ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
วรรคที่ไม่สงเคราะห์เป็นปัณณาสก์
สัปปุริสวรรคที่ ๑
[๒๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัปบุรุษ อสัปบุรุษที่ยิ่งกว่า อสัปบุรุษ สัปบุรุษ และสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษ แก่เธอทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาค แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัปบุรุษ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นฐานแห่งความประมาท บุคคลนี้เราเรียกว่า อสัปบุรุษ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นคนฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการฆ่าสัตว์อีกด้วย ลักทรัพย์ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการลักทรัพย์อีกด้วย ประพฤติผิดใน กามด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการประพฤติผิดในกามอีกด้วย พูดเท็จด้วย ตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการพูดเท็จอีกด้วย ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็น ฐานแห่งความประมาทด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการดื่มน้ำเมาคือสุราและ เมรัยอันเป็นฐานแห่งความประมาทอีกด้วย บุคคลนี้เราเรียกว่า อสัปบุรุษยิ่งกว่า อสัปบุรุษ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้งด เว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการลักทรัพย์ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม งดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นฐานแห่ง ความประมาท บุคคลนี้เราเรียกว่า สัปบุรุษ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัปบุรุษผู้ยิ่งกว่าสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนใน โลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตัวเอง และชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการ ฆ่าสัตว์อีกด้วย เป็นผู้งดเว้นจากการลักทรัพย์ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้งด เว้นจากการลักทรัพย์อีกด้วย เป็นผู้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกามด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกามอีกด้วย เป็นผู้งดเว้นจากการ พูดเท็จด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเท็จอีกด้วย เป็นผู้งดเว้น จากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นฐานแห่งความประมาทด้วยตนเอง และ ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานแห่งความ ประมาทอีกด้วย บุคคลนี้เราเรียกว่า สัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษ ฯ [๒๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัปบุรุษ อสัปบุรุษที่ยิ่งกว่า อสัปบุรุษ สัปบุรุษ และสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีโอตตัปปะมีสุตะน้อย เป็นคนเกียจ คร้าน มีสติหลงลืม มีปัญญาทราม บุคคลนี้เราเรียกว่า อสัปบุรุษ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ ตนเองเป็นผู้ไม่มีศรัทธา และชักชวนผู้อื่นในความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา อีกด้วย ตนเองไม่มีหิริ และชักชวนผู้อื่นในความเป็นผู้ไม่มีหิริอีกด้วย ตนเอง เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ และชักชวนผู้อื่นในความเป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะอีกด้วย ตนเอง มีสุตะน้อย และชักชวนผู้อื่นในความเป็นผู้มีสุตะน้อยอีกด้วย ตนเองเป็นผู้เกียจ คร้าน และชักชวนผู้อื่นในความเป็นผู้เกียจคร้านอีกด้วย ตนเองมีสติหลงลืม และชักชวนผู้อื่นในความเป็นผู้มีสติหลงลืมอีกด้วย ตนเองมีปัญญาทราม และ ชักชวนผู้อื่นในความเป็นผู้มีปัญญาทรามอีกด้วย บุคคลผู้นี้เราเรียกว่า อสัปบุรุษ ที่ยิ่งกว่าอสัปบุรุษ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มี ศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ เป็นพหูสูต ปรารภความเพียร มีสติ มีปัญญา บุคคลนี้เราเรียกว่า สัปบุรุษ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนใน โลกนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความถึงพร้อม ด้วยศรัทธาอีกด้วย เป็นผู้มีหิริด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความเป็นผู้มีหิริ อีกด้วย เป็นผู้มีโอตตัปปะด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความเป็นผู้มีโอตตัปปะอีก ด้วย เป็นผู้มีสติตั้งมั่นด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความมีสติตั้งมั่นอีกด้วย เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความถึงพร้อมด้วย ปัญญาอีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษ ฯ [๒๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัปบุรุษ อสัปบุรุษที่ยิ่งกว่า อสัปบุรุษ สัปบุรุษ และสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนมักฆ่าสัตว์ มักลักทรัพย์ มักประพฤติผิดในกาม มักพูดเท็จ มักพูด คำส่อเสียด มักพูดคำหยาบ มักพูดคำเพ้อเจ้อ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้ เราเรียกว่า อสัปบุรุษ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นผู้มักฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการฆ่าสัตว์อีกด้วย