ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑
สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๘
เรื่องพระทัพพมัลลบุตร
[๕๓๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อัน เป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระทัพพมัลลบุตรมี อายุ ๗ ปี นับแต่เกิด ได้ทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัตคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งสาวกจะพึงบรรลุ ท่านได้บรรลุแล้วโดยลำดับทั้งหมด อนึ่ง ท่านไม่มีกรณียกิจ อะไรที่ยิ่งขึ้นไป หรือกรณียกิจที่ ท่านทำเสร็จแล้วก็ไม่ต้องกลับสั่งสมอีก [๕๓๙] ครั้งนั้น ท่านพระทัพพมัลลบุตร ไปในที่สงัด หลีกเร้นอยู่ ได้มีความ ปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เรามีอายุ ๗ ปี นับแต่เกิด ได้ทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัต คุณสมบัติ อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งสาวกจะพึงบรรลุ เราได้บรรลุแล้วโดยลำดับทุกอย่าง อนึ่งเล่า เราไม่มีกรณี- *ยกิจอะไรที่ยิ่งขึ้นไป หรือกรณียกิจที่ทำเสร็จแล้วก็ไม่ต้องกลับสั่งสมอีก เราควรทำการช่วยเหลือ อะไรหนอแก่สงฆ์ ลำดับนั้น ท่านพระทัพพมัลลบุตรได้คิดตกลงใจว่า ผิฉะนั้น เราควรแต่งตั้งเสนา สนะและแจกอาหารแก่สงฆ์ ครั้นท่านออกจากที่เร้นในเวลาเย็นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าไปในที่สงัด หลีกเร้นอยู่ ณ ตำบลนี้ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ข้าพระพุทธเจ้ามีอายุ ๗ ปี นับแต่เกิด ได้ทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัตแล้ว คุณสมบัติอย่างใดอย่าง หนึ่งซึ่งสาวกจะพึงบรรลุ ข้าพระพุทธเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับทุกอย่าง อนึ่งเล่า ข้าพระพุทธเจ้า ไม่มีกรณียกิจอะไรที่ยิ่งขึ้นไป หรือกรณียกิจที่ข้าพระพุทธเจ้าทำเสร็จแล้วก็ไม่ต้องกลับสั่งสมอีก ข้าพระพุทธเจ้าควรทำการช่วยเหลืออะไรหนอแก่สงฆ์ พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าคิดตกลงใจ ว่ามิฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าควรแต่งตั้งเสนาสนะและแจกอาหารแก่สงฆ์ ข้าพระพุทธเจ้าปรารถนา จะแต่งตั้งเสนาสนะ และแจกอาหารแก่สงฆ์ พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ ทัพพะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงแต่งตั้งเสนาสนะและ แจกอาหารแก่สงฆ์เถิด ท่านพระทัพพมัลลบุตรกราบทูลรับสนองแด่พระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้นพระพุทธเจ้าข้า
สมมติภิกษุผู้แต่งตั้งเสนาสนะและแจกอาหาร
[๕๔๐] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงสมมติ ทัพพมัลลบุตรให้เป็นผู้แต่งตั้งเสนาสนะและแจกอาหาร
วิธีสมมติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ เบื้องต้นพึงขอให้ทัพพะรับ ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติ ท่านพระทัพพมัลลบุตร ให้เป็นผู้แต่งตั้งเสนาสนะและแจกอาหาร นี่เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติท่านพระทัพพมัลลบุตร ให้เป็นผู้แต่งตั้งเสนาสนะและแจก อาหาร การสมมติท่านพระทัพพมัลลบุตร ให้เป็นผู้แต่งตั้งเสนาสนะและแจกอาหาร ชอบแก่ ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ท่านพระทัพพมัลลบุตร อันสงฆ์สมมติให้เป็นผู้แต่งตั้งเสนาสนะและแจกอาหารแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้. [๕๔๑] ก็แล ท่านพระทัพพมัลลบุตร