ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
อภิธรรมภาชนีย์
แจกปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยกามาวจรกุศลจิต ๘
[๗๘๔] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็น อารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในวิบาก แห่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมี ด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมี การชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคต ด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ความรู้แตกฉานใน ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในวิบากแห่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้ แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้แตกฉานซึ่ง ญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉาน ในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
แจกปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยรูปาวจรกุศลจิต
ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม สงัด จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรม เป็นกุศล ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉาน ในวิบากแห่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิ- *สัมภิทา บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อ ความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
แจกปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยอรูปาวจรกุศลจิต
ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วง อากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญา- *นาสัญญายตนสัญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในวิบากแห่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมม- *นิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณ ใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
แจกปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยโลกุตตรกุศลจิต
ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน โยคาวจรบุคคล เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรม เป็นกุศล ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตก ฉานในวิบากแห่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิ- *สัมภิทา บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อ ความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
แจกปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยอกุศลจิต ๑๒
[๗๘๕] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน อกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ความรู้ แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในวิบากแห่งธรรม เหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้แตกฉาน ซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉาน ในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน อกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากทิฏฐิ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากทิฏฐิ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วย- *ทิฏฐิ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยทิฏฐิ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากทิฏฐิ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากทิฏฐิ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ อกุศลจิต สหรคตด้วยโทมนัส สัมปยุตด้วยปฏิฆะ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโทมนัส สัมปยุตด้วยปฏิฆะ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ อกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมเป็นอกุศล ความรู้แตกฉานใน ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในวิบากแห่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้ แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้แตกฉาน ซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้ แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
แจกปฏิสัมภิทา ๓ ด้วยอเหตุกกุศลวิบากจิต ๘
[๗๘๖] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน จักขุวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น เพราะกามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้วได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรม ที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมม- *นิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน โสตวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น ฯลฯ ฆานวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็น อารมณ์ เกิดขึ้น ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยสุข มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น เพราะกามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้วได้ สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต สุข เอกัคคตาแห่งจิต มนินทรีย์ สุขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีในสมัย นั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉาน ในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณ เหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉาน ในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน มโนธาตุ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะกามาวจร- *กุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้วได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรม เป็นอัพยากฤต ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมม- *นิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณ ใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน มโนวิญญาณธาตุ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะกามาวจร- *กุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้วได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมม- *นิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน มโนวิญญาณธาตุ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะกามาวจร กุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้วได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมม- *นิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณ ใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
แจกปฏิสัมภิทา ๓ ด้วยกามาวจรวิบากจิต ๘
ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน มโนวิญญาณธาตุ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ ... เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ... เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุต ด้วยญาณ ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ... เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ... เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง เพราะ กามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้วได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ความรู้แตกฉาน ในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วย นิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
แจกปฏิสัมภิทา ๓ ด้วยรูปาวจรวิบากจิต
ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ อยู่ใน สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำ ไว้แล้วได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ความรู้แตกฉานในธรรม เหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้แตกฉาน ซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉาน ในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
แจกปฏิสัมภิทา ๓ ด้วยอรูปาวจรวิบากจิต
ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วง อากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญา- *นาสัญญายตนสัญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัย นั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคล จึง บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา อันเป็นวิบาก เพราะ อรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้วได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติ- *ปฏิสัมภิทา บุคคลผู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่อง เนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
แจกปฏิสัมภิทา ๓ ด้วยโลกุตตรวิบากจิต
ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน โยคาวจรบุคคล เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ ปฐมฌาน อันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้วได้เจริญไว้แล้ว นั้นแล ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติ- *ปฏิสัมภิทา บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้นด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อ ความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
แจกปฏิสัมภิทา ๓ ด้วยอกุศลวิบากจิต ๗
ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน จักขุวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น ฯลฯ โสตวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็น อารมณ์ เกิดขึ้น ฯลฯ ฆานวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่น เป็นอารมณ์ เกิดขึ้น ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยทุกข์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น เพราะอกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้วได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต ทุกข์ เอกัคคตาแห่งจิต มนินทรีย์ ทุกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉาน ในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณ เหล่านั้นด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณ ทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน มโนธาตุ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุ อันเป็นวิบาก สหรคต ด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะอกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้วได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉาน ในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณ เหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานใน ญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
แจกปฏิสัมภิทา ๓ ด้วยอเหตุกกิริยาจิต ๓
[๗๘๗] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน มโนธาตุ อันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือ ปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมม- *นิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณ ใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน มโนวิญญาณธาตุ อันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่ กรรมวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุ อันเป็นกิริยา ไม่ใช่ กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็น อารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัย เกิดขึ้น แม้อื่นใด มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ความรู้ แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมี ด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
แจกปฏิสัมภิทา ๓ ด้วยกิริยาจิต ๓ ประเภท
ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน มโนวิญญาณธาตุ อันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่ กรรมวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วย โสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคต ด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุต จากญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ ย่อมเจริญรูปาวจรฌาน ฯลฯ ย่อมเจริญ รูปาวจรฌาน อันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง จึง บรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ฯลฯ อยู่ใน สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็น อัพยากฤต ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา บัญญัติแห่ง ธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณ เหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณ- *ปฏิสัมภิทา [๗๘๘] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปฏิสัมภิทา ๓ ย่อมเกิดในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยญาณฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง ในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยญาณฝ่ายกิริยา ๔ ดวง อัตถปฏิสัมภิทา ย่อมเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้ด้วย ย่อมเกิดในมรรค ๔ ผล ๔ ด้วย
อภิธรรมภาชนีย์ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๑๐๑๔๓-๑๐๕๑๒ หน้าที่ ๔๓๘ - ๔๕๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=10143&Z=10512&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?item=788&book=35              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=35&siri=60              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=784              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_read.php?B=35&A=8078              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_read.php?B=35&A=8078              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_35

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]