เป็นผู้มักลักทรัพย์ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้ลักทรัพย์อีกด้วย เป็นผู้มัก ประพฤติผิดในกามด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้ประพฤติผิดในกามอีกด้วย เป็นผู้มักกล่าวเท็จด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้กล่าวเท็จด้วยตนเอง และ ชักชวนผู้อื่นให้กล่าวเท็จอีกด้วย เป็นผู้มักกล่าวคำส่อเสียดด้วยตนเอง และ ชักชวนผู้อื่นให้กล่าวคำส่อเสียดอีกด้วย เป็นผู้มักกล่าวคำหยาบด้วยตนเอง และ ชักชวนผู้อื่นให้กล่าวคำหยาบอีกด้วย เป็นผู้มักกล่าวคำเพ้อเจ้อด้วยตนเอง และ ชักชวนผู้อื่นให้กล่าวคำเพ้อเจ้ออีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่า อสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัปบุรุษ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ งดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้นจากอทินนาทาน งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้น จากมุสาวาท งดเว้นจากปิสุณวาจา งดเว้นจากผรุสวาจา งดเว้นจากสัมผัปปลาปะ ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลนี้เราเรียกว่าสัปบุรุษ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาตด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจาก ปาณาติบาตอีกด้วย เป็นผู้งดเว้นจากอทินนาทานด้วยตนเอง และชักชวน ผู้อื่นให้งดเว้นจากอทินนาทานอีกด้วย เป็นผู้งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารอีกด้วย เป็นผู้งดเว้นจากมุสาวาท ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากมุสาวาทอีกด้วย เป็นผู้งดเว้น จากปิสุณวาจาด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากปิสุณวาจาอีกด้วย เป็นผู้งดเว้นจากผรุสวาจาด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากผรุสวาจา อีกด้วย เป็นผู้งดเว้นจากสัมผัปปลาปะด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้งดเว้น จากสัมผัปปลาปะอีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าสัปบุรุษ ที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษ ฯ [๒๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัปบุรุษ อสัปบุรุษที่ยิ่งกว่า อสัปบุรุษ สัปบุรุษ และสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็นคนมักโลภ มีจิตพยาบาท มีความเห็นผิด ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าอสัปบุรุษ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนใน โลกนี้ เป็นผู้มักฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการฆ่าสัตว์อีกด้วย ฯลฯ เป็นคนมักโลภด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความมักโลภอีกด้วย เป็นผู้มีจิต พยาบาทด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความพยาบาทอีกด้วย เป็นผู้มีความเห็น ผิดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความเห็นผิดอีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล นี้เราเรียกว่าอสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัปบุรุษ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ เป็นผู้ไม่มักโลภ ไม่มีจิตพยาบาท มีความเห็นชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าสัปบุรุษ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนใน โลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาตด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากปาณา- *ติบาตอีกด้วย ฯลฯ เป็นผู้ไม่มักโลภด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความไม่โลภอีก ด้วย เป็นผู้ไม่มีจิตพยาบาทด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความไม่พยาบาทอีกด้วย เป็นผู้มีความเห็นชอบด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความเห็นชอบอีกด้วย ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษ ฯ [๒๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัปบุรุษ อสัปบุรุษที่ยิ่งกว่า อสัปบุรุษ สัปบุรุษ และสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นผิด มีความดำริผิด มีวาจาผิด มีการงานผิด มีอาชีพผิด มี ความพยายามผิด ตั้งสติผิด ตั้งใจมั่นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่า อสัปบุรุษ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นผิดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความเห็นผิดอีก ด้วย เป็นผู้มีความดำริผิดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความดำริผิดอีกด้วย เป็นผู้มีวาจาผิดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในวาจาผิดอีกด้วย เป็นผู้มีการงาน ผิดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการงานผิดอีกด้วย เป็นผู้มีอาชีพผิดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในอาชีพผิดอีกด้วย เป็นผู้มีความพยายามผิดด้วยตนเอง และ ชักชวนผู้อื่นในความพยายามผิดอีกด้วย เป็นผู้ตั้งสติผิดด้วยตนเอง และชักชวน ผู้อื่นในการตั้งสติผิดอีกด้วย เป็นผู้ตั้งใจมั่นผิดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นใน การตั้งใจมั่นผิดอีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าอสัปบุรุษที่ยิ่งกว่า อสัปบุรุษ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มี ความเห็นชอบ มีความดำริชอบ มีวาจาชอบ มีการงานชอบ มีอาชีพชอบ มี ความพยายามชอบ ตั้งสติชอบ ตั้งใจมั่นชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรา เรียกว่าสัปบุรุษ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นชอบด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความเห็นชอบอีก ด้วย เป็นผู้มีความดำริชอบด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความดำริชอบอีกด้วย เป็นผู้มีวาจาชอบด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในวาจาชอบอีกด้วย เป็นผู้มีการ งานชอบด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการงานชอบอีกด้วย เป็นผู้มีอาชีพชอบ ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในอาชีพชอบอีกด้วย เป็นผู้มีความพยายามชอบ ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความพยายามชอบอีกด้วย เป็นผู้ตั้งสติชอบด้วย ตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการตั้งสติชอบอีกด้วย เป็นผู้ตั้งใจมั่นด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความตั้งใจมั่นอีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่า สัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษ ฯ [๒๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัปบุรุษ อสัปบุรุษที่ยิ่งกว่า อสัปบุรุษ สัปบุรุษ และสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นผิด ฯลฯ เป็นผู้มีความรู้ผิด เป็นผู้มีความพ้นผิด ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่า อสัปบุรุษ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นผิดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความเห็นผิดอีก ด้วย ฯลฯ เป็นผู้มีความรู้ผิดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความรู้ผิดอีกด้วย เป็นผู้มีความพ้นผิดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความพ้นผิดอีกด้วย ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าอสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัปบุรุษ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มี ความเห็นชอบ ฯลฯ เป็นผู้มีความรู้ชอบ เป็นผู้มีความพ้นชอบ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกสัปบุรุษ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นชอบด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความเห็นชอบ อีกด้วย ฯลฯ เป็นผู้มีความรู้ชอบด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความรู้ชอบ อีกด้วย เป็นผู้มีความพ้นชอบด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความพ้นชอบ อีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษ ฯ [๒๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงคนชั่ว คนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่ว คนดี และคนดีที่ยิ่งกว่าคนดี แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็คนชั่วเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็นผู้มีความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าคนชั่ว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่วเป็นไฉน บุคคลบางคนใน โลกนี้ เป็นผู้มักฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการฆ่าสัตว์อีกด้วย ฯลฯ เป็นผู้มีความเห็นผิดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความเห็นผิดอีกด้วย ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าคนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่ว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คนดีเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้งดเว้น จากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่า คนดี ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คนดีที่ยิ่งกว่าคนดีเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ อีกด้วย ฯลฯ เป็นผู้มีความเห็นชอบด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความ เห็นชอบอีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าคนดีที่ยิ่งกว่าคนดี ฯ [๒๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงคนชั่ว คนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่ว คนดี และคนดีที่ยิ่งกว่าคนดี แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คนชั่วเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ มีความเห็นผิด ฯลฯ มีความรู้ผิด มีความพ้นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าคนชั่ว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่วเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นผิดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความเห็นผิดอีก ด้วย ฯลฯ เป็นผู้มีความรู้ผิดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความรู้ผิดอีกด้วย เป็นผู้มีความพ้นผิดด้วยตนเองและชักชวนผู้อื่นในความพ้นผิดอีกด้วย ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าคนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่ว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คนดีเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีความ เห็นชอบ ฯลฯ มีความรู้ชอบ มีความพ้นชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้ เราเรียกว่าคนดี ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คนดีที่ยิ่งกว่าคนดีเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นชอบด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความเห็นชอบอีกด้วย ฯลฯ เป็นผู้มีความรู้ชอบด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความรู้ชอบอีกด้วย เป็นผู้ มีความพ้นชอบด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความพ้นชอบอีกด้วย ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าคนดีที่ยิ่งกว่าคนดี ฯ [๒๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงบุคคลผู้มีธรรมอันลามก บุคคล ผู้มีธรรมอันลามกที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมอันลามก บุคคลผู้มีธรรมอันงาม และบุคคล ผู้มีธรรมอันงามที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมอันงาม แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีธรรมอันลามกเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่า ผู้มีธรรมอันลามก ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีธรรมอันลามกที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมอัน ลามกเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และชักชวน ผู้อื่นในฆ่าสัตว์อีกด้วย ฯลฯ เป็นผู้มีความเห็นผิดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่น ในความเห็นผิดอีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าผู้มีธรรมอันลามก ที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมอันลามก ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีธรรมอันงามเป็นไฉน บุคคลบางคนใน โลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นชอบ บุคคลนี้เราเรียกว่า ผู้มีธรรมอันงาม ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีธรรมอันงามที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมอันงาม เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และ ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์อีกด้วย ฯลฯ เป็นผู้มีความเห็นชอบด้วย ตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความเห็นชอบอีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้ เราเรียกว่าผู้มีธรรมอันงามที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมอันงาม ฯ [๒๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงบุคคลผู้มีธรรมอันลามก บุคคล ผู้มีธรรมอันลามกที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมอันลามก บุคคลผู้มีธรรมอันงาม และ บุคคลผู้มีธรรมอันงามที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมอันงาม แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีธรรมอันลามกเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นผิด ฯลฯ มีความรู้ผิด มีความพ้นผิด ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่า ผู้มีธรรมอันลามก ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีธรรมอันลามกที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมอัน ลามกเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นผิดด้วยตนเอง และ ชักชวนผู้อื่นในความเห็นผิดอีกด้วย ฯลฯ เป็นผู้มีความรู้ผิดด้วยตนเอง และ ชักชวนผู้อื่นในความรู้ผิดอีกด้วย เป็นผู้มีความพ้นผิดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่น ในความพ้นผิดอีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่า ผู้มีธรรมอันลามก ที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมอันลามก ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีธรรมอันงามเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นชอบ ฯลฯ มีความรู้ชอบ มีความพ้นชอบ บุคคล นี้เราเรียกว่าผู้มีธรรมอันงาม ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีธรรมอันงามที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมอันงาม เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ตนเองเป็นผู้มีความเห็นชอบ และชักชวน ผู้อื่นในความเห็นชอบอีกด้วย ฯลฯ ตนเองเป็นผู้มีความรู้ชอบ และชักชวนผู้อื่น ในความรู้ชอบอีกด้วย ตนเองเป็นผู้มีความพ้นชอบ และชักชวนผู้อื่นในความ พ้นชอบอีกด้วย บุคคลนี้เราเรียกว่าบุคคลผู้มีธรรมอันงามที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรม อันงาม ฯ
จบสัปปุริสวรรคที่ ๑
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๕๘๔๕-๖๐๗๒ หน้าที่ ๒๔๙ - ๒๕๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=5845&Z=6072&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?item=208&book=21              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=21&siri=137              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=201              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_read.php?B=21&A=6287              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_read.php?B=21&A=6287              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_21

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]