อันสงฆ์สมมติแล้วย่อมแต่งตั้งเสนาสนะรวมไว้ เป็นพวกๆ สำหรับหมู่ภิกษุผู้สม่ำเสมอกัน คือ ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ทรงพระสูตร ท่านก็แต่งตั้ง เสนาสนะรวมภิกษุเหล่านั้นไว้แห่งหนึ่ง ด้วยประสงค์ว่าพวกเธอจักซักซ้อมพระสูตรกัน ภิกษุ เหล่าใดเป็นผู้ทรงวินัย ท่านก็แต่งตั้งเสนาสนะรวมภิกษุเหล่านั้นไว้แห่งหนึ่ง ด้วยประสงค์ว่า พวกเธอจักวินิจฉัยพระวินัยกัน ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ทรงพระอภิธรรม ท่านก็แต่งตั้งเสนาสนะ รวมภิกษุเหล่านั้นไว้แห่งหนึ่ง ด้วยประสงค์ว่า พวกเธอจักสนทนาพระอภิธรรมกัน ภิกษุเหล่าใด เป็นผู้ได้ฌาน ท่านก็แต่งตั้งเสนาสนะรวมภิกษุเหล่านั้นไว้แห่งหนึ่ง ด้วยประสงค์ว่า พวกเธอจัก ไม่รบกวนกัน ภิกษุเหล่าใดชอบกล่าวดิรัจฉานกถา ยังมีการบำรุงร่างกายอยู่มาก ท่านก็แต่งตั้งเสนา- *สนะรวมภิกษุเหล่านั้นไว้แห่งหนึ่งด้วย ประสงค์ว่า ท่านเหล่านี้จักอยู่ด้วยความยินดีแม้นี้ ภิกษุ เหล่าใดมาในเวลาค่ำคืน ท่านก็เข้าจตุตถฌานมีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ แล้วแต่งตั้งเสนาสนะแม้ สำหรับภิกษุเหล่านั้นโดยแสงสว่างนั้นนั่นแล ภิกษุทั้งหลายย่อมแกล้งมาแม้ในเวลาค่ำคืน ด้วย ประสงค์ว่าพวกเราจักได้ชมอิทธิปาฏิหาริย์ของท่านพระทัพพมัลลบุตรดังนี้ก็มี ภิกษุเหล่านั้นเข้าไป หาท่านพระทัพพมัลลบุตรแล้วพูดอย่างนี้ว่า พระคุณเจ้าทัพพะ ขอท่านจงแต่งตั้งเสนาสนะให้พวก กระผม ท่านพระทัพพมัลลบุตรถามภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ท่านปรารถนาจะอยู่ที่ไหน กระผมจะ แต่งตั้งให้ ณ ที่ไหน ภิกษุเหล่านั้นแกล้งอ้างที่ไกลๆ ว่าพระคุณเจ้าทัพพะ ขอท่านจงแต่งตั้ง เสนาสนะให้พวกกระผม ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ขอท่านจงแต่งตั้งเสนาสนะให้พวกกระผมที่เหวสำหรับ ทิ้งโจร ขอท่านจงแต่งตั้งเสนาสนะให้พวกกระผมที่กาฬสิลาข้างภูเขาอิสิคิลิ ขอท่านจงแต่งตั้ง เสนาสนะให้พวกกระผมที่ถ้ำสัตตบรรณคูหาข้างภูเขาเวภาระ ขอท่านจงแต่งตั้งเสนาสนะให้พวก กระผมที่เงี้ยมเขาสัปปโสณฑิกะใกล้สีตวัน ขอท่านจงแต่งตั้งเสนาสนะให้พวกกระผมที่ซอกเขา โคมฏะ ขอท่านจงแต่งตั้งเสนาสนะให้พวกกระผมที่ซอกเขาตินทุกะ ขอท่านจงแต่งตั้งเสนาสนะ ให้พวกกระผมที่ซอกเขากโปตะ ขอท่านจงแต่งตั้งเสนาสนะให้พวกกระผมที่ตโปทาราม ขอท่าน จงแต่งตั้งเสนาสนะให้พวกกระผมที่ชีวกัมพวัน ขอท่านจงแต่งตั้งเสนาสนะให้พวกกระผมที่ มัททกุจฉิมฤคทายวัน ท่านพระทัพพมัลลบุตรจึงเข้าจตุตถฌานมีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ มีองคุลี ส่องแสงสว่างเดินนำหน้าภิกษุเหล่านั้นไป แม้ภิกษุเหล่านั้นก็เดินตามหลังท่านพระทัพพมัลลบุตร ไปโดยแสงสว่างนั้นแล ท่านพระทัพพมัลลบุตรแต่งตั้งเสนาสนะสำหรับภิกษุเหล่านั้น โดยชี้แจง อย่างนี้ว่า นี่เตียง นี่ตั่ง นั่นฟูก นี่หมอน นี่ที่ถ่ายอุจจาระ นี่ที่ถ่ายปัสสาวะ นี่น้ำฉัน นี่น้ำใช้ นี่ไม้เท้า นี่ระเบียบกติกาสงฆ์ ควรเข้าเวลานี้ ควรออกเวลานี้ ครั้นแต่งตั้งเสร็จแล้ว กลับมาสู่ พระเวฬุวันวิหารตามเดิม.
เรื่องพระเมตติยะและพระภุมมชกะ
