรมที่ทำพอประมาณในเมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลอบรมแล้ว อย่างนี้จะไม่เหลืออยู่ในรูปาวจรและอรูปาวจร เปรียบเหมือนคนเป่าสังข์ผู้แข็งแรงพึง @เชิงอรรถ : @ ความเต็มเหมือนในสามัญญผลสูตร ข้อ ๑๙๔-๒๑๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๔๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๓. เตวิชชสูตร]

                                                                 ทรงแสดงทางไปพรหมโลก

ให้ผู้อื่นได้ยินตลอดทั้ง ๔ ทิศได้โดยไม่ยาก วาเสฏฐะ นี้แลเป็นทางไปเพื่อความเป็น ผู้อยู่ร่วมกับพรหม ยังมีอีก วาเสฏฐะ ภิกษุมีกรุณาจิต ฯลฯ มีมุทิตาจิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิตแผ่ไป ตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน เบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไป ตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่ มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ วาเสฏฐะ กรรมที่ทำพอประมาณในอุเบกขาเจโตวิมุตติที่บุคคลอบรมแล้วอย่าง นี้ จะไม่เหลืออยู่ในรูปาวจรและอรูปาวจร เปรียบเหมือนคนเป่าสังข์ผู้แข็งแรงพึงให้ ผู้อื่นได้ยินตลอดทั้ง ๔ ทิศได้โดยไม่ยาก วาเสฏฐะ นี้แลเป็นทางไปเพื่อความเป็นผู้ อยู่ร่วมกับพรหม [๕๕๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้จะมีเครื่องเกาะเกี่ยวหรือไม่มีเครื่องเกาะเกี่ยว” เขาทูลตอบว่า “ไม่มีเครื่องเกาะเกี่ยว ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “คิดจองเวรหรือไม่คิดจองเวร” เขาทูลตอบว่า “ไม่คิดจองเวร ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “คิดเบียดเบียนหรือไม่คิดเบียดเบียน” เขาทูลตอบว่า “ไม่คิดเบียดเบียน ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “มีจิตเศร้าหมองหรือมีจิตไม่เศร้าหมอง” เขาทูลตอบว่า “มีจิตไม่เศร้าหมอง ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “บังคับจิตให้อยู่ในอำนาจได้หรือบังคับจิตให้อยู่ ในอำนาจไม่ได้” เขาทูลตอบว่า “บังคับจิตให้อยู่ในอำนาจได้ ท่านพระโคดม” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๔๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๒๔๔-๒๔๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=9&page=244&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=9&A=7174 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=9&A=7174#p244 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 9 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_9 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu9 https://84000.org/tipitaka/english/?index_9



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๔๔-๒๔๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]