ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
อินทขีลสูตร
ผู้รู้ตามเป็นจริง ย่อมรู้ผู้อื่นว่ารู้หรือไม่รู้
[๑๗๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อม ต้องมองดูหน้าของสมณะหรือพราหมณ์อื่นว่า ท่านผู้นี้ เมื่อรู้ ย่อมรู้แน่ เมื่อเห็น ย่อมเห็นแน่ เปรียบเหมือนปุยนุ่นหรือปุยฝ้าย เป็นของเบา คอยจะลอยไปตามลม บุคคลวางไว้ที่ภาคพื้นอัน ราบเรียบแล้ว ลมทิศบูรพา พึงพัดปุยนุ่นหรือปุยฝ้ายนั้นไปทางทิศประจิมได้ ลมทิศประจิมพึงพัด เอาไปทางทิศบูรพาได้ ลมทิศอุดรพึงพัดเอาไปทางทิศทักษิณได้ ลมทิศทักษิณพึงพัดเอาไปทางทิศ อุดรได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะปุยนุ่นหรือปุยฝ้ายนั้นเป็นของเบาฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกข- *นิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมต้องมองดูหน้าของสมณะหรือพราหมณ์ อื่นว่า ท่านผู้นี้ เมื่อรู้ ย่อมรู้แน่ เมื่อเห็น ย่อมเห็นแน่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะไม่เห็น อริยสัจ ๔ ฉันนั้นเหมือนกัน. [๑๗๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมรู้ตามความ เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่ ต้องมองดูหน้าของสมณะหรือพราหมณ์อื่นว่า ท่านผู้นี้ เมื่อรู้ ย่อมรู้แน่ เมื่อเห็น ย่อมเห็นแน่ เปรียบเหมือนเสาเหล็กหรือเสาหินมีรากลึก เขาฝังไว้ดีแล้ว ไม่หวั่นไหว ไม่เอนเอียง ถึงแม้ ลมฝนอย่างแรงจะพัดมาแต่ทิศบูรพา ... ทิศประจิม ... ทิศอุดร ... ทิศทักษิณ ก็ไม่สะเทือนสะท้าน หวั่นไหว ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะรากลึก เพราะเสาหินเขาฝังไว้ดีแล้ว ฉันใด สมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี- *ปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ไม่ต้องมองดูหน้าของสมณะหรือพราหมณ์อื่นว่า ท่านผู้นี้ เมื่อรู้ ย่อมรู้แน่ เมื่อเห็น ย่อมเห็นแน่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเห็นอริยสัจ ๔ ดีแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๙

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๑๐๔๘๕-๑๐๕๑๐ หน้าที่ ๔๓๘ - ๔๓๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=10485&Z=10510&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?item=1723&book=19              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=19&siri=419              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1722              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_read.php?B=19&A=10787              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_read.php?B=19&A=10787              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_19

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]