[๕๔๒] ก็โดยสมัยนั้นแล พระเมตติยะและพระภุมมชกะ เป็นพระบวชใหม่ และ มีบุญน้อย เสนาสนะของสงฆ์ชนิดเลวและอาหารอย่างเลว ย่อมตกถึงแก่เธอทั้งสอง ครั้งนั้น ชาวบ้านในพระนครราชคฤห์ชอบถวาย เนยใสบ้าง น้ำมันบ้าง แกงที่มีรสดีๆ บ้าง ซึ่งจัดปรุง เฉพาะพระเถระทั้งหลาย ส่วนพระเมตติยะและพระภุมมชกะ เขาถวายอาหารอย่างธรรมดาตามแต่ จะหาได้ เป็นชนิดปลายข้าว มีน้ำส้มเป็นกับ เวลาหลังอาหาร เธอทั้งสองกลับจากบิณฑบาตแล้ว เที่ยวถามพวกภิกษุผู้เถระว่า ในโรงฉันของพวกท่านมีอาหารอะไรบ้างขอรับ ในโรงฉันของพวก ท่านมีอาหารอะไรบ้างขอรับ พระเถระบางพวกบอกอย่างนี้ว่า พวกเรามีเนยใส น้ำมัน แกงที่มี รสอร่อยๆ ขอรับ ส่วนพระเมตติยะและพระภุมมชกะพูดอย่างนี้ว่า พวกกระผมไม่มีอะไรเลย ขอรับ มีแต่อาหารอย่างธรรมดาตามแต่ที่จะหาได้ เป็นชนิดปลายข้าวมีน้ำส้มเป็นกับ. [๕๔๓] สมัยต่อมา คหบดีผู้ชอบถวายอาหารที่ดี ถวายภัตตาหารวันละ ๔ ที่แก่สงฆ์ เป็นนิจภัต เขาพร้อมด้วยบุตรภรรยาอังคาสอยู่ใกล้ๆ ในโรงฉัน คนอื่นๆ ย่อมถามด้วยข้าวสุก กับข้าว น้ำมัน แกงที่มีรสอร่อย คราวนั้น ภัตตุเทสก์ ได้ถวายภัตตาหารของคหบดีผู้ชอบ ถวายอาหารที่ดี แก่พระเมตติยะและพระภุมมชกะ เพื่อฉันในวันรุ่งขึ้น ขณะนั้นท่านคหบดีไปสู่ อารามด้วยกรณียะบางอย่าง แล้วเข้าไปหาท่านพระทัพพมัลลบุตรถึงที่สำนัก ครั้นนมัสการท่าน ทัพพมัลลบุตรแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระทัพพมัลลบุตรยังท่านคหบดีผู้นั่งแล้ว ให้ เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ครั้นแล้วท่านคหบดีได้เรียนถาม ท่านว่า ภัตตาหารเพื่อจะฉันในวันพรุ่งนี้ที่เรือนของเกล้ากระผม พระคุณเจ้าจัดถวายแก่ภิกษุรูปไหน ขอรับ ท่านพระทัพพมัลลบุตรตอบว่า อาตมาจัดให้แก่พระเมตติยะกับพระภุมมชกะแล้ว จ้ะ ขณะนั้น ท่านคหบดีได้มีความน้อยใจว่า ไฉนภิกษุผู้ลามกจักฉันภัตตาหารในเรือนเราเล่า แล้วไปเรือนสั่งหญิงคนใช้ไว้ว่า แม่สาวใช้ เจ้าจงจัดอาสนะไว้ที่ซุ้มประตู แล้วอังคาสภิกษุผู้จะ มาฉันภัตตาหารในวันพรุ่งนี้ ด้วยปลายข้าว มีน้ำส้มเป็นกับ หญิงคนใช้รับคำของท่านคหบดีว่า อย่างนั้น เจ้าค่ะ ครั้งนั้น พระเมตติยะและพระภุมมชกะกล่าวแก่กันว่า คุณเมื่อวานนี้ ท่านภัตตุเทสก์ จัดภัตตาหารในเรือนท่านกัลยาณถัตติกคหบดีให้พวกเรา พรุ่งนี้ท่านคหบดีพร้อมด้วยบุตรภรรยาจัก อังคาสเราอยู่ใกล้ๆ คนอื่นๆ จักถามด้วยข้าวสุก กับข้าว น้ำมัน แกงที่มีรสอร่อยๆ ด้วย ความดีใจนั้น แล ตกกลางคืนเธอทั้งสองนั้นจำวัดหลับไม่เต็มตื่น ครั้นเวลาเช้า พระเมตติยะ และพระภุมมชกะ ครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรและจีวรเดินเข้าไปยังนิเวศน์ของกัลยาณภัตติก คหบดี หญิงใช้นั้นได้แลเห็นพระเมตติยะและพระภุมมชกะ กำลังเดินมาแต่ไกล ครั้นแล้วจึงปู อาสนะถวายที่ซุ้มประตู แล้วกล่าวว่า นิมนต์นั่ง เจ้าค่ะ จึงพระเมตติยะและพระภุมมชกะนึกว่า ภัตตาหารจะยังไม่เสร็จเป็นแน่ เขาจึงให้เรานั่ง พักที่ซุ้มประตูก่อน ขณะนั้นหญิงคนใช้นำอาหารปลายข้าว ซึ่งมีน้ำผักดองเป็นกับเข้าไปถวายกล่าวอาราธนา ว่านิมนต์ฉันเถิด เจ้าค่ะ พ. น้องหญิง พวกฉันเป็นพระรับฉันนิจภัต จ้ะ ญ. ดิฉันทราบแล้วเจ้าค่ะว่า พระคุณเจ้าเป็นพระรับฉันนิจภัต แต่เมื่อวานนี้เอง ท่าน คหบดีได้สั่งดิฉันไว้ว่า แม่สาวใช้ เจ้าจงจัดอาสนะไว้ที่ซุ้มประตู แล้วอังคาสภิกษุผู้จะมาฉัน ภัตตาหารในวันพรุ่งนี้ ด้วยปลายข้าว มีน้ำส้มเป็นกับ ดังนี้ นิมนต์ฉันเถิด เจ้าค่ะ จึงพระเมตติยะและพระภุมมชกะปรึกษากันว่า อาวุโส เมื่อวานนี้เอง ท่านคหบดีไป สู่อารามในสำนักพระทัพพมัลลบุตร พวกเราคงถูกพระทัพพมัลลบุตร ยุยงในสำนักคหบดีเป็น แน่นอนทีเดียว เพราะความเสียใจนั้นแล เธอทั้งสองรูปนั้นฉันไม่ได้ดังใจนึก ครั้นกลับจาก บิณฑบาตถึงอารามในเวลาหลังอาหาร เก็บบาตรและจีวรแล้ว นั่งรัดเข่าด้วยผ้าสังฆาฏิอยู่ภายนอก ซุ้มประตูอาราม นิ่งอั้น เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่พูดจา.
