บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
| |
ฉบับหลวง ฉบับมหาจุฬาฯ บาลีอักษรไทย PaliRoman |
ปัญหาวาร [๔๖๑] ธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งอุปาทาน และอุปาทานิยธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นทั้งอุปาทาน และอุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทานธรรม ทั้งหลาย ที่เป็นสัมปยุตตธรรม โดยเหตุปัจจัย. ธรรมที่เป็นทั้งอุปาทาน และอุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นอุปาทานิยะ แต่ ไม่ใช่อุปาทานธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นทั้งอุปาทาน และอุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย. เหมือนกับอุปาทานทุกะ ไม่มีแตกต่างกัน มีหัวข้อปัจจัย ๙. [๔๖๒] ธรรมที่เป็นทั้งอุปาทาน และอุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้ง อุปาทานและอุปาทานิยธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ เพราะปรารภอุปาทานธรรมทั้งหลาย อุปาทานธรรมทั้งหลายเกิดขึ้น. มี ๓ นัย. ธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่ ไม่ใช่อุปาทานธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ ทาน ฯลฯ ออกจากฌาน พิจารณาฌาน ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะ ปรารภทานเป็นต้นนั้น ราคะ ฯลฯ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัสเกิดขึ้น พระอริยะทั้งหลายพิจารณาโคตรภู พิจารณาโวทาน กิเลสที่ละแล้ว ฯลฯ กิเลสที่ ข่มแล้ว ฯลฯ กิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดแล้วในกาลก่อน ฯลฯ จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย. ธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานและ อุปาทานิยธรรม โดยอารัมมณปัจจัย ฯลฯ. สองอย่างนอกนี้ เหมือนกับอุปาทานทุกะ. ธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม และธรรมที่เป็นอุปาทานิยะ แต่ไม่ใช่ อุปาทานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นอุปาทานและอุปาทานิยธรรม โดยอารัมมณปัจจัย มี ๓ นัย. อธิปติปัจจัย มี ๓ นัย เหมือนกับอุปาทานทุกะข้างต้น. [๔๖๓] ธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็น อุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมณาธิปติ สหชาตาธิปติ. ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่ ทาน ฯลฯ ออกจากฌาน กระทำฌานให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำทานเป็นต้นนั้นให้ เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำทาน เป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ ฯลฯ ทิฏฐิ เกิดขึ้น ฯลฯ พระเสกขบุคคลทั้งหลาย กระทำโคตรภูให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ โวทาน ฯลฯ จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ กระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปาทานิยะ แต่ไม่ใช่อุปาทานธรรมให้ เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำขันธ์นั้นให้หนักแน่น ราคะ เกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม เกิดขึ้น. ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม เป็น ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลายโดยอธิปติปัจจัย. อารัมมณาธิปติก็ดี สหชาตาธิปติก็ดี ทั้งสองอย่างที่เหลือ เหมือนกับอุปาทานทุกะ. ปัจจัยสงเคราะห์แม้ที่เป็นอธิปติปัจจัย ก็มี ๓ นัย เหมือนกับอุปาทานทุกะปัจจัยทั้งหมด เหมือนกับอุปาทานทุกะ ในอุปาทานิยะ โลกุตตรธรรมไม่มีปัจจนียะก็ดี การนับทั้งสองอย่าง นอกนี้ก็ดี เหมือนกับอุปาทานทุกะ.อุปาทานอุปาทานิยทุกะ จบ ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ บรรทัดที่ ๗๖๗๓-๗๗๑๗ หน้าที่ ๒๙๙ - ๓๐๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=43&A=7673&Z=7717&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?item=463&book=43 อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=43&siri=54 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_read.php?B=43&A=5681 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_read.php?B=43&A=5681 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_43
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]