ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

หน้าที่ ๘๗.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๓. อัมพัฏฐสูตร]

                                                                 เรื่องพราหมณ์โปกขรสาติ

๓. อัมพัฏฐสูตร
ว่าด้วยชายหนุ่มชื่ออัมพัฏฐะ
[๒๕๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เสด็จถึงหมู่บ้านพราหมณ์ชาวโกศลชื่ออิจฉานังคลคาม ประทับอยู่ ณ ราวป่าอิจฉานังคลวัน ใกล้อิจฉานังคลคาม
เรื่องพราหมณ์โปกขรสาติ
[๒๕๕] สมัยนั้น พราหมณ์โปกขรสาติ๑- ปกครองเมืองอุกกัฏฐะซึ่งมีประชากร และสัตว์เลี้ยงมากมาย มีพืชพันธุ์ธัญญาหารและน้ำหญ้าอุดมสมบูรณ์ เป็นพระ ราชทรัพย์ที่พระเจ้าปเสนทิโกศลพระราชทานปูนบำเหน็จให้เป็นพรหมไทย(ส่วน พิเศษ) พราหมณ์โปกขรสาติได้ฟังข่าวว่า “ท่านพระสมณโคดมเป็นศากยบุตรเสด็จ ออกผนวชจากศากยตระกูล เสด็จจาริกอยู่ในแคว้นโกศลพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เสด็จถึงอิจฉานังคลคามโดยลำดับ ประทับอยู่ ณ ราวป่า อิจฉานังคลวัน ใกล้อิจฉานังคลคาม ท่านพระโคดมนั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไป อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วย พระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็น สารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า๒- เป็นพระผู้มีพระภาค๓- พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก @เชิงอรรถ : @ พราหมณ์ผู้นี้มีผิวกายเหมือนดอกบัวขาว งดงามดุจเสาระเนียดเงิน ศีรษะสีดำดุจมรกต หนวดดุจปุยเมฆ @ดำในดวงจันทร์ ลูกตาทั้ง ๒ ข้างเหมือนดอกบัวเขียว จมูกกลมเกลี้ยงเกลา ฝ่ามือฝ่าเท้าและช่องปาก @งดงามดังไล้ทาด้วยสีครั่ง เขาเป็นคนที่มีร่างกายงดงามมาก (ที.สี.อ. ๒๕๕/๒๑๙) @ ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า เพราะทรงรู้สิ่งที่ควรรู้ทั้งหมดด้วยพระองค์เองและทรงสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม @ ชื่อว่า เป็นพระผู้มีพระภาค เพราะ (๑) ทรงมีโชค (๒) ทรงทำลายข้าศึกคือกิเลส (๓) ทรงประกอบด้วย @ภคธรรม ๖ ประการ (คือ ความเป็นใหญ่เหนือจิตของตน, โลกุตตรธรรม, ยศ, สิริ, ความสำเร็จประโยชน์ @ตามต้องการ และความเพียร) (๔) ทรงจำแนกแจกแจงธรรม (๕) ทรงเสพอริยธรรม (๖) ทรงคาย @ตัณหาในภพทั้งสาม (๗) ทรงเป็นที่เคารพของชาวโลก (๘) ทรงอบรมพระองค์ดีแล้ว (๙) ทรงมีส่วน @แห่งปัจจัย ๔ เป็นต้น (วิ.อ. ๑/๑๐๓-๑๑๘, สารตฺถ.ฏีกา. ๑/๒๗๐) @อนึ่ง พุทธคุณนี้ ท่านแบ่งเป็น ๑๐ ประการ โดยแยกพุทธคุณข้อ ๖ เป็น ๒ ประการ คือ (๑) เป็น @ผู้ยอดเยี่ยม (๒) เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้ (วิสุทฺธิ. ๑/๒๖๕, วิ.อ. ๑/๑๑๒-๑๑๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๘๗}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๘๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=9&page=87&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=9&A=2559 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=9&A=2559#p87 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 9 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_9 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu9 https://84000.org/tipitaka/english/?index_9



จบการแสดงผล หน้าที่ ๘๗.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]