เรื่องภิกษุณีเมตติยา
[๕๔๔] ครั้งนั้นแล ภิกษุณีเมตติยาเข้าไปหาพระเมตติยะและพระภุมมชกะถึงสำนัก ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ดิฉันไหว้ เจ้าค่ะ เมื่อนางกล่าวอย่างนั้นแล้ว พระเมตติยะและพระภุมมชกะก็มิได้ทักทายปราศรัย นางจึง กล่าวว่าดิฉันไหว้ เจ้าค่ะ เป็นครั้งที่สอง แม้ครั้งที่สอง พระเมตติยะและพระภุมมชกะก็มิได้ ทักทายปราศรัย นางจึงได้กล่าวอีกเป็นครั้งที่สามว่า ดิฉันไหว้เจ้าค่ะ แม้ครั้งที่สาม พระเมตติยะ และพระภุมมชกะก็มิได้ทักทายปราศรัย ภิกษุณีเมตติยาถามว่า ดิฉันผิดอย่างไรต่อพระคุณเจ้าๆ ไม่ทักทายปราศรัยกับดิฉัน เพื่อ ประสงค์อะไร? ภิกษุทั้งสองตอบว่า ก็จริงอย่างนั้นแหละ น้องหญิง พวกเราถูกพระทัพพมัลลบุตร เบียดเบียนอยู่ เธอยังเพิกเฉยได้ เม. ดิฉันจะช่วยเหลืออย่างไร เจ้าคะ ภิ. น้องหญิง ถ้าเธอเต็มใจช่วย วันนี้แหละพระผู้มีพระภาคต้องให้พระทัพพมัลลบุตรสึก เม. ดิฉันจะทำอย่างไร ดิฉันสามารถจะช่วยเหลือได้ด้วยวิธีไหน ภิ. มาเถิด น้องหญิง เธอจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วจึงกราบทูล อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า กรรมนี้ไม่มิดเม้น ไม่สมควร ทิศที่ไม่มีภัย ไม่มีจัญไร ไม่มีอันตราย บัดนี้กลับมามีภัย มีจัญไร มีอันตราย ณ สถานที่ไม่มีลม บัดนี้กลับมามีลมแรงขึ้น หม่อมฉัน ถูกพระคุณเจ้าทัพพมัลลบุตรประทุษร้ายคล้ายน้ำถูกไฟเผา พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุณีเมตติยา รับคำของพระเมตติยะและพระภุมมชกะ ว่าตกลงเจ้าค่ะ แล้วเข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถวายบังคมแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่งกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า กรรมนี้ไม่มิดเม้น ไม่สมควร ทิศที่ไม่มีภัย ไม่มีจัญไร ไม่มีอันตราย บัดนี้ กลับมามีภัย มีจัญไร มีอันตราย ณ สถานที่ไม่มีลม บัดนี้กลับมามีลมแรงขึ้น หม่อมฉันถูก พระคุณเจ้า ทัพพมัลลบุตร ประทุษร้าย คล้ายน้ำถูกไฟเผา พระพุทธเจ้าข้า.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบสวน
[๕๔๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระทัพพมัลลบุตรว่า ดูกรทัพพะ เธอยังระลึกได้ หรือว่า เป็นผู้ทำกรรมดังนางภิกษุณีนี้กล่าวหา ท่านพระทัพพมัลลบุตรกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ย่อมทรงทราบว่า ข้าพระ- *พุทธเจ้าเป็นฉันใด แม้ครั้งที่สองแล พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามท่านพระทัพพมัลลบุตรว่า ดูกรทัพพะ เธอยังระลึกได้หรือว่า เป็นผู้ทำกรรมดังนางภิกษุณีนี้กล่าวหา ท่านพระทัพพมัลลบุตรกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ย่อมทรงทราบว่า ข้าพระพุทธ- *เจ้าเป็นฉันใด แม้ครั้งที่สามแล พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามท่านพระทัพพมัลลบุตรว่า ดูกรทัพพะ เธอยังระลึกได้หรือว่า เป็นผู้ทำกรรมดังนางภิกษุณีนี้กล่าวหา ท่านพระทัพพมัลลบุตรกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ย่อมทรงทราบว่า ข้าพระพุทธ- *เจ้าเป็นฉันใด ภ. ดูกรทัพพะ บัณฑิตย่อมไม่กล่าวแก้คำกล่าวหาเช่นนี้ ถ้าเธอทำก็จงบอกว่าทำ ถ้าเธอ ไม่ได้ทำ ก็จงบอกว่าไม่ได้ทำ ท. พระพุทธเจ้าข้า ตั้งแต่ข้าพระพุทธเจ้าเกิดมา แม้โดยความฝันก็ยังไม่รู้จักเสพเมถุน ธรรม จะกล่าวไยถึงเมื่อตอนตื่นอยู่เล่า ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น แล พวกเธอจงให้ภิกษุณีเมตติยาสึกเสีย และจงสอบสวนภิกษุเหล่านี้ รับสั่งดังนี้แล้ว พระองค์เสด็จลุกขึ้นจากที่ประทับ เข้าพระวิหาร หลังจากนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ให้ภิกษุณีเมตติยาสึก จึงพระเมตติยะและพระภุมมชกะ ได้แถลงเรื่องนี้กะภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโสทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลาย อย่าให้ภิกษุณีเมตติยาสึก เลย นางไม่ผิดอะไร พวกกระผมแค้นเคือง ไม่พอใจ มีความประสงค์จะให้ท่านพระทัพพมัลล- *บุตร เคลื่อนจากพรหมจรรย์ จึงได้ให้นางใส่ไคล้ ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า อาวุโสทั้งหลาย ก็นี่พวกคุณโจทท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยธรรม มีโทษถึงปาราชิก อันหามูลมิได้หรือ ภิกษุสองรูปนั้นสารภาพว่า อย่างนั้น ขอรับ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่สิกขา ต่างพากัน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระเมตติยะและพระภุมมชกะ จึงได้โจทท่านพระทัพพ- *มัลลบุตรด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิก อันหามูลมิได้เล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระเมตติยะและพระภุมมชกะว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอโจททัพพมัลลบุตร ด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิก อันหามูลมิได้ จริงหรือ ภิกษุสองรูปนั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้ โจททัพพมัลลบุตรด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิกอันหามูลมิได้เล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใส แล้ว โดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอนั่นเป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่น ของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงติเตียนพระเมตติยะและพระภุมมชกะ โดยเอนกปริยาย ดังนี้ แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความ เป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็น คนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การ ไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยเอนกปริยาย แล้วทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัย อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อ ข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบัง เกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง ไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระ สัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๒. ๘. อนึ่ง ภิกษุใด ขัดใจ มีโทสะ ไม่แช่มชื่น ตามกำจัด ซึ่งภิกษุ ด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิก อันหามูลมิได้ ด้วยหมายว่า แม้ไฉนเราจะยังเธอให้ เคลื่อนจากพรหมจรรย์นี้ได้ ครั้นสมัยอื่นแต่นั้นอันผู้ใดผู้หนึ่ง ถือเอาตามก็ตาม ไม่ ถือเอาตามก็ตาม แต่อธิกรณ์นั้น เป็นเรื่องหามูลมิได้ แลภิกษุยันอิงโทสะอยู่ เป็น สังฆาทิเสส.
เรื่องพระเมตติยะและพระภุมมชกะ จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๕๔๖] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติ อย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์ อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง ... ใด บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ พระอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์ พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันกำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะนี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ บทว่า ซึ่งภิกษุ หมายภิกษุอื่น บทว่า ขัดใจ มีโทสะ คือโกรธ ไม่ถูกใจ ไม่พอใจ แค้นใจ เจ็บใจ บทว่า ไม่แช่มชื่น คือ เป็นคนมีใจไม่แช่มชื่น เพราะความโกรธนั้น เพราะโทสะ นั้น เพราะความไม่ถูกใจนั้น และเพราะความไม่พอใจนั้น ที่ชื่อว่า อันหามูลมิได้ คือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้รังเกียจ บทว่า ด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิก คือ ด้วยปาราชิกธรรม ทั้ง ๔ สิกขาบท สิกขาบท ใด สิกขาบทหนึ่ง บทว่า ตามกำจัด ได้แก่โจทเอง หรือสั่งให้โจท พากย์ว่า แม้ไฉนเราจะยังเธอให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์นี้ได้ ความว่า ให้เคลื่อน จากภิกษุภาพ ให้เคลื่อนจากสมณธรรม ให้เคลื่อนจากศีลขันธ์ ให้เคลื่อนจากคุณคือตบะ [๕๔๗] คำว่า ครั้นสมัยอื่นแต่นั้น ความว่า เมื่อขณะคราวครู่หนึ่งที่ภิกษุผู้ถูกตาม กำจัดนั้น ผ่านไปแล้ว บทว่า อันผู้ใดผู้หนึ่งถือเอาตามก็ตาม คือ ภิกษุเป็นผู้ถูกตามกำจัดด้วยเรื่องใด มีคน เชื่อในเพราะเรื่องนั้นก็ตาม บทว่า ไม่ถือเอาตามก็ตาม คือ ไม่มีใครๆ พูดถึง [๕๔๘] ที่ชื่อว่า อธิกรณ์ ได้แก่อธิกรณ์ ๔ อย่าง คือวิวาทาธิกรณ์ ๑ อนุวาทาธิกรณ์ ๑ อาปัตตาธิกรณ์ ๑ กิจจาธิกรณ์ ๑ [๕๔๙] คำว่า แลภิกษุยันอิงโทสะอยู่ ความว่า ภิกษุกล่าวปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าพูด เปล่าๆ พูดเท็จ พูดไม่จริง ข้าพเจ้าไม่รู้ ได้พูดแล้ว บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้น ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต เรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้นจึงตรัส เรียกว่า สังฆาทิเสส คำว่า สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือ เป็นชื่อของอาบัตินิกาย นั้นแล แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.
