ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๔๓ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑๐ ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๔
ปัญหาวาร
[๑๗๐] จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต- *สมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย ปฏิสนธิ. จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิต โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุทั้งหลายที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตและกฏัตตา- *รูปทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย. จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐาน- *ธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย และ จิต และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ. [๑๗๑] จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม ปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม เกิดขึ้น.
พึงกระทำมูล
จิต ปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม เกิดขึ้น.
พึงกระทำมูล
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม และจิต ปรารภขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นจิตต- *สมุฏฐานธรรม เกิดขึ้น. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม โดย อารัมมณปัจจัย คือ พระอริยะทั้งหลาย พิจารณานิพพาน นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน แก่มรรค แก่ผล แก่อาวัชชนะ โดย อารัมมณปัจจัย จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักขุเป็นต้น จิต เกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยจิต ที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม โดย เจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะ ฯลฯ อากิญจัญญายตนะ ฯลฯ รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโตปริยญาณ แก่ บุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมุปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณ- *ปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ พระอริยะทั้งหลาย พิจารณานิพพาน มีคำอธิบายเหมือนกับข้อความตามบาลีที่มี อยู่ข้างต้น จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฯลฯ. รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโตปริยญาณ แก่บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตต- *สมุฏฐานธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ พระอริยะทั้งหลาย พิจารณานิพพาน มีคำอธิบายเหมือนกับข้อความตามบาลีที่มีอยู่ ข้างต้น บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภขันธ์นั้น จิต และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ด้วยทิกพจักขุ ฯลฯ รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโตปริยญาณ แก่บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย. จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน- *ธรรม โดยอารัมมณปัจจัย พึงกระทำ เพราะปรารภ ๓ นัย. [๑๗๒] จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ. ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม กระทำขันธ์ทั้ง หลาย เป็นจิตตสมุฏฐานธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วเกิดขึ้น. ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย. อารัมมณาธิปติก็ดีสหชาตาธิปติก็ดี พึงกระทำทั้ง ๓ นัย. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม โดย อธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะทั้งหลายกระทำนิพพานให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ บุคคลกระทำขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น จิตเกิดขึ้น ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ. ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะทั้งหลาย กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่น ฯลฯ บุคคลกระทำขันธ์ทั้งหลาย ที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ราคะเกิดขึ้น ทิฏฐิเกิดขึ้น. ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรม ที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานธรรมรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่ จิตตสมุฏฐานธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะทั้งหลายกระทำนิพพานให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ บุคคลกระทำขันธ์ทั้งหลาย ที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ จิตและสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เกิดขึ้น. จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน- *ธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ มี ๓ นัย เป็นอารัมมณาธิปติอย่างเดียว. [๑๗๓] จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม โดยอนันตรปัจจัย มี ๓ นัย วุฏฐานะไม่มี. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม โดย อนันตรปัจจัย คือ จิต ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่จิตที่เกิดหลังๆ ฯลฯ แก่ผู้ที่ออกจากนิโรธ เนว- *สัญญานาสัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ โดยอนันตรปัจจัย. การนับสองอย่างนอกจากนี้ พึงกระทำเหมือนอย่างนี้. จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน- *ธรรม โดยอนันตรปัจจัย พึงกระทำหัวข้อปัจจัย ๓ วุฏฐานะไม่มี. [๑๗๔] จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม โดยสหชาตปัจจัย เหมือนกับปฏิจจวาร. เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย เหมือนกับปฏิจจวาร. เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย เหมือนกับปัจจยวาร. [๑๗๕] จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ พึงกระทำหัวข้อปัจจัย ๓. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม โดย อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยฤดู ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ จิต แล้วให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ฤดู ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ จิต เป็นปัจจัยแก่จิต โดยอุปนิสสยปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยฤดู ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ จิต แล้วให้ทาน ทำลายสงฆ์ ฤดู ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ จิต เป็นปัจจัย แก่ศรัทธา ฯลฯ แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่ จิตตสมุฏฐานธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยฤดู ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ จิต แล้วให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ฤดู ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ จิต เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตต- *สมุฏฐานธรรม และจิต โดยอุปนิสสยปัจจัย. จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูป- *นิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ มีหัวข้อปัจจัย ๓. [๑๗๖] จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณปุเรชาต ได้แก่ บุคคลพิจารณาเห็นรูปทั้งหลาย ที่เป็น จิตตสมุฏฐานธรรม ฯลฯ โผฏฐัพพะทั้งหลาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยจักขุวิญาณ โดยปุเรชาตปัจจัย โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยกายวิญญาณ โดยปุเรชาตปัจจัย จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณปุเรชาต ได้แก่ บุคคลพิจารณาเห็นรูปทั้งหลายที่เป็นจิตต- *สมุฏฐานธรรม ฯลฯ โผฏฐัพพะทั้งหลายโดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลิน ยิ่ง เพราะปรารภรูปเป็นต้น จิตเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ โดย ปุเรชาตปัจจัย. จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณปุเรชาต ได้แก่ บุคคลพิจารณาเห็นรูปทั้งหลาย ที่เป็น จิตตสมุฏฐานธรรม ฯลฯ โผฏฐัพพะทั้งหลาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อม เพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภรูปเป็นต้น จิตและสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยปุเรชาตปัจจัย โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม โดย ปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต. ที่เป็นอารัมมณปุเรชาต ได้แก่ บุคคลพิจารณาเห็นจักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ กาย ฯลฯ รูปทั้งหลาย ฯลฯ โผฏฐัพพะทั้งหลาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะปรารภจักขุเป็น ต้นนั้น จิตเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ. ที่เป็นวัตถุปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ กายายตนะ ฯลฯ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่จิต โดยปุเรชาตปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่างคือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต. ที่เป็นอารัมมณปุเรชาต ได้แก่ บุคคลพิจารณาเห็นจักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ โดยความ เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ. ที่เป็นวัตถุปุเรชาต ได้แก่ จักขายตนะ เป็นปัจจัยขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วย จักขุวิญญาณ กายายตนะ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นจิตตสมุฏฐาน ธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่ จิตตสมุฏฐานธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต. ที่เป็นอารัมมณปุเรชาต ได้แก่ บุคคลพิจารณาเห็นแก่จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ โดย ความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะปรารภจักขุเป็นต้นนั้น จิตและสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เกิดขึ้น ด้วยทิพพจักขุ ฯลฯ ด้วยทิพพโสตธาตุ ฯลฯ รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ. ที่เป็นวัตถุปุเรชาต ได้แก่ จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ และสัมปยุตต- *ขันธ์ทั้งหลาย กายายตนะ ฯลฯ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่จิต และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยปุเรชาตปัจจัย. จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน ธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต. คือ รูปายตนะ ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม และหทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย โผฏฐัพพายตนะที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม ฯลฯ รูปายตนะ ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม และจักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วย จักขุวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม และกายายตนะ ฯลฯ. จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่ จิตตสมุฏฐานธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต. คือ รูปายตนะ ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม และหทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่จิตโดย ปุเรชาตปัจจัย โผฏฐัพพายตนะ ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม และหทัยวัตถุ ฯลฯ รูปายตนะ ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม และจักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะ ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม และกายายตนะ ฯลฯ จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต. คือ รูปายตนะ ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม และหทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่จิต และ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยปุเรชาตปัจจัย โผฏฐัพพายตนะ ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม และหทัยวัตถุ ฯลฯ รูปายตนะ ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม และจักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ และ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยปุเรชาตปัจจัย โผฏฐัพพายตนะ ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม ฯลฯ. [๑๗๗] จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม โดยปัจฉาชาตปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายที่เป็น จิตตสมุฏฐานธรรมนี้ ที่เกิดก่อน โดยปัจฉาชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย พึงให้พิสดารโดยอาการนี้. เป็นปัจจัย โดยอาเสวนปัจจัย มี ๙ นัย. [๑๗๘] จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต นานาขณิก. ที่เป็นสหชาต ได้แก่เจตนาที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย. ที่เป็นนานาขณิก ได้แก่เจตนาที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ และ จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย. จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต นานาขณิก. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ เจตนาที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิต โดยกัมมปัจจัย ที่เป็นนานาขณิก ได้แก่ เจตนาที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่วิบากจิต และ กฏัตตารูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย. จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต นานาขณิก. และที่เป็นสหชาต ได้แก่ เจตนาที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิต จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย. และที่เป็นนานาขณิก ได้แก่ เจตนาที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ และจิต กฏัตตารูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย. [๑๗๙] จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม โดยวิปากปัจจัย มี ๙ นัย [๑๘๐] จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม โดยอาหารปัจจัย คือ อาหารทั้งหลาย ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต- *สมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอาหารปัจจัย ปฏิสนธิ.
พึงกระทำมูล
อาหารทั้งหลาย ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิต โดยอาหารปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ กวฬิงการาหาร ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่กายที่ไม่ใช่ จิตตสมุฏฐานธรรมนี้ โดยอาหารปัจจัย.
พึงกระทำมูล
อาหารทั้งหลาย ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย และ จิต และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอาหารปัจจัย ปฏิสนธิ. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม โดย อาหารปัจจัย คือ ในปฏิสนธิขณะ อาหารทั้งหลายที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป ทั้งหลาย โดยอาหารปัจจัย กวฬิงการาหาร ที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่กายที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม นี้ โดยอาหารปัจจัย.
พึงกระทำมูล
อาหารทั้งหลาย ที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอาหารปัจจัย ปฏิสนธิ.
พึงกระทำมูล
ในปฏิสนธิขณะ อาหารทั้งหลาย ที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต- *ขันธ์ และกฏัตตารูปทั้งหลาย โดยอาหารปัจจัย. จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน- *ธรรม โดยอาหารปัจจัย คือ อาหารทั้งหลายที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม และที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็น เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอาหารปัจจัย ปฏิสนธิ.
พึงกระทำมูล
ในปฏิสนธิขณะ อาหารทั้งหลายที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม และที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐาน- *ธรรม เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย โดยอาหารปัจจัย กวฬิงการาหาร ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม และที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัย แก่กายที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรมนี้ โดยอาหารปัจจัย.
พึงกระทำมูล
ในปฏิสนธิขณะ อาหารทั้งหลายที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม และที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐาน- *ธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และกฏัตตารูปทั้งหลาย โดยอาหารปัจจัย. [๑๘๑] จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม โดยอินทริยปัจจัย มี ๓ นัย ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม โดย อินทริยปัจจัย คือ ในปฏิสนธิขณะ อินทรีย์ทั้งหลาย ที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ กฏัตตารูปทั้งหลาย โดยอินทริยปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ จักขุนทรีย์ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ กายินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่ กายวิญญาณ รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย โดยอินทริยปัจจัย.
พึงกระทำมูล
อินทรีย์ทั้งหลาย ที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต- *สมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอินทริยปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ จักขุนทรีย์ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ กายินทรีย์ ฯลฯ.
พึงกระทำมูล
ในปฏิสนธิขณะ อินทรีย์ทั้งหลายที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และกฏัตตารูปทั้งหลาย โดยอินทริยปัจจัย จักขุนทรีย์ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคต ด้วยจักขุวิญญาณ โดยอินทริยปัจจัย กายินทรีย์ ฯลฯ. จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน- *ธรรม โดยอินทริยปัจจัย คือ อินทรีย์ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม และที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัย แก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอินทริยปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ จักขุนทรีย์ และอุเบกขินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคต ด้วยจักขุวิญญาณ กายินทรีย์ และสุขินทรีย์ กายินทรีย์ และทุกขินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ทั้งหลายที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ โดยอินทริยปัจจัย.
พึงกระทำมูล
ในปฏิสนธิขณะ อินทรีย์ทั้งหลาย ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม และที่ไม่ใช่จิตตสมุฏ- *ฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย โดยอินทริยปัจจัย จักขุนทรีย์ และอุเบกขินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ กายินทรีย์ ฯลฯ
พึงกระทำมูล
ในปฏิสนธิขณะ อินทรีย์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม และที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐาน- *ธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และกฏัตตารูปทั้งหลาย โดยอินทริยปัจจัย จักขุนทรีย์ และอุเบกขินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยอินทริยปัจจัย กายินทรีย์ ฯลฯ. เป็นปัจจัย โดยฌานปัจจัย มี ๓ นัย เป็นปัจจัย โดยมัคคปัจจัย มี ๓ นัย เป็นปัจจัย โดยสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ นัย [๑๘๒] จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต ฯลฯ จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ. จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐาน- *ธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปัจฉาชาต ฯลฯ. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม โดย วิปปยุตตปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ จิต เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย โดย วิปปยุตตปัจจัย จิต เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่จิต โดยวิปปยุตตปัจจัย. ที่เป็นปุเรชาต ได้แก่ จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ กายายตนะ เป็นปัจจัย แก่กายวิญญาณ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่จิต โดยวิปปยุตตปัจจัย. ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่กายที่ ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรมนี้ ที่เกิดก่อน โดยวิปปยุตตปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต ฯลฯ. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่ จิตตสมุฏฐานธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต ฯลฯ. จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน- *ธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต ฯลฯ. จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่ จิตตสมุฏฐานธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต ฯลฯ. จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน- *ธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต ฯลฯ. [๑๘๓] จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต ฯลฯ. จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๔ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต อาหาร ฯลฯ. จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐาน- *ธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต ฯลฯ. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม โดย อัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต อาหาร อินทรีย์ ฯลฯ. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต ฯลฯ. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่ จิตตสมุฏฐานธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๔ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต อาหาร ฯลฯ. จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน ธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ ฯลฯ. จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่ จิตตสมุฏฐานธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต อาหาร อินทรีย์. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ และจักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โดยอัตถิปัจจัย ที่สหรคตด้วยกายวิญญาณ ฯลฯ. จิตตสมุฏฐานธรรม ที่เป็นสหชาต ฯลฯ พึงกระทำให้เหมือนกับปัจจยวาร ทั้งปฏิสนธิ และปวัตติ ตลอดจนหัวข้อปัจจัยทั้งปวง. ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม ที่เกิดภายหลัง และจิต เป็นปัจจัยแก่กายที่ ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรมนี้ ที่เกิดก่อน โดยอัตถิปัจจัย. คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม ที่เกิดภายหลัง และจิต และกวฬิงการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรมนี้ โดยอัตถิปัจจัย. ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม ที่เกิดภายหลัง และจิต และรูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย. จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน- *ธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต. คือ ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ ที่เกิดร่วมกัน ฯลฯ. ปัจจยวาร เหมือนกับสหชาต พึงกระทำบทว่า สหชาตทุกนัย. เป็นปัจจัย โดยนัตถิปัจจัย เป็นปัจจัย โดยวิคตปัจจัย เป็นปัจจัย โดยอวิคตปัจจัย. [๑๘๔] ในเหตุปัจจัย มีวาระ ๓ ในอารัมมณปัจจัย มี " ๙ ในอธิปติปัจจัย มีวาระ ๙ ในอนันตรปัจจัย มี " ๙ ในสมนันตรปัจจัย มี " ๙ ในสหชาตปัจจัย มี " ๙ ในอัญญมัญญปัจจัย มี " ๙ ในนิสสยปัจจัย มี " ๙ ในอุปนิสสยปัจจัย มี " ๙ ในปุเรชาตปัจจัย มี " ๙ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี " ๙ ในอาเสวนปัจจัย มี " ๙ ในกัมมปัจจัย มี " ๓ ในวิปากปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยทั้งปวง มี " ๙ ในอินทริยปัจจัย มี " ๙ ในฌานปัจจัย มี " ๓ ในมัคคปัจจัย มี " ๓ ในสัมปยุตตปัจจัย มี " ๕ ในวิปปยุตตปัจจัย มี " ๙ ฯลฯ ในอวิคตปัจจัย มี " ๙. [๑๘๕] จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย เป็น ปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยกัมมปัจจัย. จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย เป็น ปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยกัมมปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย. จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐาน- *ธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็น ปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยกัมมปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม โดย อารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดย ปุเรชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอินทริย- *ปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย เป็น ปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่ จิตตสมุฏฐานธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสย- *ปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน- *ธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็น ปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย. จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่ จิตตสมุฏฐานธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสย- *ปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอินทริยปัจจัย. จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน- *ธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย. [๑๘๖] ในปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีวาระ ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยทั้งปวง มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อวิคตปัจจัย มี " ๙ [๑๘๗] ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มีวาระ ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อธิปติปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สมนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มีวาระ ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อัญญมัญญปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๒ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อุปนิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่มัคคปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สัมปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๒ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่นัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ [๑๘๘] ในอารัมมณปัจจัย กับ มีวาระ ๙ ที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๙ ในอธิปติปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๙.
พึงกระทำการนับอนุโลม.
ในอวิคตปัจจัย กับปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มี ๙.
จิตตสมุฏฐานทุกะ จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ บรรทัดที่ ๒๖๔๒-๓๐๘๑ หน้าที่ ๑๐๓ - ๑๑๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=43&A=2642&Z=3081&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?item=170&book=43              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=43&siri=20              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_read.php?B=43&A=1904              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_read.php?B=43&A=1904              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_43

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]