ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๘. เถรสูตร
[๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์ เพื่อมิใช่สุข เพื่อความฉิบหายแก่ชนมาก เพื่อมิใช่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เถระเป็นรัตตัญญู บวชนาน ๑ เป็นผู้มีชื่อเสียง มียศ มีชนหมู่มาก เป็นบริวาร ปรากฏแก่พวกคฤหัสถ์และบรรพชิต ๑ เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ๑ เป็นพหูสูต ทรงไว้ซึ่งสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่ง ธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศ พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑ เป็น มิจฉาทิฐิ มีความเห็นวิปริต เธอย่อมยังชนหมู่มากให้ห่างเหินจากสัทธรรม ให้ ตั้งอยู่ในอสัทธรรม ชนหมู่มากย่อมยึดถือทิฏฐานุคติของเธอว่า เธอเป็นภิกษุผู้เถระ รัตตัญญู บวชนาน ดังนี้บ้าง เธอเป็นภิกษุผู้เถระ มีชื่อเสียง มียศ มีชนหมู่มาก เป็นบริวาร ปรากฏแก่พวกคฤหัสถ์และบรรพชิต ดังนี้บ้าง เธอเป็นภิกษุผู้เถระ ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ดังนี้บ้าง เธอเป็น ภิกษุผู้เถระ ผู้เป็นพหูสูต ทรงไว้ซึ่งสุตะ สั่งสมสุตะ ดังนี้บ้าง ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อสิ่งที่ มิใช่ประโยชน์ เพื่อมิใช่สุข เพื่อความฉิบหายแก่ชนมาก เพื่อมิใช่เกื้อกูล เพื่อ ทุกข์ แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้ ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข เพื่อความเจริญ แก่ชนมาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เถระ ย่อมเป็นพระเถระ รัตตัญญู บวชนาน ๑ เป็นผู้มีชื่อเสียง มียศ มีชนหมู่มาก เป็นบริวาร ปรากฏแก่พวกคฤหัสถ์ และบรรพชิต ๑ เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ๑ เป็นพหูสูต ทรงไว้ซึ่งสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่ง ธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศ พรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑ เป็น สัมมาทิฐิ มีความเห็นไม่วิปริต เธอย่อมยังชนหมู่มากให้ห่างเหินจากอสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ในสัทธรรม ชนหมู่มากย่อมยึดถือทิฏฐานุคติของเธอว่า เธอเป็นภิกษุ ผู้เถระ รัตตัญญู บวชนานดังนี้บ้าง เธอเป็นภิกษุผู้เถระ มีชื่อเสียง มียศ มี ชนหมู่มากเป็นบริวาร ปรากฏแก่พวกคฤหัสถ์และบรรพชิต ดังนี้บ้าง เธอเป็นภิกษุ ผู้เถระ ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ดังนี้บ้าง เธอเป็นภิกษุผู้เถระ ผู้เป็นพหูสูต ทรงไว้ซึ่งสุตะ สั่งสมสุตะ ดังนี้บ้าง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข เพื่อความเจริญ แก่ชนมาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อ สุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
จบสูตรที่ ๘

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๒๖๑๘-๒๖๕๕ หน้าที่ ๑๑๓ - ๑๑๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=2618&Z=2655&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?item=88&book=22              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=22&siri=88              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=88              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_read.php?B=22&A=2730              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_read.php?B=22&A=2730              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_22

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]