บทภาชนีย์
ไม่เห็น โจทว่าได้เห็น
[๕๕๐] ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้เห็นภิกษุผู้กำลังต้องปาราชิกธรรม ถ้าโจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้เห็น ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด
ไม่ได้ยิน โจทว่าได้ยิน
ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้ยินว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม ถ้าโจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้ยิน ท่านเป็น ผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด
ไม่รังเกียจ โจทว่ารังเกียจ
ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้รังเกียจว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม ถ้าโจทเธอว่า ข้าพเจ้ารังเกียจ ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถ ก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
โจทก์ไม่เห็น
[๕๕๑] ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้เห็นภิกษุผู้กำลังต้องปาราชิกธรรม ถ้าโจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้ เห็นและได้ยิน ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้เห็นภิกษุผู้กำลังต้องปาราชิกธรรม ถ้าโจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้เห็น และ รังเกียจ ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้เห็นภิกษุผู้กำลังต้องปาราชิกธรรม ถ้าโจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
โจทก์ไม่ได้ยิน
ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้ยินว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม ถ้าโจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้ยิน และ รังเกียจ ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้ยินว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม ถ้าโจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้ยิน และ ได้เห็น ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้ยินว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม ถ้าโจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้ยิน รังเกียจ และได้เห็น ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
โจทก์ไม่รังเกียจ
ภิกษุผู้โจทก์ไม่รังเกียจว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม ถ้าโจทเธอว่า ข้าพเจ้ารังเกียจ และ ได้เห็น ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ไม่รังเกียจว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม ถ้าโจทเธอว่า ข้าพเจ้ารังเกียจ และ ได้ยิน ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ไม่รังเกียจว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม ถ้าโจทเธอว่า ข้าพเจ้ารังเกียจ ได้เห็น และได้ยิน ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
โจทก์เห็น
[๕๕๒] ภิกษุผู้โจทก์ ได้เห็นภิกษุผู้กำลังต้องปาราชิกธรรม ถ้าโจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้ยิน ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุผู้กำลังต้องปาราชิกธรรม ถ้าโจทเธอว่า ข้าพเจ้ารังเกียจ ท่าน เป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุผู้กำลังต้องปาราชิกธรรม ถ้าโจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้ยินและ รังเกียจ ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
โจทก์ได้ยิน
ภิกษุผู้โจทก์ได้ยินว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม ถ้าโจทเธอว่า ข้าพเจ้ารังเกียจ ท่านเป็น ผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ได้ยินว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม ถ้าโจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้เห็น ท่าน เป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ได้ยินว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม ถ้าโจทเธอว่า ข้าพเจ้ารังเกียจ และได้เห็น ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
โจทก์รังเกียจ
ภิกษุผู้โจทก์รังเกียจว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม ถ้าโจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้เห็น ท่านเป็น ผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์รังเกียจว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม ถ้าโจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้ยิน ท่านเป็น ผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์รังเกียจว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม ถ้าโจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้เห็นและได้ยิน ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
โจทก์เห็น สงสัย
[๕๕๓] ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุผู้กำลังต้องปาราชิกธรรม มีความสงสัยในสิ่งที่ได้เห็น คือเห็นแล้วกำหนดไม่ได้ ระลึกไม่ได้ ลืมเสีย ถ้าโจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้เห็นและได้ยิน ท่าน เป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุผู้กำลังต้องปาราชิกธรรม มีความสงสัยในสิ่งที่ได้เห็น คือเห็น แล้วกำหนดไม่ได้ ระลึกไม่ได้ ลืมเสีย ถ้าโจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้เห็นและรังเกียจ ท่านเป็น ผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุผู้กำลังต้องปาราชิกธรรม มีความสงสัยในสิ่งที่ได้เห็น คือเห็น แล้ว กำหนดไม่ได้ ระลึกไม่ได้ ลืมเสีย ถ้าโจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
โจทก์ได้ยิน สงสัย
ภิกษุผู้โจทก์ได้ยินว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม มีความสงสัยในเรื่องที่ได้ยิน คือได้ยิน แล้วกำหนดไม่ได้ ระลึกไม่ได้ ลืมเสีย ถ้าโจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้ยิน และรังเกียจ ท่านเป็น ผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ได้ยินว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม มีความสงสัยในเรื่องที่ได้ยิน คือได้ยิน แล้วกำหนดไม่ได้ ระลึกไม่ได้ ลืมเสีย ถ้าโจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้ยิน และได้เห็น ท่านเป็น ผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ได้ยินว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม มีความสงสัยในเรื่องที่ได้ยิน คือได้ยิน แล้วกำหนดไม่ได้ ระลึกไม่ได้ ลืมเสีย ถ้าโจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้ยิน รังเกียจและได้เห็น ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
โจทก์รังเกียจ สงสัย
ภิกษุผู้โจทก์รังเกียจว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม มีความสงสัยในเรื่องที่รังเกียจ คือ รังเกียจแล้วกำหนดไม่ได้ ระลึกไม่ได้ ลืมเสีย ถ้าโจทเธอว่า ข้าพเจ้ารังเกียจและได้เห็น ท่าน เป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์รังเกียจว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม มีความสงสัยในเรื่องที่รังเกียจ คือรังเกียจ แล้วกำหนดไม่ได้ ระลึกไม่ได้ ลืมเสีย ถ้าโจทเธอว่า ข้าพเจ้ารังเกียจและได้ยิน ท่านเป็น ผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์รังเกียจว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม มีความสงสัยในเรื่องที่รังเกียจ คือ รังเกียจแล้วกำหนดไม่ได้ ระลึกไม่ได้ ลืมเสีย ถ้าโจทเธอว่า ข้าพเจ้ารังเกียจ ได้เห็นและ ได้ยิน ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
โจทก์ไม่เห็น สั่งให้โจทก์ว่าได้เห็น
[๕๕๔] ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้เห็นภิกษุผู้กำลังต้องปาราชิกธรรม ถ้าสั่งให้โจทเธอว่า ข้าพเจ้า ได้เห็น ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
โจทก์ไม่ได้ยิน สั่งให้โจทก์ว่าได้ยิน
ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้ยินว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม ถ้าสั่งให้โจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้ยิน ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
โจทก์ไม่รังเกียจ สั่งให้โจทว่ารังเกียจ
ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้รังเกียจว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม ถ้าสั่งให้โจทเธอว่า ข้าพเจ้ารังเกียจ ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
โจทก์ไม่เห็น สั่งให้โจท
[๕๕๕] ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้เห็นภิกษุผู้กำลังต้องปาราชิกธรรม ถ้าสั่งให้โจทเธอว่า ข้าพเจ้า ได้เห็น ได้ยิน ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้เห็นภิกษุผู้กำลังต้องปาราชิกธรรม ถ้าสั่งให้โจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้เห็น ได้รังเกียจ ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้เห็นภิกษุผู้กำลังต้องปาราชิกธรรม ถ้าสั่งให้โจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้เห็น ได้ยิน ได้รังเกียจ ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระ ศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
โจทก์ไม่ได้ยิน สั่งให้โจท
ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้ยินว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม ถ้าสั่งให้โจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้ยิน ได้รังเกียจ ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้ยินว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม ถ้าสั่งให้โจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้ยิน ได้เห็น ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้ยินว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม ถ้าสั่งให้โจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้ยิน ได้รังเกียจ ได้เห็น ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
โจทก์ไม่ได้รังเกียจ สั่งให้โจท
ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้รังเกียจว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม ถ้าสั่งให้โจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้ รังเกียจ ได้เห็น ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากย บุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้รังเกียจว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม ถ้าสั่งให้โจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้ รังเกียจ ได้ยิน ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากย บุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้รังเกียจว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม ถ้าสั่งให้โจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้ รังเกียจ ได้เห็น ได้ยิน ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
โจทก์ได้เห็น สั่งให้โจท
[๕๕๖] ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุผู้กำลังต้องปาราชิกธรรม ถ้าสั่งให้โจทเธอว่า ข้าพเจ้า ได้ยิน ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุผู้กำลังต้องปาราชิกธรรม ถ้าสั่งให้โจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้รังเกียจ ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุผู้กำลังต้องปาราชิกธรรม ถ้าสั่งให้โจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้ยิน ได้รังเกียจ ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
โจทก์ได้ยิน สั่งให้โจท
ภิกษุผู้โจทก์ได้ยินว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม ถ้าสั่งให้โจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้รังเกียจ ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ได้ยินว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม ถ้าสั่งให้โจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้เห็น ท่าน เป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ได้ยินว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม ถ้าสั่งให้โจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้รังเกียจ ได้เห็น ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
โจทก์รังเกียจ สั่งให้โจท
ภิกษุผู้โจทก์รังเกียจว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม ถ้าสั่งให้โจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้เห็น ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์รังเกียจว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม ถ้าสั่งให้โจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้ยิน ท่าน เป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์รังเกียจว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม ถ้าสั่งให้โจทเธอว่าข้าพเจ้าได้เห็น ได้ยิน ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
โจทก์เห็น สงสัย สั่งให้โจท
[๕๕๗] ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุผู้กำลังต้องปาราชิกธรรม มีความสงสัยในสิ่งที่เห็น คือ เห็นแล้วกำหนดไม่ได้ ระลึกไม่ได้ ลืมเสีย ถ้าสั่งให้โจทเธอว่าข้าพเจ้าได้เห็น ได้ยิน ท่านเป็น ผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุผู้กำลังต้องปาราชิกธรรม มีความสงสัยในสิ่งที่เห็น คือเห็นแล้ว กำหนดไม่ได้ ระลึกไม่ได้ ลืมเสีย ถ้าสั่งให้โจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้เห็น ได้รังเกียจ ท่านเป็น ผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุผู้กำลังต้องปาราชิกธรรม มีความสงสัยในสิ่งที่เห็น คือเห็นแล้ว กำหนดไม่ได้ ระลึกไม่ได้ ลืมเสีย ถ้าสั่งให้โจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้เห็น ได้ยิน ได้รังเกียจ ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
โจทก์ได้ยิน สงสัย สั่งให้โจท
ภิกษุผู้โจทก์ได้ยินว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม มีความสงสัยในเรื่องที่ได้ยิน คือได้ยิน แล้วกำหนดไม่ได้ ระลึกไม่ได้ ลืมเสีย ถ้าสั่งให้โจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้ยิน ได้รังเกียจ ท่านเป็น ผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ได้ยินว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม มีความสงสัยในเรื่องที่ได้ยิน คือได้ยินแล้ว กำหนดไม่ได้ ระลึกไม่ได้ ลืมเสีย ถ้าสั่งให้โจทเธอ ว่าข้าพเจ้าได้ยิน ได้เห็น ท่านเป็นผู้ต้อง ปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ได้ยินว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม มีความสงสัยในเรื่องที่ได้ยิน คือได้ยิน แล้วกำหนดไม่ได้ ระลึกไม่ได้ ลืมเสีย ถ้าสั่งให้โจทเธอ ว่าข้าพเจ้าได้ยิน ได้เห็น ได้รังเกียจ ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
โจทก์รังเกียจ สงสัย สั่งให้โจท
ภิกษุผู้โจทก์รังเกียจว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม มีความสงสัยในเรื่องที่รังเกียจ คือรังเกียจ แล้วกำหนดไม่ได้ ระลึกไม่ได้ ลืมเสีย ถ้าสั่งให้โจทเธอ ว่าข้าพเจ้าได้รังเกียจ ได้เห็น ท่านเป็น ผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่ได้ร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์รังเกียจว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม มีความสงสัยในเรื่องที่รังเกียจ คือรังเกียจ แล้วกำหนดไม่ได้ ระลึกไม่ได้ ลืมเสีย ถ้าสั่งให้โจทเธอ ว่าข้าพเจ้าได้รังเกียจ ได้ยิน ท่านเป็น ผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์รังเกียจว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม มีความสงสัยในเรื่องที่รังเกียจ คือรังเกียจ แล้วกำหนดไม่ได้ ระลึกไม่ได้ ลืมเสีย ถ้าสั่งให้โจทเธอ ว่าข้าพเจ้าได้รังเกียจ ได้เห็น ได้ยิน ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
ความเห็น ๔ อย่าง
[๕๕๘] จำเลยเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ โจทก์มีความเห็นว่า เป็นผู้บริสุทธิ์ ๑ จำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ โจทก์มีความเห็นว่า เป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ๑ จำเลยเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ โจทก์มีความเห็นว่า เป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ๑ จำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ โจทก์มีความเห็นว่า เป็นผู้บริสุทธิ์ ๑. [๕๕๙] ภิกษุต้องปาราชิกธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้โจทก์ เห็นว่า เป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ขอโอกาสต่อเธอก่อนแล้วโจทเธอ หมายจะให้เคลื่อน ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติสังฆาทิเสส ภิกษุต้องปาราชิกธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้โจทก์เห็นว่า เป็น ผู้บริสุทธิ์ ขอโอกาสต่อเธอก่อนแล้วโจทเธอ หมายจะให้เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ภิกษุต้องปาราชิกธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้โจทก์เห็นว่า เป็น ผู้บริสุทธิ์ ไม่ขอโอกาสต่อเธอก่อนแล้วโจทเธอ หมายจะด่า ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะโอมสวาท ๑- @ โอมสวาท คือคำพูดเสียดแทงให้เจ็บใจ. ภิกษุต้องปาราชิกธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้โจทก์เห็นว่า เป็น ผู้บริสุทธิ์ ขอโอกาสต่อเธอก่อนแล้วโจทเธอ หมายจะด่า ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะโอมสวาท. [๕๖๐] ภิกษุไม่ต้องปาราชิกธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้โจทก์ เห็นว่า เป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ไม่ขอโอกาสต่อเธอก่อนแล้วโจทเธอ หมายจะด่า ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุไม่ต้องปาราชิกธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้โจทก์เห็นว่า เป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ขอโอกาสต่อเธอก่อนแล้วโจทเธอ หมายจะด่า ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุไม่ต้องปาราชิกธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้โจทก์เห็นว่า เป็น ผู้ไม่บริสุทธิ์ ไม่ขอโอกาสต่อเธอก่อนแล้วโจทเธอ หมายจะด่า ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติ ปาจิตตีย์ ในเพราะโอมสวาท ภิกษุไม่ต้องปาราชิกธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้โจทก์เห็นว่า เป็น ผู้ไม่บริสุทธิ์ ขอโอกาสต่อเธอก่อนแล้วโจทเธอ หมายจะด่า ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะโอม- *สวาท. [๕๖๑] ภิกษุต้องปาราชิกธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้โจทก์ เห็นว่า เป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ไม่ขอโอกาสต่อเธอก่อนแล้วโจทเธอหมายจะด่า ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุต้องปาราชิกธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้โจทก์เห็นว่า เป็น ผู้ไม่บริสุทธิ์ ขอโอกาสต่อเธอก่อนแล้วโจทเธอ หมายจะด่า ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุต้องปาราชิกธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้โจทก์เห็นว่า เป็น ผู้ไม่บริสุทธิ์ ไม่ขอโอกาสต่อเธอก่อนแล้วโจทเธอ หมายจะด่า ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติ ปาจิตตีย์ ในเพราะโอมสวาท ภิกษุต้องปาราชิกธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้โจทก์เห็นว่า เป็น ผู้ไม่บริสุทธิ์ ขอโอกาสต่อเธอก่อนแล้วโจทเธอ หมายจะด่า ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะโอม สวาท. [๕๖๒] ภิกษุไม่ต้องปาราชิกธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้โจทก์ เห็นว่า เป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ขอโอกาสต่อเธอก่อนแล้วโจทเธอ หมายจะด่า ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติสังฆาทิเสส ภิกษุไม่ต้องปาราชิกธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้โจทก์เห็นว่า เป็น ผู้บริสุทธิ์ ขอโอกาสต่อเธอก่อนแล้วโจทเธอ หมายจะด่า ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ภิกษุไม่ต้องปาราชิกธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้โจทก์เห็นว่า เป็น ผู้บริสุทธิ์ ไม่ขอโอกาสต่อเธอก่อนแล้วโจทเธอ หมายจะด่า ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะโอมสวาท ภิกษุไม่ต้องปาราชิกธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้โจทก์เห็นว่า เป็น ผู้บริสุทธิ์ ขอโอกาสต่อเธอก่อนแล้วโจทเธอ หมายจะด่า ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะโอมสวาท.
อนาปัตติวาร
[๕๖๓] ภิกษุจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ ภิกษุโจทก์มีความเห็นว่าเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ๑ ภิกษุจำเลย เป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ภิกษุโจทก์มีความเห็นว่าเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สิกขาบทที่ ๘ จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๗๓๑๐-๑๗๘๔๐ หน้าที่ ๖๖๖ - ๖๘๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=17310&Z=17840&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?item=549&book=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=1&siri=51              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=538              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_read.php?B=1&A=7262              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_read.php?B=1&A=7262              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_1

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]